stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (21)พัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0021
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2022
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2022 - 30 เมษายน 2023
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวหนึ่งฤทัย พันกุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 1 พ.ค. 2022 30 ก.ย. 2022 40,000.00
2 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 1 ต.ค. 2022 28 ก.พ. 2023 55,000.00
3 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 1 มี.ค. 2023 30 เม.ย. 2023 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โครงการเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพรเป็นการดำเนินงานเสริมสร้างสุขภาวะพื้นที่จังหวัดชุมพร ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายวิสัยทัศน์จังหวัด “ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล” โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการ 25 พื้นที่ กระจายตัวภายพื้นที่ตามฐานภูมินิเวศ จากภูผาสู่มหานที ใน 3 รูปแบบ อันได้แก่พื้นที่เนินเขา พื้นที่ราบ พื้นที่ชายฝั่งทะเล สำหรับประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ และเป้าหมายตามวาระจังหวัดชุมพร(การเกษตร) มีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ จำนวน 8,000 ไร่  ในส่วนเป้าหมายของ node flagship มีพื้นที่ผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสาร/อาหารปลอดภัย อย่างน้อย 10 % (2,945 ไร่) บรรลุในปี 2565 ซึ่งปฏิบัติการ 17 โครงการ ในพื้นที่ 55 หมู่บ้าน/ 30 ตำบล มีผู้เข้าร่วมโครงการ 1,300 ราย/ครัวเรือน มีพื้นที่การผลิต  3,200 ไร่ ขณะเดียวกันได้ร่วมกับกลุ่มเครือข่าย ได้แก่ เครือข่ายคนกล้าคืนถิ่นและเกษตรรุ่นใหม่ เครือข่ายข้าวไร่ เครือข่ายเกษตรสุขภาพ  เครือข่าย You Model  เครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน  เครือข่ายเกษตรกรสวนยางพารา เพื่อการร่วมกันขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน (พืชร่วมยาง) การจัดทำแผนระบบอาหารท้องถิ่นและ แผนยุทธศาสตร์ระบบเกษตรและอาหารระดับจังหวัด รวมทั้งความร่วมมือตามนโยบายรัฐ เช่น การเกษตรแปลงใหญ่ การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากวิกฤติไวรัสโคโรน่า-19 การร่วมจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดชุมพร ปี 66 เป็นต้น
สถานการณ์ในปัจจุบัน กลไกความร่วมมือทางนโยบายจากผู้แทนหน่วยงาน 13 องค์กรได้มีฉันทามติร่วม สานพลังสร้างสุขชุมพรสู่เมืองน่าอยู่  โดยมี MOU กรอบความร่วมมือเสริมสร้างสุขภาวะพื้นที่จังหวัดชุมพร : องค์กรภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคเอกชน ได้มีความร่วมมือกันพัฒนาชุมชนสังคมชุมพร สานพลังขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชุมพร ให้เกิดความสมดุล ทั่วถึง ยั่งยืน จึงนำมาสู่กรอบข้อตกลงความร่วมมือ ดังนี้ 1) สนับสนุนการขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมตามวิสัยทัศน์จังหวัด “ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล” โดยใช้ศักยภาพขององค์กรความร่วมมือในการหนุนเสริมซึ่งกันและกัน อย่างกัลยาณมิตร และมีกลไกความร่วมมือติดตามสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดชุมพรที่ต่อเนื่อง 2) การสนับสนุนทางวิชาการในการสร้างเสริมสุขภาวะเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่เป็นตัวตั้ง สู่เป้าหมายชุมพรมหานครสุขภาวะ 3) การเพิ่มพูนศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ (ผู้คน) องค์กร กลุ่มเครือข่าย ให้มีความขีดความสามารถ ขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ให้เกิดความสมดุล ทั่วถึง ยั่งยืน 4) องค์กรภาคีความร่วมมือกันทำให้เกิดมีแผนความร่วมมือการพัฒนาพื้นที่(นำร่อง) ตามความพร้อมขององค์กรความร่วมมือ ที่จะดำเนินการ 5 ปี (ปี 65-69) และมีการติดตามประเมินผลเป็นระยะ พร้อมนำใช้บทเรียนความรู้ในความร่วมมือขยายผลไปสู่พื้นที่  5) องค์กรความร่วมมือทั้ง 13 องค์กร มีแผนยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติการร่วมกัน เป็นแนวทางการขับเคลื่อนไปด้วยกัน ทั้งนี้การดำเนินงานข้างต้น จะเป็นส่วนเสริมหนุนให้แผนความมั่นคงทางอาหารให้บรรลุเป้าหมาย  ขยายผลกลุ่มเครือข่ายให้เพิ่มขึ้น  โดยได้รับความร่วมมือ สนับสนุนจากภาคียุทธศาสตร์ ได้แก่ ชมรมวุฒิอาสาธนาคารสมอง (กบจ.ชุมพร), สนง.ปฏิรูปที่ดินจังหวัดชุมพร, สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร, สนง.เกษตรจังหวัดชุมพร , สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน(SDGPGS)จังหวัดชุมพร,  สนง.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรชุมพร ,สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร , มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขต ชุมพร ,สมาคมท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร ดำเนินงานศึกษารูปแบบการทำสวนยางยั่งยืนของชุมพร-ระนอง ในการทำการส่งเสริมการผลิตตามแบบ 3 เกษตรผสมผสาน ของคณะทำงานจังหวัดชุมพรและระนอง (กยท.-ผู้แทนคณะกรรมการสถาบันเกษตรกรฯ-สมาคมประชาสังคมชุมพร-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ได้ข้อสรุปดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการสวนยางยั่งยืน(พืชร่วมยาง) สามารถจำแนกได้ในสองลักษณะ คือ ขนาดและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน และรูปแบบการผลิตตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ (เกษตรทฤษฎีใหม่-โคกหนองนาโมเดล,เกษตรผสมผสาน,เกษตรอินทรีย์,วนเกษตร,เกษตรธรรมชาติ)
รูปแบบขนาดและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน 1.1 รูปแบบจากขนาดและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน รูปแบบ การดำเนินผลิตในแปลง ปัจจัยเงื่อนไข   1) ขนาดพื้นที่ ไม่เกิน 10 ไร่ (ค่าเฉลี่ยการถือครองที่ดินเกษตรชาวสวนยาง 11.5 ไร่ต่อราย) มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานทั้งปลูกพืชหลากหลายชนิด มีกิจกรรมการผลิตในแปลงเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูป และการจัดการตลาดครบวงจร พื้นที่แปลงมีแหล่งน้ำในแปลง มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีแรงงานในครัวเรือนอย่างน้อย 2 ราย   2. ขนาดพื้นที่ ไม่เกิน 11-50 ไร่ มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานโดยจัดโซนนิ่งการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และมีกิจกรรมการผลิตหลากหลายกิจกรรมทั้งพืชและสัตว์ พื้นที่แปลงมีแหล่งน้ำในแปลง เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ มีแรงงานในการทำเกษตรอย่างน้อย 4 ราย   3. ขนาดพื้นที่ มากกว่า 50 ไร่ขึ้นไป มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานโดยจัดโซนพื้นที่เพื่อทำการผลิตหรือเพาะปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และแรงงานในแปลง เกษตร มีหลากหลายกิจกรรมทั้งพืชและสัตว์ พื้นที่แปลงมีแหล่งน้ำในแปลง เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ มีแรงงานในการทำเกษตรมากกว่า 4 ราย 1.2 รูปแบบรูปแบบการผลิตตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน 5 รูปแบบ   1. เกษตรทฤษฎีใหม่-โคกหนองนาโมเดล (New theory agriculture) เน้นหนักการจัดการทรัพยากรน้ำในไร่นาให้เพียงพอเพื่อผลิตพืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวเอาไว้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งมีการผลิตอื่น ๆ เพื่อบริโภคและจำหน่าย ส่วนที่เหลือแก่ตลาด เพื่อสร้างรายได้อย่างพอเพียง พื้นที่แปลงมีแหล่งน้ำในแปลง เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีแรงงานในครัวเรือนอย่างน้อย 2 ราย มีเป้าหมายในการทำการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นขั้นต้น แล้วค่อยแปรรูปหรือจำหน่ายเพิ่มรายได้ 2. เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) เน้นกิจกรรมการผลิตมากกว่าสองกิจกรรมขึ้นไปในเวลาเดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้เกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินที่มีจำกัด ในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด พื้นที่แปลงมีแหล่งน้ำในแปลง เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ มีแรงงานในการทำเกษตรอย่างน้อย 2 ราย 3. เกษตรอินทรีย์ (Organic farming) เน้นหนักการผลิตที่ไม่ใช้สารอนินทรีย์เคมี หรือเคมีสังเคราะห์ แต่สามารถใช้อินทรีย์เคมีได้ เช่น สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอมหรือสารสกัดชีวภาพเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ทรัพยากรดิน พื้นที่แปลงมีแหล่งน้ำในแปลง เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง –เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ มีแรงงานในการทำเกษตรมากกว่า 4 ราย กรณีมุ่งเน้นการตลาดจำเป็นต้องมีกระบวนการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร 4. วนเกษตรหรือไร่นาป่าผสม (Agroforesty) เน้นหนักการมีต้นไม้ใหญ่และพืชเศรษฐกิจหลายระดับที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อการใช้ประโยชน์ป่าไม้ของพืชหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน ทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำกัดได้อีกทางหนึ่ง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง –เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ มีแรงงานในการทำเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และกิจกรรมการผลิต 5.เกษตรธรรมชาติ เกษตรธรรมชาติ (Natural farming) เน้นหนักการทำเกษตรที่ไม่รบกวนธรรมชาติ หรือรบกวนให้น้อยที่สุดที่จะทำได้ โดยการไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และไม่กำจัดวัชพืช แต่สามารถมีการคลุมดินและใช้ ปุ๋ยพืชสดได้ เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ มีแรงงานในการทำเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และกิจกรรมการผลิต ดังนั้นจากการที่สมาคมประชาสังคมชุมพร (Node flagship ) ได้แสวงหาข้อมูลข้อเท็จจริงจากพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสวนยางยั่งยืน เกษตรสุขภาพ หรือเกษตรกรรมยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ค้นพบปัญหาสำคัญเร่งด่วนของเครือข่ายคือ ขาดการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพรอย่างเป็นทางการ อันมีสาเหตุของปัญหาโดยสรุป ดังนี้
ด้านพฤติกรรม เกษตรกรยังยึดติดกับการทำสวนยางเชิงเดี่ยว ยังมีการใช้สารเคมี ขาดความรู้ในการผลิตสารชีวภัณฑ์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ด้านสิ่งแวดล้อม แปลงสวนยางยั่งยืนต้นแบบ ยังไม่พร้อมสำหรับการเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ สภาพดินเสื่อมโทรม ฝนตกไม่ตรงฤดูกาลเป็นปัญหาต่อการกรีดยาง ด้านศักยภาพทางสังคม เกษตรกรทั่วไปขาดการรวมตัวในการรับความรู้จากเกษตรกรต้นแบบฐาน ขาดการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง ยังเป็นเครือข่ายใหม่ไม่ได้ร่วมรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ ด้านกลไกระบบกลุ่มเครือข่าย ยังไม่มีการบริหารจัดการที่ดี ขาดการบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสาเหตุดังกล่าวส่งผลกระทบต่างๆ ดังนี้ ผลกระทบด้านสุขภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่มีปัญหาด้านสุขภาพและยังมีสารเคมีในเลือดตกค้าง 60% เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 40% ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรมีหนี้สินครัวเรือน รายได้ไม่มั่นคง ราคาผลผลิตตกต่ำ ปัจจัยการผลิตไม่พร้อม เช่น ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพราคาสูง ขาดแคลนสารชีวภัณฑ์ ผลกระทบด้านสังคม เกษตรกรยึดติดกับการทำสวนยางเชิงเดี่ยว ขาดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ยังมีการใช้สารเคมีในแปลงสวนยาง ยังไม่มีความหลากหลายกิจกรรมทางการเกษตร/ทางชีวภาพ และมีโรคระบาดในแปลงยางเดิม ดังจะเห็นได้ว่าแม้สถานการณ์ในภาพรวมจะมีปัญหาซึ่งเป็นจุดอ่อนหลายประการ แต่เครือข่ายมีจุดแข็งที่มีแปลงสวนยางยั่งยืนต้นแบบ จำนวน 10 แปลง และมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนสู่การเป็นศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืนจำนวน 3 แปลง มีภาคีเครือข่ายพร้อมสนับสนุนขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมให้ทำแบบ 3 เพิ่มขึ้นอีก 10% มีผลงานวิจัยผลการศึกษาของ มอ.พื้นที่ต้นแบบสวนยางยั่งยืน เครือข่ายมีความพร้อมที่จะเริ่มกิจกรรมใหม่ๆ ทั้งการปรับปรุง ฟื้นฟู เรียนรู้และกิจกรรมเสริมต่างๆ และสมาชิกเครือข่ายมีความตั้งใจที่จะพัฒนาองค์กรร่วมกัน สมาชิกเครือข่าย ภาคีเครือข่าย และทีมสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้ประชุมปรึกษาหารือกันและตกลงที่จะดำเนินการ โครงการพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร โดยมีแนวทางสำคัญ 3 ประการ 1) การพัฒนาเครือข่ายสวนยางยั่งยืน ให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร ทั้งการสร้างการเรียนรู้ การแบ่งบทบาทหน้าที่ การจัดการสวนยางยั่งยืน ข้อมูลการผลิต ผลผลิตของสมาชิก และประสานงานกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง 2) การเรียนรู้การผลิตพืชผักผลไม้ปลอดสารอาหารปลอดภัย และจัดหาปัจจัยการผลิตพื้นฐาน  3) การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตและจัดการตลาด 4 รูปแบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหนึ่งปี เกษตรกรลดรายจ่ายครัวเรือนและมีรายได้จากผลผลิตสินค้าในแปลงสวนยางยั่งยืนเพิ่มขึ้น โดยมีตัวชี้วัดพืชร่วมยาง ดังนี้ 1) เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเป้าหมาย ทำพืชร่วมยางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 ของเกษตรกรเป้าหมาย
2) ครัวเรือนเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยาง มีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนร้อยละ 80 ครัวเรือนเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยาง มีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนทุกครัวเรือน 3) เศรษฐกิจครัวเรือนเป้าหมายดีขึ้น (รายได้เพิ่มขึ้น/รายจ่ายลดลง) เศรษฐกิจครัวเรือนเป้าหมายดีขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5,000 บาทต่อเดือน  และมีรายจ่ายลดลงเฉลี่ย 3000 บาท ต่อเดือน 4) จำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 เกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมาย เพิ่มขึ้น 3,200 ไร่ (พื้นที่เดิม 2,945 ไร่)
ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จโดยภาพรวมจากบทเรียนของเกษตรต้นแบบสวนยางยั่งยืน 1) เกษตรกรมีภูมิความรู้ ต้นทุนและสินทรัพย์เพื่อการผลิตที่เพียงพอและเหมาะต่อการทำการผลิตในแต่ละรูปแบบการผลิตต่าง ๆ และมีการออกแบบวางแผนการผลิตที่ดีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2) ความสามารถของเกษตรกรในการเข้าถึงความรู้ใหม่ ๆ เครือข่ายการเรียนรู้และการผลิต  เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ และเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำมาใช้ในการผลิต (เกษตรกรที่เป็นแปลงต้นแบบ ส่วนใหญ่เป็นผู้นำหรือแกนนำเกษตรกร) 3) สภาพแปลงเกษตร ที่มีแหล่งน้ำ หรือมีระบบการจัดการน้ำที่ดีเหมาะสมมีประสิทธิภาพจึงจะเอื้อให้ทำการเกษตรผมผสานได้สำเร็จ 4) มีแรงงานในครัวเรือนหรือสามารถจัดการแรงงานได้เหมาะสมกับรูปแบบการผลิตแต่ละประเภท 5) การเพิ่มมูลค่าในผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ในแปลงเกษตร ให้เกิดรายได้ รวมถึงความสามารถในการจัดการตลาดทั้งรูปแบบ หน้าฟาร์มหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงาน ตลาดออนไลน์ ตลาดท้องถิ่น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร

ผลลัพธ์ที่ 1 คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีความ สามารถในการขับเคลื่อนงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 คณะทำงานศูนย์เครือข่ายมีศักยภาพในการขับเคลื่อนงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 มีฐานข้อมูลสารสนเทศและหลักสูตรแผนงานถ่ายทอดองค์ความรู้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 เกิดการรับรู้ความรู้ของศูนย์เครือข่ายต้นแบบต่อสังคม ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดกลไกความร่วมมือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 มีชุดความรู้และแหล่งเรียนรู้ต้นแบบจำนวน 10 แปลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 มีเครือข่ายสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 ราย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 เกิดความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอย่างน้อย 2 ครั้ง

1.00
2 2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน

ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการเกษตร ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 มีศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยี ชีวภาพโซนพื้นที่หรืออำเภออย่างน้อย 3 ศูนย์ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 มีสินค้าและบริการด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัยอย่างน้อย 5 รายการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 มีผู้ประกอบการชุมชนอย่างน้อย 20 ราย ผลลัพธ์ที่ 4 เกิดการเพิ่มพื้นที่การผลิตและรายได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1 มีพื้นที่การผลิตผักผลไม้ในแปลงเพิ่มขึ้น 10% ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2 มีรายได้ครัวเรือนองค์กรเกษตรกรเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.3 มีการรายงานผลลัพธ์เพื่อพัฒนาโครงการมีโมเดลต้นแบบและผลงานวิจัย

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่..เกษตรกรชาวสวนยางทั่วไปในพ 100 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่....กลุ่มเกษตรกรเครือข่าย 60 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร จำนวน 6 ครั้ง)(1 มิ.ย. 2022-30 มี.ค. 2023) 14,600.00                        
2 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร เกิดกลไกความร่วมมือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ (กิจกรรมที่ 2 สร้างและประสานความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเข้าถึงทรัพยากรความรู้งบประมาณ)(1 มิ.ย. 2022-30 มิ.ย. 2022) 500.00                        
3 ส่วนที่สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2022-31 มี.ค. 2023) 9,160.00                        
4 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 3 จัดทำฐานข้อมูล พัฒนาองค์ความรู้เครือข่าย ทำแผนการดำเนินงาน สื่อสารประชาสัมพันธ์)(19 มิ.ย. 2022-19 มิ.ย. 2022) 5,288.00                        
5 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 4 พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย จำนวน 3 ครั้ง)(1 ส.ค. 2022-31 ธ.ค. 2022) 14,278.00                        
6 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน(กิจกรรมที่ 5 จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์)(1 ส.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 14,674.00                        
7 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน (กิจกรรมที่ 8 การติดตามและประเมินผลลัพธ์พื้นที่ผลิตและรายได้ ทำ ARE ในพื้นที่)(1 ส.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 0.00                        
8 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในสวนยางพารา (กิจกรรมที่ 6 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไปทั้งออนไซด์และออนไลน์ จำนวน 3 ครั้ง)(1 ธ.ค. 2022-31 มี.ค. 2023) 24,500.00                        
9 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน (กิจกรรมที่ 7 ยกระดับผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของเกษตรกรจำนวน 20 ราย))(1 ก.พ. 2023-31 มี.ค. 2023) 18,000.00                        
รวม 101,000.00
1 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร จำนวน 6 ครั้ง) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 92 14,600.00 6 14,100.00
12 มิ.ย. 65 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่ 1) 15 2,350.00 2,350.00
16 ส.ค. 65 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่2) 15 2,350.00 2,350.00
17 ส.ค. 65 หักเงินสำรองเปิดบัญชี 0 500.00 -
12 ต.ค. 65 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่3) 17 2,350.00 2,350.00
10 พ.ย. 65 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1(ครั้งที่ 4) 15 2,350.00 2,350.00
12 ธ.ค. 65 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่1 (ครั้งที่ 5) 15 2,350.00 2,350.00
25 มี.ค. 66 จัดตั้งและพัฒนาคณะทำงานศูนย์เครือข่ายสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร กิจกรรมที่ 1 (ครั้งที่ 6) 15 2,350.00 2,350.00
2 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร เกิดกลไกความร่วมมือภาคีเครือข่ายในพื้นที่ (กิจกรรมที่ 2 สร้างและประสานความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเข้าถึงทรัพยากรความรู้งบประมาณ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 500.00 2 500.00
18 มิ.ย. 65 สร้างและประสานความร่วมมือภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเข้าถึงทรัพยากร ความรู้งบประมาณ กิจกรรมที่ 2 15 0.00 0.00
30 มี.ค. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
3 ส่วนที่สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 9 9,160.00 8 9,160.00
4 - 5 มิ.ย. 65 การประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศโครงการย่อย 5 1,840.00 1,840.00
19 มิ.ย. 65 ทำป้ายไวนิลสื่อประชาสัมพันธ์ 0 1,000.00 1,000.00
30 ก.ค. 65 อบรมการบันทึกข้อมูลโครงการแบบออนไลน์ 1 768.00 768.00
2 ส.ค. 65 ค่าเดินทางไปส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่ตำบลหงษ์เจริญอำเภอท่าแซะ 0 888.00 888.00
9 ก.ย. 65 ค่าเดินทางไปส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่การยางแห่งประเทศไทยสาขาเมืองชุมพร 0 952.00 952.00
31 ต.ค. 65 การติดตามและประเมินผลลัพธ์ Node Flagship Chomphon# 2 3 768.00 768.00
1 พ.ย. 65 ค่าเดินทางไปส่งหนังสือเชิญวิทยากรที่สำนักงานเกษตรอำเภอท่าแซะ 0 944.00 944.00
28 เม.ย. 66 ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลและทำเอกสารการเงินโครงการ 0 2,000.00 2,000.00
4 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 3 จัดทำฐานข้อมูล พัฒนาองค์ความรู้เครือข่าย ทำแผนการดำเนินงาน สื่อสารประชาสัมพันธ์) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 17 5,288.00 1 5,288.00
19 มิ.ย. 65 จัดทำฐานข้อมูล พัฒนาองค์ความรู้เครือข่าย ทำแผนการดำเนินงาน สื่อสารประชาสัมพันธ์ กิจกรรมที่ 3 17 5,288.00 5,288.00
5 วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อเพิ่มศักยภาพองค์กรเกษตรให้มีความสามารถบริหารจัดการองค์กร (กิจกรรมที่ 4 พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย จำนวน 3 ครั้ง) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 51 14,278.00 3 14,278.00
8 ก.ค. 65 พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย กิจกรรมที่ 4 (ครั้งที่ 1) 17 4,750.00 4,750.00
8 ส.ค. 65 พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย กิจกรรมที่ 4 (ครั้งที่ 2) 19 4,778.00 4,778.00
7 ก.ย. 65 พัฒนาแปลงต้นแบบเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ เพื่อขยายผลองค์ความรู้ของเครือข่าย กิจกรรมที่ 4 (ครั้งที่ 3) 15 4,750.00 4,750.00
6 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน(กิจกรรมที่ 5 จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 14,674.00 3 14,674.00
20 ส.ค. 65 จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ 5 ครั้งที่ 1 15 4,918.00 4,918.00
23 ก.ย. 65 จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ 5 ครั้งที่ 2 15 4,450.00 4,450.00
7 พ.ย. 65 จัดตั้งศูนย์และการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์หลักจำนวน 3 ศูนย์ กิจกรรมที่ 5 ครั้งที่ 3 20 5,306.00 5,306.00
7 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน (กิจกรรมที่ 8 การติดตามและประเมินผลลัพธ์พื้นที่ผลิตและรายได้ ทำ ARE ในพื้นที่) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 0.00 2 0.00
25 ส.ค. 65 การติดตามและประเมินผลลัพธ์พื้นที่ผลิตและรายได้ ทำ ARE ในพื้นที่ 15 0.00 0.00
20 มี.ค. 66 การติดตามและประเมินผลลัพธ์พื้นที่ผลิตและรายได้ ทำ ARE ในพื้นที่ 0 0.00 0.00
8 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในสวนยางพารา (กิจกรรมที่ 6 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไปทั้งออนไซด์และออนไลน์ จำนวน 3 ครั้ง) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 24,500.00 3 24,500.00
19 มี.ค. 66 จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไป จำนวน3ครั้ง กิจกรรมที่6 (ครั้งที่ 1) 20 8,500.00 8,500.00
21 มี.ค. 66 จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไป จำนวน3ครั้ง กิจกรรมที่6 (ครั้งที่ 2) 20 8,000.00 8,000.00
22 มี.ค. 66 จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการให้แก่สมาชิกและเกษตรทั่วไป จำนวน3ครั้ง กิจกรรมที่6 (ครั้งที่ 3) 20 8,000.00 8,000.00
9 วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหารและสินค้าเกษตรปลอดภัยในแปลงสวนยางยั่งยืน (กิจกรรมที่ 7 ยกระดับผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของเกษตรกรจำนวน 20 ราย)) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 18,000.00 2 18,000.00
23 มี.ค. 66 ยกระดับผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของเกษตรกร กิจกรรมที่ 7(ครั้งที่ 1) 20 9,000.00 9,000.00
24 มี.ค. 66 ยกระดับผู้ประกอบการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการของเกษตรกร กิจกรรมที่ 7(ครั้งที่ 2) 20 9,000.00 9,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2022 12:02 น.