assignment
บันทึกกิจกรรม
ค่าเปิดบัญชีธนาคาร30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้รับทุนได้ยืมทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับทุนได้รับเงินยืมทดรองจ่ายคืนค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์30 กันยายน 2021
30
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำรายงานงวด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการจัดทำรายงานกิจกรรมทุกเดือน และรายงานงวด ปิดโครงการ

คืนข้อมูลให้กับชุมชน19 กันยายน 2021
19
กันยายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เปิดประชุม โดย นางศุภกร  หมวดมณี ประธานกลุ่มฯและผู้รับผิดชอบโครงการ -ดำเนินการคืนข้อมูลผลการดำเนินงานตามโครงการ ตามบันไดผลลัพธ์ -แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน -พี่เลี้ยงและผู้ติดตาม ร่วมแสดงความคิดเห็น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 22 คน ประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มเลี้ยงปลาดุก พี่เลี้ยง และผู้ติดตาม 2.ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการ ตามบันไดผลลัพธ์ ดังรายละเอียดดังนี้
เกิดคณะทำงาน จำนวน 11 คน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่กัน ทุก 2 เดือน มีการประชุมแลกเปลี่ยนและติดตามการเลี้ยงปลา คณะทำงานได้ไปเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกที่ ตำบลหานโพธิ์ ได้ศึกษาการเลี้ยงปลาวิธีทำอาหารปลา เพื่อลดต้นทุนฯ หลังจากนั้นในกลุ่มสมาชิกเลี้ยงปลาบ้านศาลาไม้ไผ่มีผู้สนใจเลี้ยงปลาดุก จำนวน 32 ครัวเรือน มีการผลิตอาหารปลาดุกเพื่อลดต้นทุน โดยจพทำอาหารปลาดุกใหญ่ ให้วันละ 1 มื้อ และอาหารสำเร็จรูป 1 มื้อ ต่อวัน จากการสรุปค่าใช้จ่ายเฉพาะอาหารปลาดุก เปรียบเทียบจากเดิม จะให้อาหารปลาดุกตลอดอายุการเลี้ยง(3-4 เดือน) รวมค่าใช้จ่าย 600 บาท ต่อปลาดุก 100 ตัว หลังจากได้ทำอาหารปลาดุก สามารถลดต้นทุน ในเดือนสุดท้าย ลดลงประมาณ 100 บาท คำนวณจากการให้อาหารลดลงไป วันละ 1 มื้อ จำนวน 30 วัน ลดได้ ประมาณ 4 กก.(คิดเป็นเงิน 100 บาท) ทางกลุ่มมีการแปรรูปปลาดุก โดยทำเป็นปลาดุกร้า และปลาดุกแดดเดียว โดยส่วนใหญ่จะทำปลาดุกร้า เพราะได้กำไรดีกว่า  ทางกลุ่มมีการกำหนดกติกาของกลุ่ม เช่นการเลี้ยงต้องใช้อาหารจากกลุ่ม/สมาชิกต้องคืนปลาให้กลุ่ม 1 กก.เพื่อแปรรูป /สมาชิกต้องมีการบันทึกการเลี้ยงปลาในแต่ละวัน หลังจากนั้นในการเลี้ยงปลาดุก มีการส่งปลาดุกไปตรวจตามมาตรฐานขั้นปลอดภัย Safety Level โดยศูนย์วิจัยประมงฯ จังหวัดพัทลุง โดยตัวแทนกลุ่ม ผ่านการรับรองมาตรฐานขั้นปลอดภัย ในการเลี้ยงปลาดุก มีอัตราการรอด 94.23 % โดยคิดจาก จำนวนปลาทั้งหมด 5200 ตัว รอด 4900 ตัว 3.สมาชิกและพี่เลี้ยง และผู้ติดตาม ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยปีหน้า หากจะดำเนินการต่อ จะส่งเสริมการเลี้ยงปลาที่หลกหลายเช่น เลี้ยงปลานิล และทางกลุ่มจะเพิ่มขยายการเลี้ยงปลา และการแปรรูป ที่มีเมนูหลากหลาย
4. หน่วยงานที่ได้สนับสนุนงบประมาณ/วัสดุสิ่งของ เพิ่มเติมให้กับกลุ่ม ได้แก่ พัฒนาชุมชนอำเภอเมือง ได้สนับสนุนอุปกรณ์ในการแปรรูปปลาดุก/ พลังงานจังหวัดพัทลุง ได้สนับสนุนตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์/ศูนย์วิจัยประมงค์ สนับสนุนวิทยากร และการรับรองปลาดุกปลอดภัย

เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 222 สิงหาคม 2021
22
สิงหาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เปิดเวทีการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 2 โดยผู้รับผิดชอบโครงการ และ  นายประเทือง อมรวิริยะชัย ผอ.รพ.สต.บ้านชะรัด เป็นพี่เลี้ยงโครงการ -นำเสนอผลลัพธ์ในการดำเนินงานโครงการ และสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยน -นำเสนอปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอผลการดำเนินงานตามโครงการ ตามบันไดผลลัพธ์ ดังรายละเอียดดังนี้
เกิดคณะทำงาน จำนวน 11 คน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่กัน ทุก 2 เดือน มีการประชุมแลกเปลี่ยนและติดตามการเลี้ยงปลา คณะทำงานได้ไปเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกที่ ตำบลหานโพธิ์ ได้ศึกษาการเลี้ยงปลาวิธีทำอาหารปลา เพื่อลดต้นทุนฯ หลังจากนั้นในกลุ่มสมาชิกเลี้ยงปลาบ้านศาลาไม้ไผ่มีผู้สนใจเลี้ยงปลาดุก จำนวน 32 ครัวเรือน มีการผลิตอาหารปลาดุกเพื่อลดต้นทุน โดยจพทำอาหารปลาดุกใหญ่ ให้วันละ 1 มื้อ และอาหารสำเร็จรูป 1 มื้อ ต่อวัน จากการสรุปค่าใช้จ่ายเฉพาะอาหารปลาดุก เปรียบเทียบจากเดิม จะให้อาหารปลาดุกตลอดอายุการเลี้ยง(3-4 เดือน) รวมค่าใช้จ่าย 600 บาท ต่อปลาดุก 100 ตัว หลังจากได้ทำอาหารปลาดุก สามารถลดต้นทุน ในเดือนสุดท้าย ลดลงประมาณ 100 บาท คำนวณจากการให้อาหารลดลงไป วันละ 1 มื้อ จำนวน 30 วัน ลดได้ ประมาณ 4 กก.(คิดเป็นเงิน 100 บาท) ทางกลุ่มมีการแปรรูปปลาดุก โดยทำเป็นปลาดุกร้า และปลาดุกแดดเดียว โดยส่วนใหญ่จะทำปลาดุกร้า เพราะได้กำไรดีกว่า  ทางกลุ่มมีการกำหนดกติกาของกลุ่ม เช่นการเลี้ยงต้องใช้อาหารจากกลุ่ม/สมาชิกต้องคืนปลาให้กลุ่ม 1 กก.เพื่อแปรรูป /สมาชิกต้องมีการบันทึกการเลี้ยงปลาในแต่ละวัน หลังจากนั้นในการเลี้ยงปลาดุก มีการส่งปลาดุกไปตรวจตามมาตรฐานขั้นปลอดภัย Safety Level โดยศูนย์วิจัยประมงฯ จังหวัดพัทลุง โดยตัวแทนกลุ่ม ผ่านการรับรองมาตรฐานขั้นปลอดภัย ในการเลี้ยงปลาดุก มีอัตราการรอด 94.23 % โดยคิดจาก จำนวนปลาทั้งหมด 5200 ตัว รอด 4900 ตัว

ประชุมคณะทำงานและติดตามเยี่ยมทุก 2 เดือน ครั้งที่ 55 มิถุนายน 2021
5
มิถุนายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เปิดประชุมโดยผู้รับผิดชอบโครงการ 2.พี่เลี้ยง/ผู้เข้าร่วมประชุมเสนอแนะซักถาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เปิดประชุมโดยผู้รับผิดชอบโครงการ
1.มีคณะทำงานเข้าร่วมประชุม 11 คน
2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้แจ้งในที่ประชุมรายละเอียดกิจกรรมที่จะทำในในวันที่ 19 มิถุนายน 2564 เป็นเวที่ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE 2 โดยวันนี้จะสรุปข้อมูลผลผลิต/ผลลัพธ์ ปัญหาอุปสรรค ต่างๆในการดำเนินการ 3.พี่เลี้ยงซักถาม ถึงการเลี้ยงปลา ล็อตใหม่ เสนอแนะให้มอบหมายกันไปซื้อพันธ์ปลาจะได้ส่วนลด และซื้อจากร้านที่ได้มาตรฐานรับรองพันธ์ปลา 4.สมาชิกได้นัดรวมกันที่จะไปซื้อโดยแบ่งกัน 2 ครั้ง โดยมอบหมายให้นางศุภกร ไปจัดซื้อแทนสมาชิก

แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม27 พฤษภาคม 2021
27
พฤษภาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดเวทีโดยนางศุภกร หมวดมณี และพี่เลี้ยงนายประเทือง อมรวิริยะชัย

-1.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการเลี้ยงปลาดุก

-2.กำหนดกติการร่วมกัน

-3.เรื่องอื่นๆ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมประชุม 27 คน ประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มเลี้ยงปลาดุก และพี่เลี้ยง

2.ร่วมแลกเปลี่ยนการเลี้ยงปลาดุก พบปัญหา
-ปลาไม่กินอาหาร แนวทางแก้ไข คือส่วนใหญ่ไม่ได้เปลี่ยนน้ำมีกลิ่น ทำให้ปลาเครียด ต่องเปลี่ยนน้ำอย่างน้อยทุก 7 วัน หรือ เปลี่ยนอาหารบางมื้อเช่น รำข้าว หรือหาแมลง/หนอน ให้ปลากินบ้างสลับกับอาหารหลัก

-สมาชิกส่วนใหญ่บอกตรงกันว่าปลาดุกชอบกินอาหารที่ทำเองที่มีส่วนผสมจากหญ้าเนเปียร์ เลยมีแนวคิดจะทำอาหารสูตรนี้ต่อไป และต้องให้สมาชิกเพิ่มพื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ อีก โดยสมาชิกจะแยกกันไม่ปลูกในพื้นที่ส่วนตัว

-การบันทึกการเลี้ยงปลาในแต่ละวัน สมาชิกบางคนไม่ได้บันทึก(ลืม) ซึ่งจะ เป็นปัญหาตอนให้เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยประมงมารับรองมาตรฐานการเลี้ยงปลาดุก ตามเกณฑ์มาตรฐานขั้นปลอดภัย (Safety Level) ให้สมาชิกบันทึกการเลี้ยงปลาทุกวัน เช่น การให้อาหารปลาขนาดเท่าไหร่ วันละกี่มื้อ เปลี่ยนน้ำวันไหน ใช้ยาปฏิชีวนะบ้างหรือไม่ อาหารที่ใช่ระบุยี่ห้อ แหล่งซื้อ วันเดือนปีผลิต วันหมดอายุ ฯ

-ปัญหาบางบ่อ มีปลาตาย แต่ส่วนใหญ่จะตายไม่มาก ประมาณ 5-10 ตัวต่อบ่อ แต่มี บางบ่อ ( 1 บ่อ) ตายยกบ่อ เนื่องจากเด็กนำน้ำยาล้างขวดนม ไปใส่ในบ่อเลี้ยงปลา และมี 2 บ่อ ที่ปลาหลุดออกจากบ่อในช่วงฝนตกหนัก ทำให้น้ำล้นบ่อปลาหลุด เกือบหมด แนวทางให้สมาชิกทำที่ปิดกั้นบริเวณปากบ่อโดยใช้ตาข่ายเขียว เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหลุดจากบ่อและป้องกันไม่ให้สัตว์อื่นลงไปในบ่อ

3.กำหนดกติกาของกลุ่มเลี้ยงปลาดุก

-1.สมาชิกต้องลงเงินเพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือในกลุ่มคนละ 50 บาท

-2.สมาชิกต้องบันทึกการเลี้ยงปลาดุกทุกวัน

-3.สมาชิกต้องมาร่วมในการทำอาหารปลาดุกลดต้นทุน

-4.สมาชิกต้องนำปลาดุกที่เลี้ยงมาคืนกลุ่ม จำนวน 1 กิโลต่อบ่อ เพื่อนำมาแปรรูปทำปลาดุกร้า/ปลาดุกแดดเดียว ส่วนที่เหลือนำไปบริโภคเองและขายต่อ

-5.สมาชิกต้องใช้อาหารปลาที่ทางกลุ่มดำเนินการจัดหามา/กลุ่มผลิตเองเท่านั้น ห้ามไปซื้อเองจากแหล่งอื่น

4.เรื่องอื่นๆ

-1.กำหนดเลี้ยงปลาดุกล็อตต่อไป วันที่ 3 มิย.64

-2.กำหนดไปจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ให้รวบรวมหลักฐานสำเนาบัตรประชาชน /ทะเบียนบ้าน ของสมาชิกทุกคน และมอบหมายให้ประธาน/เลขา กลุ่ม นำเอกสารหลักฐานไปยื่นต่อเกษตรอำเภอเมืองพัทลุงในอาทิตย์หน้า

นำผลิตภัณฑ์ปลาดุกวางขายในตลาดชุมชน10 เมษายน 2021
10
เมษายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นำผลิตภัณฑ์แปรรูปปลาดุกร้าวางขายในชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงปลาดุก คือปลาดุกร้า และมีวางขายในชุมชน

การแปรรูปปลาดุก3 เมษายน 2021
3
เมษายน 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ดำเนินการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการ -มีวิทยากรสอนการแปรรูปปลาดุกโดยการทำปลาดุกร้า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมทำแปรรูปปลาดุกร้า จำนวน 9 คน โดยมีวิทยากรสอนการทำปลาดุกร้าในเชิงปฏิบัติการลงมือทำจริง โดยนำปลาดุกพันธ์บิ๊กอุยจากสมาชิก รับซื้อกิโลละ 60 บาท ครั้งนี้ จำนวน 15 กิโล

อบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย/ปฎิบัติการเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่ 227 มีนาคม 2021
27
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ก่อนวันอบรม -เตรียมการจัดหาวัสดุในการทำอาหารปลาดุก เช่น หญ้าเนเปียร์ รำ หัวอาหารปลาดุก มันสำปะหลัง น้ำหมักจุลินทรีย์ หยวกกล้วย
-เปิดการอบรมการทำอาหารเลี้ยงปลาดุกเพื่อลดต้นทุน -วิทยากร ดำเนินการสอนการทำอาหารปลาดุก จำนวน 2 สูตร -ร่วมแลกเปลี่ยนปัญหา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วม จำนวน 28 คน ประกอบด้วยสมาชิกเลี้ยงปลาดุก พี่เลี้ยง 2.ได้เรียนรู้การทำอาหารปลาดุกเพื่อลดต้นทุน จำนวน 2 สูตร คือ -สูตรที่ 1 ทำอาหารปลาดุกด้วยหญ้า เนเปีย โดยมีส่วนผสม หญาเปีย อายุ 45 วันขึ้นไป จำนวน 2 กกมันเส้นต้มสุก จำนวน 2 กก./รำละเอียด จำนวน 2 กก./หัวอาหารปลาดุก จำนวน 1 กก. วิธีทำ นำหัวอาหารปลาดุก มาแช่น้ำทิ้งไว้ 30 นาที หลังจากนั้นนำหญ้าเปีย และมันเส้นมาบดให้ละเอียด นำส่วนผสมทั้งหมดไปผสมกับรำ และน้ำเปล่า ประมาณ 1 ลิตร คลุกเคล้ากัน ก็นำไปใช้ได้เลย หรือปั้นเป็นก้อนตากแดดไว้ พอแห้ง เป็บไว้นานประมาณ 1 อาทิตย์ ประโยชน์ ช่วยประหยัดต้นทุนค่าอาหารได้ถึง 50 % /สร้างภูมิต้านทานโรค ปลาดุกโตเร็ว แข็งแรง เจริญอาหาร/ปลาดุกเนื้อแน่น เนื้อใส ไม่มีกลิ่นคาวปลา
-สูตรที่ 2 ทำอาหารปลาดุกด้วยต้นกล้วย โดยมีส่วนผสม ต้นกล้วยหรือหยวกกล้วย 5 กก./รำละเอียด 1 กก./น้ำหมัก(ปลา) 1 ลิตร
วิธีทำ นำหยวกกล้วยมาหั่น ตำให้ละเอียด นำหยวกกล้วยที่ตำแล้ว มาคลุกกับรำ แล้วนำน้ำหมักมาใส่ ปั้นเป็นก้อน โยนให้ปลากินได้เลย หากให้เก็บไว้นานๆ ก็ปั้นเป็นก้อนนำมาตากแดดให้แห้ง หรืออัดเม็ดเก็บไว้ใช้ได้เป็นเดือน

ประชุมคณะทำงานและติดตามเยี่ยมทุก 2 เดือน ครั้งที่ 420 มีนาคม 2021
20
มีนาคม 2021รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.พี่เลี้ยง ดำเนินการเปิดประชุม 2.ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยง โดยนายประเทือง  อมรวิริยะชัย เปิดเวทีประชุม ได้ซักถามการดำเนินการที่ผ่านมา มีปัญหาอุปสรรค ในช่วงโควิด 19 ทำให้การจัดประชุมรวมกลุ่มคนจำนวนมากทำไม่ได้ ต้องประสานงานทางโทรศัพย์ และรวมกลุ่มได้ไม่มาก
ผู้รับผิดชอบได้พูดคุยกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย/ปฎิบัติการเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดในวันที่ 27 มีนาคม 2564 โดยให้สมาชิกนำผลการเลี้ยงปลาดุก ปัญหาอุปสสรคในการเลี้ยง

เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 121 พฤศจิกายน 2020
21
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-เปิดเวทีการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ครั้งที่ 1 โดยผู้รับผิดชอบโครงการ และ  นายประเทือง อมรวิริยะชัย ผอ.รพ.สต.บ้านชะรัด เป็นพี่เลี้ยงโครงการ -นำเสนอผลลัพธ์ในการดำเนินงานโครงการ และสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยน -นำเสนอปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-มีผู้เข้าร่วมประชุม 19 คน ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบโครงการ พี่เลี้ยง สมาชิกกลุ่มเลี้ยงปลา -ผลลัพธ์อยู่ในขั้น 1 และ ได้เริ่มเข้าบันไดผลลัพธ์ขั้นที่ 2  คือเกิดการเรียนรู้และปฏิบัติการเลี้ยงปลาดุก โดยการเลี้ยงเป็น 3 ล็อต ๆ ละ 10 คน ห่างกัน 1 สัปดาห์ โดยรวมตัวเป็นกลุ่มเลี้ยงปลาดุกพันธ์บิ๊กอุย จำนวน 32 คน โดยดำเนินการในนามกลุ่ม เช่น การซื้อพันธ์/อาหารปลา และให้สมาชิกนำไปเลี้ยงที่บ้านตัวเอง พบปัญหาอะไรให้แลกเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิก ในระยะแรกที่เลี้ยง ส่วนใหญ่ยังไม่พบปัญหา

ตรวจเอกสารปิดงวด 114 พฤศจิกายน 2020
14
พฤศจิกายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตรวจเอกสารการเงิน และรายงานบนเวปไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรม 3 คน โดยมี จนท.จากหน่วยจัดการ NFS ได้ตรวจเอกสารการเงินและรายงานบนเวปไซต์ ได้ปรับปรุงหลักฐานให้ถูกต้อง ครบถ้วน

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์31 ตุลาคม 2020
31
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้จัดซื้อซิมอินเตอร์เนต และมีการจัดทำรายงานกิจกรรมออนไลน์บนเวปไซต์

นำคณะทำงานและสมาชิกกลุ่มศึกษาดูงานการเลี้ยงปลาดุก/การผลิตอาหารปลาดุก28 ตุลาคม 2020
28
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

.......ติดต่อประสานงานพื้นที่ศึกษาดูงาน / ประสานงานรถตู้จำนวน 2 คัน และประสานงานผู้ที่จะเดินทางไปศึกษาดูงาน โดยนัดกันที่ศาลาหมู่บ้าน เดินทางไปศึกษาดูงานที่ ศูนย์เรียนรู้ กลุ่มเลี้ยงปลาดุก ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน ที่นี่มีสมาชิก จำนวน 10 ราย มีการเลี้ยงปลา รายละ 200ตัว
1.ได้เรียนรู้การให้อาหารปลา โดยในช่วงวัยอนุบาลนั้น เน้นการให้อาหารให้บ่อย ไม่ต่ำกว่าวันละ 2ครั้ง แต่ละครั้งให้ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนี้
- อาทิตย์แรกของการเลี้ยง ควรให้อาหาร 10-20 กรัมต่อมื้อ(หรือประมาณ 3ช้อนโต๊ะ โดยจากการชั่งน้ำหนักอาหารพบว่า 1ช้อนโต๊ะหนักเท่ากับ 5 กรัม) โดยให้ 2-3 มื้อต่อวัน
-อาทิตย์ที่ 2 ควรให้อาหารมื้อละ 20-30 กรัม โดยให้ 2-3 มื้อต่อวัน
-อาทิตย์ที่ 3 ควรให้อาหารมื้อละ 30-50 กรัม โดยให้ 2 มื้อต่อวัน
-อาทิตย์ที่ 4 ควรให้อาหารมื้อละ 50-80 กรัม โดยให้ 2 มื้อต่อวัน
-รวมปริมาณอาหารที่จะให้ทั้งหมดในช่วง 1 เดือนแรก ไม่ควรเกิน 1.8 กิโลกรัม ต่อจากนั้นอาหารที่จะต้องใช้เลี้ยงปลาดุก จะต้องเป็นอาหารที่ทำเองโดยทางโครงการจะสอนวิธีการทำพร้อมสูตรอาหารปลาดุกปลอดภัย ที่มีโปรตีนอยู่ในช่วงร้อยละ 30-33 ที่นี่มีการเก็บข้อมูลการเลี้ยงปลา โดยข้อมูลที่ต้องทำการบันทึกจะครอบคลุมในเรื่องของ -ปริมาณการให้อาหารปลาในแต่ละมื้อ -สำรวจอัตราการเจริญเติบโตของปลาเบื้องต้น จากการวัดขนาดลำตัว และหรือการชั่งน้ำหนัก โดยวัดขนาดก่อนเลี้ยง และเมื่อเลี้ยงปลาจนมีอายุครบ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และ 4เดือน(ได้ขนาดจับขาย) เป็นต้น -สอบถามปัญหาที่พบเจอในระหว่างการเลี้ยง และ ทางผู้เลี้ยงมีการจัดการกับปัญหาได้หรือไม่อย่างไร -สภาพแวดล้อมในการเลี้ยง เช่น รอบๆ บ่อเลี้ยงปลามีการฉีดยาฆ่าหญ้าหรือไม่ สภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเปรียบเทียบน้ำในกระชัง กับน้ำนอกกระชัง เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง หากมีการลงพื้นที่ สมาชิกที่ทำการลงพื้นที่จะต้องแจ้งวันที่และเวลาการลงพื้นที่ให้สมาชิกทราบล่วงหน้า โดยแจ้งทางโทรศัพท์ หรือแจ้งมาในกล่องข้อความของกลุ่มทางโซเชี่ยล(ในแอพแชทMessenger)
2.ได้เรียนรู้วืธีการเลี้ยงปลา โดยการเลี้ยงปลาดุกเลี้ยงได้ตารางเมตรละ 50 ตัว ควรนำน้ำไปตรวจวิเคราะห์ก่อนที่ศูนย์วิจัยประมงลำปำตรวจฟรี มีเห็บหรือมั่ยถ้ามี ปลาจะเลี้ยงไม่โต อาหารในน้ำมีมั่ย เช้นแพงต้น การทำแพลงต้อลโดยการใช้ปุ๋ยหมัก
3.การเลือกดูลักษณะปลาดุกบิ๊กอุย ลำตัวมีจุดลายเส้น ศรีษะมน ซื้อจากร้านที่ได้มาตรฐาน การบรรจุปลาในถุงให้มีจำนวนน้อยที่สุด การให้อาหารให้ 10 % ของน้ำหนักตัว น้ำเสียเกิดจาก อาหารเหลือ มีขี้ปลา ควรถ่ายน้ำเดือนละครั้ง หรือใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง โดยใช้ไข่ 3 ช้อนกับน้ำ5 ลิตร ใส่ขวดตากแดด 7 วัน นำไปใช้ 1 บ่อ ใช้ 2 ขวด นำน้ำมาผสม
4.อาหารปลาดุก โดยดูที่โปรตีนเป็นหลัก
-วัยอนุบาล โปรตีน =35-40 %
-วัยเล็ก-วัยรุ่น โปรตีน =30-32 %
-วัยใหญ่-พร้อมจับ โปรตีน =25-28 %
5.การทำอาหารปลาดุกเพื่อลดต้นทุน มีส่วนผสม ปลาป่น/ถั่วเหลือง/หยวก(หมักก่อน) /ยาคูล
6.แหนแดง เป็นพืชที่มีโปรตีนสูง ปลาดุกก็กินเพื่อลดต้นทุน
  มีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มเลี้ยงปลาดุกบ้านศาลาไม้ไผ่ ด้วย และได้เรียนรู้เรื่องอื่น ๆ เช่นการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้โซลาเซลล์ ซึ่งที่นี่เป็นศูนย์เรียนรู้การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยโซลาเซลล์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ด้วย ………หลังจากนั้นได้เดินทางไปศึกษาดูงานที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน เรื่องการเลี้ยงปลา และการใช้แหนแดงให้อาหารปลาเพื่อลดต้นทุน ในการเตรียมการเลี้ยงแหนแดงให้มีพื้นที่ประมาณ 12 ตารางเมตร โดยใช้แผ่นก้อนอิฐ /ผ้ายาง/ดิน สูง 5 ซม./ ขี้วัวประมาณ 1 กก./เติมน้ำสูงประมาณ 10 ซม. และพืชแหนแดง ประมาณ 1 มือ ทิ้งไว้ประมาณ 2 เดือน ก็จะงอกเต็มพื้นที่ สามารถนำไปเป็นอาหารปลาดุกได้ โดย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ใช้รถตู้ จำนวน 2 คัน มีผู้เดินทางไปร่วมศึกษาดูงานจำนวน 26 คน

ประชุมคณะทำงานและติดตามเยี่ยมทุก 2 เดือนครั้งที่ 325 ตุลาคม 2020
25
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดประชุมโดยประธานกลุ่มเลี้ยงปลาดุก นางศุภกร หมวดมณี
-ได้มอบหมายให้ จนท.การเงิน ชี้แจงค่าใช้จ่ายต่างๆ และยอดเงินคงเหลือ ขณะนี้มียอดเงินคงเหลือในบัญชี จำนวน 1,1097 บาท
-วางแผนการเดินทางไปศึกษาดูงานการเลี้ยงปลาดุกที่ อำเภอเขาชัยสน ในวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ให้แจ้งสมาชิกเลี้ยงปลา มาขึ้นรถตู้ จำนวน 26 คน จำนวน 2 คัน พร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน เวลา 09.00 น.โดยให้ใส่เสื้อสีเหลือง
-ติดตามการเลี้ยงปลาดุก พบปัญหาตาย หมด 1 บ่อ จากสาเหตุ ลูกนำน้ำยาล้างจานเทใส่บงไปในบ่อ ทำให้ปลาดุก ตายหมด ขณะนี้เจ้าของบ่อได้ดำเนินการซื้อพันธ์ปลาดุก มาเลี้ยงใหม่แล้ว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม 11 คน

ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 2 ร่วมกิจกรรมเวทีสานงาน เสริมพลังชุมชนน่าอยู่ สู่ พัทลุง GREEN CITY7 ตุลาคม 2020
7
ตุลาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

08.30 น. - 09.00 น. ลงทะเบียน ตัวแทนพื้นที่โครงการชุมชนน่าอยู่ ตัวแทนพื้นที่โครงการ NFS ตัวแทนภาคี ความร่วมมือ
09.00 น.- 09.10 น. กิจกรรมนันทนาการ โดยนางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ และทีมพื้นที่โครงการชุมชนน่าอยู่
09.10 น. - 09.20 น. กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรม โดยนายทวี เสนแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน บ้านทุ่งโต๊ะหยะฯ ตัวแทนพื้นที่ดำเนินการชุมชนน่าอยู่
09.20 น.- 09.40 น. นำเสนอความเป็นมาของโครงการชุมชนน่าอยู่ผ่านสื่อวิดีทัศน์และแนะนำคณะทำงานโครงการชุมชนน่าอยู่ โดยนายเสณี จ่าวิสูตร ผู้จัดการโครงการชุมชนน่าอยู่พื้นที่จังหวัดพัทลุง
09.40 น. - 10.00 น.นำเสนอผลลัพธ์จากการดำเนินงานในชุดโครงการชุมชนน่าอยู่และแนวทางการขยายผล
10.00 น. - 11.30 น. กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ “ยุทธศาสตร์การสร้างชุมชน สีเขียว (phatthalung community green city) ด้วยกลไกกรรมการหมู่บ้านร่วมกับสภาผู้นำชุมชน” โดยนายกู้เกียรติ วงศ์กระพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
11.30 น. - 12.00 น. นำเสนอความเป็นมาและผลการดำเนินงานโครงการหน่วยจัดการ ระดับจังหวัดที่มีจุดเน้นสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด พัทลุง สู่ Phattalung Green City (Node lagship) สสส.สำนัก 6 โดยนายไพฑูรย์ ทองสม ผู้จัดการโครงการฯ
12.00 น. - 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 น.- 13.15 น. กิจกรรมสันทนาการ โดย นส.ไพลิน ทิพย์สังข์และคณะทำงานโครงการ ร.ร.ขยะตำบลชะรัด
13.15 น. - 14.30 น. แบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นดำเนินการโครงการ NFS แต่ละกลุ่ม มีตัวแทนของพื้นที่ ดำเนินการรายประเด็น ร่วมกับภาคีร่วมในแต่ละ ประเด็นภายใต้โจทย์ "เราจะมีแนวทาง ทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อมุ่งไปสู่ พัทลุงกรีนซิตี้” โดยนายไพฑูรย์ ทองสม
      -กลุ่มที่ 1 ประเด็นการจัดการทรัพยากรน้ำและป่าต้นน้ำ วิทยากรประจำกลุ่ม นส.วิยะดา วิเชียรบุตรและนายอรุณ ศรีสุวรรณ
      -กลุ่มที่ 2 ประเด็นทรัพยากรชายฝั่ง วิทยากรประจำกลุ่ม นางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนูและ นายนราพงษ์ สุขใส
      -กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการสิ่งแวดล้อม วิทยากรประจำกลุ่ม นายถาวร คงศรีและ นายณัฐพงษ์ คงสง
      -กลุ่มที่ 4 ประเด็นข้าวและพืชอาหารปลอดภัย วิทยากรประจำกลุ่มนายสมนึก นุ่นด้วงและ นางสาวจุฑาทิป ชูสง
      -กลุ่มที่ 5 ประเด็นอาหารโปรตีนปลอดภัย วิทยากรประจำกลุ่ม นายประเทือง อมรวิริยะชัย และนส.สายพิณ โปชะดา
14.30 น. - 15.30 น. นำเสนอแนวทางสร้างความร่วมมือการทำงานร่วมกันตามประเด็นโดยตัวแทนกลุ่มประเด็น
15.30 น.- 16.00 น. สรุปผลในภาพรวม โดยนายสมนึก นุ่นด้วง ทีมสนับสนุนวิชาการ
16.00 น. เป็นต้นไป ปิดงานและเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ถึงผลลัพธ์โครงการ และเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดี กับเครือข่ายและหน่วยงานภาคี สามารถเชื่อมโยงเพื่อการสรรสร้างสิ่งที่ดีๆร่วมกันให้เกิดวงกว้างมากขึ้น

อบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย/ปฎิบัติการเลี้ยงปลาดุก ครั้งที่ 114 กันยายน 2020
14
กันยายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เชิญวิทยากรและกลุ่มเป้าหมายที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
2.เตรียมสถานที่อบรม เตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่ม อาหารกลางวัน
3.เริ่มดำเนินการอบรม โดยมีวิทยากร จาก 3 หน่วยงานคือ ประมงอำเภอเมืองพัทลุง พัฒนาชุมชนอำเภอเมืองพัทลุง และจนท.จากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพัทลุง โดย ประธานกลุ่ม แนะนำวิทยากรทั้ง 3 คน พร้อมพี่เลี้ยง นายประเทือง อมรวิริยะชัย
-ประมงอำเภอเมือง ได้ พูดคุยถึงการเลี้ยงปลาดุก แนะนำการซื้อปลาให้ไปตอนเช้า ดูว่าปลามีรอยด่างมั่ย มีหนวดมั่ย บ่อใหม่ต้องแช่น้ำใส่หยวกกล้วย และแนะนำสูตรอาหารปลาดุก ปลาอ่อน ให้อาหารเม็ดบัว พอโตใช้สูตรอาหารทำเองมื้อเช้า มื้อเย็นให้อาหารเม็ด การทำอาหารปลาดุกแบบลดต้นทุน มีส่วนผสมคือ อาหารสำเร็จรูป(อาหารปลาดุกเล็ก)/รำ 1 กก./ปลายข้าวต้มสุก 0.5 กก./กล้วยสุก 0.5 กก./เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ/กากน้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ/อีเอ็ม 5 ช้อนโต๊ะ(น้ำหมักของพัฒนาที่ดิน) วิธีทำคือ 1.ผสมรำกับกล้วย โดยขยำให้กล้วยละเอียด 2.ผสมปลายข้าวต้มสุก กับรำและกล้วย 3.ผสมเกลือ กากน้ำตาล และอีเอ็ม (กับวัตถุดิบข้อ 2) 3. และนำอาหารปลาดุกเม็ดมาผสม(กับวัตถุดิบข้อ 3)
-การขึ้นทะเบียนการเลี้ยงปลา ให้ทุกครัวเรือนดำเนินการขึ้นทะเบียนด้วย เพื่อรองรับการประเมินมาตรฐาน Safety Level โดยนำหลักฐานโฉนดที่ดิน สำเนาบัตรประชาชน รูปถ่ายบ่อ ภาพถ่ายยืนคู่กับบ่อเลี้ยงปลา พริ้นใส่กระดาษ จับพิกัด GPS และกรอกเอกสารในแบบฟอร์ม และได้พูดเสริมการสนับสนุนตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมี จนท.พลังงานจังหวัดได้เข้ามาดูสถานที่ก่อนหน้านี้แล้ว เข้าแผนในปี 2564
-จนท.จากศูนย์วิวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดพัทลุง ได้พูดถึงมาตรฐาน Safety Level ซึ่งจะมีขั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ 1.ต้องขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างถูกต้อง โดยขึ้นทะเบียนที่ประมงอำเภอเมือง 2 ไม่มีการใช้สารต้องห้ามที่ราชการประกาศ และจะเก็บตัวอย่างปลา 500 กรัม ส่งตรวจห้องแลป นำเนื้อปลาไปบดสกัดจนผลออกมา 3.ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ 4.มีหนังสือกำกับการจำหน่ายพันธ์สัตว์น้ำ ต้องรู้ว่าปลามากไหน ขายไปไหน มีการบันทึกไว้ในสมุดบันทึกรายวัน
-แนะนำการเลือกซื้ออาหารปลาดุก ให้ดูเลขทะเบียนอาหารปลา (ป+เลข 10 ตัว) ดูอายุวันหมดอายุด้วย (จะมีอายุ 3 เดือน)
-แนะนำการเลี้ยงปลาดุก ต้องจัดการน้ำ ปล่อยน้ำให้เลือ 30 % ปลาจะมีอุณภูมิตามน้ำ EM ของประมงมีฟรี ใช้กำจัดน้ำเสียได้ เอาปลาไปตรวจโรคได้ที่ศูนย์วิจัย น้ำเลี้ยงปลาดุกนำไปรดต้นไม้ได้ วิธีถ่ายน้ำให้สังเกตุสีน้ำ เมื่อเปลี่ยนเส็จให้โรยเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ เพื่อไม่ให้ปลาเครียด
-พัฒนาชุมชนอำเภอเมือง พูดถึงการรวมกลุ่มเลี้ยงปลา ได้สนับสนุนเงินมา 9,000 บาท ในการเลี้ยงปลาดุก และแปรรูป ปลาดุก ในอนาคต มีเงินสนับสนุนในเรื่องบรรจุพันธ์ แต่ต้องขึ้นทะเบียนโอทอปก่อน ที่หน่วยงานพัฒนาชุมชน จะขึ้นทะเบียนแบบเดียวหรือแบบกลุ่มก็ได้ โดยนำหลักฐาน สำเนาทะเบียนบ้าน/ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม/บัญชีสมาชิก/บันทึกการจัดตั้งกลุ่ม และจะส่งคนไปอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติการการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย โดยมีกลุ่มเลี้ยงปลาดุก จำนวน 32 ครัวเรือน จากที่ตั้งเป้าไว้ 30 ครัว

การเตรียมวัตถุดิบและเตรียมพื้นที่ผลิตวัตถุดิบ9 กันยายน 2020
9
กันยายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเตรียมพื้นที่ปลูกกล้วย เตรียมจัดซื้อวัสดุในการทำบ่อเลี้ยงแหนแดง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีวัสดุและพื้นที่ปลูกกล้วย จำนวน  1 แปลง  และบ่อเลี้ยงแหนแดง จำนวน 1 บ่อ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารปลาดุกในการลดต้นทุน

ประชุมคณะทำงานและติดตามเยี่ยมทุก 2 เดือน ครั้งที่ 229 สิงหาคม 2020
29
สิงหาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ดำเนินการประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 11 คน โดยนางศุภกร  หมวดมณี ประธานกลุ่มเลี้ยงปลาดุก มีการติดตามการดำเนินงานตามแผน ในการเลี้ยงปลาดุก ได้สอบถามการเตรียมลูกท่อซีเมนต์ ในการเลี้ยงปลา และยังมีครัวเรือนที่ยังไม่มี ได้ให้เตรียมไว้ให้พร้อม โดยจะดำเนินการเลี้ยงปลา เป็นระยะๆ ให้จับกลุ่ม เป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 ครัวเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม 11 คน ได้ติดตามการดำเนินงานตามแผนการดำเนินงาน

ประชุมคณะทำงานทุก 2 เดือน ครั้งที่ 111 กรกฎาคม 2020
11
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เปิดประชุม เวลา 13.30 น. โดยประธานกลุ่ม นางศุภกร หมวดมณี การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรก เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน/แบ่งบทบาทหน้าที่/จัดทำแผนการปฏิบัติงาน และมอบหมายให้พี่เลี้ยง นายประเทือง อมรวิริยะชัย ได้ชี้แจงที่มาของโครงการ
-1.โครงการปลาดุกสวรรค์บ้านศาลาไม้ไผ่ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จาก สสส.ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างเสริมสุขภาพ Node Flagship จังหวัดพัทลุง จำนวนเงิน 77,675 บาท จะเริ่มดำเนินการระยะเวลา ตั้งแต่ วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 รวมระยะเวลา 10 เดือน โดยดำเนินงานตามโครงการปลาดุกสวรรค์บ้านศาลาไม้ไผ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อให้เกิดกลไกการบริหารจัดการการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย 2.เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย 3.เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย 4.เพื่อให้เกิดต้นแบบการเลี้ยงปลาดุกปลอดภัย โดยตั้งเป้าหมาย 30 ครัวเรือน แต่สมัครเข้าร่วมโครงการ 32 ครัวเรือน เป็นการเลี้ยงในท่อซีเมนต์ และมีการแปรรูปปลาดุกด้วย
-2.แบ่งหน้าที รับผิดชอบ 1.นางศุภกร หมวดมณี เป็นหัวหน้ากลุ่ม ดูแลการบริหารจัดการโครงการ/ประสานงานต่าง ๆ 2.นางสาวจิราพร พรหมอักษร เลขานุการ ทำหน้าที่บันทึกการประชุม/ภาพถ่าย คอยช่วยเหลืองานอื่นๆที่ หัวหน้ากลุ่มมอบหมาย 3. นางเตือนใจ สงแสง เหรัญญิก ทำหน้าที่ฝ่ายการเงินเก็บหลักฐานการเงิน 4.นางระเบียบ บัวเนียม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ประสานงานต่างๆ
-3.ได้วางแผนการเลี้ยงปลาดุกและแปรรูปปลาดุก การเลี้ยงจะแบ่งการเลี้ยงกลุ่ม 3 กลุ่ม แบ่งระเวลาการเลี้ยงให้ห่างกัน 3 ล็อต ล็อตที่ 1 จำนวน 10 ครัวเรือน ล็อตที่ 2 จำนวน 10 ครัวเรือน และล็อตที่ 3 จำนวน 12 ครัวเรือน ใน 1 บ่อ เลี้ยงได้ประมาณ 80-100 ตัว ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 3-4 เดือน
-4.ประธานนัดประชุมกลุ่มกันทุก 2 เดือน โดยครั้งต่อไปจะนัดประชุมในเดือน สิงหาคม สำหรับวันไหนจะแจ้งให้ทราบอีกที

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 11 คน เกิดคณะทำงานการเลี้ยงปลาดุกที่ปลอดภัย จำนวน 11 คน
-มีการแบ่งบทบาทหน้าที่
-มีแผนการดำเนินงาน
-มีการประชุมทุก 2 เดือน
-คณะทำงานมีความรู้การผลิตอาหารโปรตีนที่ปลอดภัย

ค่าจัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม2 กรกฎาคม 2020
2
กรกฎาคม 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. สำหรับติดในสถานที่จัดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย และป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่

ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือ หน่วยจัดการระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 เวทีปฐมนิเทศ โครงการย่อยภายใต้หน่วยจัดการระดับจังหวัด20 มิถุนายน 2020
20
มิถุนายน 2020รายงานจากพื้นที่ โดย supakon
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฐมนิเทศตามกำหนดการ รู้จักหน่วยงานให้ทุน การทำต้นไม้ปัญหา การคลี่ปัญไดผลลัพธ์ การจัดทำตัวชี้วัดและแผนโครงการ การบริหารจัดการการเงิน และการรายงานผ่านระบบ happy network

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วม 3 คน ประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ ผลลัพธ์ คณะทำงานได้รับรู้ที่มาโครงการ การทำต้นไม้ปัญหา การคลี่ปัญไดผลลัพธ์ การจัดทำตัวชี้วัดและแผนโครงการ การบริหารจัดการการเงิน และการรายงานผ่านระบบ happy network