directions_run

ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข ”

หมู่ที่ 9 บ้านนาเกาะไทร อ. เหนือคลอง จ. กระบี่

หัวหน้าโครงการ
นายสุรศักดิ์ เถาว์กลอย

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข

ที่อยู่ หมู่ที่ 9 บ้านนาเกาะไทร อ. เหนือคลอง จ. กระบี่ จังหวัด กระบี่

รหัสโครงการ 56-02531 เลขที่ข้อตกลง 56-00-1077

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2013 ถึง 30 กันยายน 2014


กิตติกรรมประกาศ

"ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข จังหวัดกระบี่" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 9 บ้านนาเกาะไทร อ. เหนือคลอง จ. กระบี่

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข



บทคัดย่อ

โครงการ " ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 9 บ้านนาเกาะไทร อ. เหนือคลอง จ. กระบี่ รหัสโครงการ 56-02531 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กันยายน 2013 - 30 กันยายน 2014 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 181,160.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 130 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อศึกษาเรียนรู้ตามหลักศาสนาอิสลาม/เด็กเยาวชน ประชาชน แกนนำในชุมชน
  2. เยาวชนมีพื้นที่สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน
  3. สร้างแกนนำเด็กและเยาวชน
  4. เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมกรรมการการจัดทำโครงการเยาวชนสร้างสุข ครั้งที่ 1

    วันที่ 10 กันยายน 2013 เวลา 08.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้รวมแกนหนำฝ่ายต่างๆของชุมชนมาแบ่งหน้าที่เพื่อดำเนินงานโครงการ และทำความเข้าใจเนื้อหาของโครงการให้เข้าใจเหมือนกันใครมีข้อส่งสัยสิ่งใดให้สอบถามให้เข้าใจ สรุป มีกรรมการเกิดสาขึ้น 9 คนในการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีคณะกรรมการเข้าประชุมตามเป้าหมายที่เชิญเข้าร่วมประประชุม ซึ่งมีคณะกรรมการเข้ามาดำเินินกิจกรรมทั้งหมด 9 คน ซึ่งเดิมตั้งไว้ที่ 7 คน

     

    7 9

    2. ประชุมกรรมการจัดทำโครงการเยาวชนสร้างสุข ครั้งที่ 2 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ รวบรวมข้อมูลประกอบหลักสูตร

    วันที่ 15 กันยายน 2013 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หลายท่านที่คณะกรรมการได้เชิญเข้ามาร่วมประชุมเพื่อแสงดความคิดเห็นและ พูดถึงข้อมูลในเชิงลึกเช่น ประวัติศาสน์หมู่บ้าน ความเป็นมาการตั้งชุมชนและการศึกษาศาสนาในอดีตแตกต่างกับปัจจุบันอย่างไรเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับหลักสูตรที่เราจะมาจัดทำในโครงการครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หลังจากได้คณะกรรมดำเนินงานโครงการแล้ว จึงมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและแต่งตั้งมอบหมายงานให้เป็นฝ่ายต่าง ๆเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการประกอบเป็นหลักสูตร วิถีชุมชนตามแบบอิสลาม ต่อไป กรรมการแต่ละคนเลือกแต่งตั้งหน้าที่ตามความสามารถเฉพาะตัว เช่น แต่งตั้งนาย ชาตรี ไกรบุตร เป็นเจ้าหน้าที่รวบรวมข้อมูลเพื่อมาเป็นหลักสูตรแกนกลางของโครงการสร้างการเรียนการสอนและการอบรมทางด้านวิชาการศึกษาและวิถีชุมชนท้องถิ่น

     

    21 26

    3. ติดตั้งป้ายเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 16 กันยายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดตั้งป้าย โดยยึดติดกับตัวอาคารศูนย์อบรม และ อาคารมัสยิดบ้านนาเกาะไทรอย่างถาวร โดยมีผู้นำศาสนา ครู และนักเรียน ร่วมกันช่วยในการติดตั้ง เพื่อเป็นที่รับทราบโดยทั่วกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นผลงานจากการดำเนินโครงการเยาวชนคนสร้างสุข  ที่สามารถ ประกาศพื้นที่เขตปลอดบุหรี่ ในพื้นที่สาธารณะได้สำเร็จและชาวบ้านเห็นด้วย และยังจัดให้มัสยิดซึ่งเป็นศาสนสถานทางศาสนาอิสลาม ได้จัดเป็นเขตปลอดบุหรี่นำรองแห่งแรกของอำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่  เพื่อจะได้เผยแพร่กิจแบบนี้ต่อไปกับพื้ันที่อื่นนำไปปรับใช้ให้คลอบคลุมทุกแห่งที่เป็นศาสนสถานทางศาสนา..

     

    2 5

    4. ตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรพร้อมจัดทำพิธีเปิดตัวโครงการเยาวชนคนสร้างสุข

    วันที่ 7 ตุลาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดเวทีชี้แจงโครงการและร่วมประชุมวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชน และให้เจ้าที่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการจัดทำหลักสูตร
    โดยให้เก็บข้อมูลจากภาพถ่ายหรือคำบอกเล่า ประสบการณ์ของชาวบ้าน วิถีชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่ดำเนินโครงการหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับชุมชนที่ทำกิจกรรมกับชุมชนเรื่อยมา และให้เอาข้อมูลเหล่านั้น จัดทำเป็นโครงสร้างในการประกอบหลักสูตร และให้ในการสอนเรียนของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ดำเนินการ พร้อมกับการจัดอบรมเป็นช่วงเวลา เช่นการ อบรมระยะสั้นหรือบางโอกาสตามเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนที่เก็บรวบรวมมาได้ และให้เจ้าที่หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการจัดทำหลักสูตร
    โดยให้เก็บข้อมูลจากภาพถ่ายหรือคำบอกเล่า ประสบการณ์ของชาวบ้าน วิถีชีวิตประจำวันของคนในพื้นที่ดำเนินโครงการหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงกับชุมชนที่ทำกิจกรรมกับชุมชนเรื่อยมา และให้เอาข้อมูลเหล่านั้น จัดทำเป็นโครงสร้างในการประกอบหลักสูตร และให้ในการสอนเรียนของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ดำเนินการ พร้อมกับการจัดอบรมเป็นช่วงเวลา เช่นการ อบรมระยะสั้นหรือบางโอกาสตามเหมาะสม โดยมีหัวหน้าทีมในการจัดเก็บข้อมูลแต่ละด้านมารวมกัน

     

    22 90

    5. เดินทางเข้าประชุมร่วมในการจัดทำหลักสูตรวิถีชุมชน

    วันที่ 30 ตุลาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ และข้อมูลในการจัดทำหลักสูตรวิถีชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีข้อมูลชุมชนที่คล้ายคลึงกัน สามารถกำหนดแนวทางในการจัดทำหลักสูตรเพื่อมาพัฒนากิจกรรมของโครงการให้ดียิ่งขึ้น

     

    3 4

    6. แต่งตั้งอาสาเก็บข้อมูลผู้มีภมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน วิทยกร

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มจากชาวบ้านที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือ ความรู้จากคำบอกเล่าประสบการณ์ในอดีตลงบั้นทึก หรือถ่ายภาพมาเพื่อประอบข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เก็บภาพ และ ข้อมูลไ้ด้ตามแบบฟร์อมที่ต้องการ จนกระทั่งค้นพบภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่นโดยบังเิอิญ จากการเดินสำรวจข้อมูลของเยาวชน คือ การทำหนาง อาหารที่สามารถเก็บไว้ได้นานอาหารท้องถิ่นประจำภาคใต้ และ การสร้างฝายทดน้ำที่เรียกว่า เล่ ซึ่งเป็นเครื่องมือจับปลา ทั้งที่จริงแล้วคือฝ่ายชลอน้ำบรรเทาภัยแล้ง

     

    2 2

    7. ปฐมนิเทศโครงการ ติดตามความก้าวหน้า

    วันที่ 22 ธันวาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมพัฒนาและรายการกิจกรรมหลังจากได้รับอนุมัติโครงการงวดงานแรก จากทีมงานติดตามประเมิน สจรส. มอ. หาดใหญ่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเข้าร่วมประชุมและได้นำเอกสารการาจัดทำกิจกรรมไปตรวจสอบ มีข้อมบกพร่องในการลงรายละเอียดในเอกสาร และไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานเบิกเงินได้ ทางทีมงาน สจรส. มอ. ได้แนะนำให้ไปเก็บเอกสารใหม่ที่สามารถนำมาเบิกเงินกับโครงการได้ สิ่งที่ได้รับแนะำนำสามารถนำกลับไปพัฒนาโครงการให้สมบูรณ์ต่อไปได้ การจัดทำบัญชียังไม่สมบูรณ์เนื่องจากไม่เข้าใจการทำงบการเงินที่ถูกต้อง

     

    2 1

    8. ประชุมกรรมการศูนย์อบบรมคุณธรรมจริยธรรม ทำแผนปฏิบัติงาน

    วันที่ 28 ธันวาคม 2013 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดวันเวลาการเปิดอบรมที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบกับการเรียนภาคปกติของเยาวชน, วัตถุประสงค์ของการจัดการอบรม ,การเปิดโอกาสให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สนใจ, จัดหาวิทยากรที่มีความรู้ให้การอบรมกับกลุ่มเป้าหมาย สถานที่มัสยิดบ้านนาเกาะไทร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กำหนดวันเวลาการเปิดอบรมที่เหมาะสม โดยให้คณะกรรมการศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมดูช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ไม่มีผลกระทบการเรียนของกลุ่มเป้าหมาย โดยเนื้อหาที่ด้านภาษาที่เปิดอบรมนั้นต้องเพิ่มพูนความรู้และทำให้เด็กเยาวชนผุ้เข้ารับการอบรมกล้าแสดงออก หลังจากการเข้ารับอบรมแล้วให้มีการจัดเวทีแสดงออกความสามารถ และทำการประเมินผลของการจัดกิจกรรมนั้นๆ  จัดให้ทำแผนอบรม และคู่มือการอบรม ณ มัสยิดบ้านนาเกาะไทร

     

    15 18

    9. อบรมภาษาอาหรับและภาษามายูเบื้องต้น แก่เด็กและเยาวชน

    วันที่ 1 มกราคม 2014 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจ 30 คน จัดหาวิทยกรที่มีความรู้ด้านภาษาอาหรับ และภาษามาละยู เพื่อทำการอบรมด้านการ เขียน อ่าน พูด และทำแบบทดสอบเบื้องต้น ระยเวลาในการเข้ารับการอบรมจำนวน 5 วัน วันละ 4 ชั่วโมง รวมเป็น  20 ชั่วโมงเท่ากับ 2 คอร์ดการเรียนระยะสั้น ให้วิทยากรหรือเจ้าหน้าที่เตรียมเอกสารในการบรมเองเพื่อจะได้ตรงตามความสามารถของผู้ที่เป็นวิทยากรหรือครูผู้ให้ความรู้ มีคู่มือในการอบรมแก่ผู้เข้ารับการอบรมภาษาอาหรับมาละยูเบื้องต้นในครั้งนี้ เด็กๆ ชอบภาษามาลายู เพราะเป็นภาษาที่เด็กๆให้ความสนใจ เพราะมีเยาวชนย้ายมาจาก 3 จังหวัดชายแดน มาอยู่ในชุมชนด้วย เลยทำให้อยากพูด ภาษามาลายูได้ ใช้สถานที่ ศูนย์อบรมคุณธรรมประจำหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การที่ได้รับการอบรมด้านภาษาเบื้องต้น สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเสริมในบทเรียนหรือชั่วโมงเรียนประจำของเยาวชน หรือถ้าเป็นผู้สนใจสามารถ อ่าน พูด และเขียนภาษาดังกล่าวได้เบื้องต้น ภาษา มาละยู เป็นที่สนใจของเด็ก ๆ เพราะอยากพูดภาษามาลายู ภาษามายูยังเป็นภาษาถิ่นเดิม ของคนแถบทะเลอันดามันด้วยเป็นข้อมูลชุมชนที่ได้จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้
    1. ภาษามาลายู หรือยาวี เป็น ชื่อเรียกของ เกาะกลางทะเลอันดามันเกือบทั้งหมด เช่น เหลาปิและ คือหมู่เกาะห้องกระบี่ เหลาลาดิง เกาะสะหยา อ่าวโละซามะ เกาะพีพี เกาะปอดะ เกาะสิมิลัน

     

    30 30

    10. จัดเวทีแสดงออก ทดสอบความรู้ความสามารถ

    วันที่ 12 มกราคม 2014 เวลา 08:00 - 15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งของโครงการเยาวชนคนสร้างสุข 1. ประชุมคณะกรรมการ 2 ฝ่าย คือฝ่ายการศึกษาและคณะกรรมการโครงการ
    2. แนวทางกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นบนเวทีแสดงออก 3. ความพร้อมของเจ้าหน้าที่เตรียมการ 4. ประสานงานภาคีเครือข่าย เข้าร่วมกิจกรรม  อบต. ผู้ใหญ่บ้าน  ผู้นำศาสนา ครูสอนศาสนา สื่อวิทยุชุมชน 5. ประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่จัดขึ้น จำนวน 100 ชุดประเมิน ณ ศูนย์อบรมคุณธรรมประจำหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมคณะกรรมการโครงการเยาวชนคนสร้างสุขร่วมกับคณะกรรมการการศึกษาภาคฟัรดูอีน ได้จัดเวทีแสดงออกความสามารถขึ้นในวันที่ 12 มกราคม 2557 ขึ้นใช้เวลา 1 วันในการจัดกิจกรรมาตั้งแต่เช้า ผู้ปกครองและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมมากมายมีการแลกของขวัญ กิจกรรมถามตอบปัญหา การแสดงละคร ภาคีเครือข่ายร่งมแจกทุนการศึกษา กิจกรรมแสดงให้เห็นถึงความยินดีของชุมชนที่สามารถมีเวทีแสดงออกให้กับเยาวชนในครั้งนี้ เป็นการกระตุ้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการศึกษาโดยใช้ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมเป็นสถานที่จัดกิจกรรม และทุนสนับสนุนกิจกรรมจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ให้เป็นที่รู้จัก กิจกรรมเป็นไปอย่างสนุกสนานทั้ง วิชาการ และการแสดงออกความสามารถ ชาวบ้านได้สนับสนุนของรางวัลต่อกิจกรรมที่ชนะการแข่งขันและร่วมรับประทานอาหารร่วมกันระหว่างผู้ปกครองเด็กและเยาวชน แกนนำกลุ่มอาสา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา สรุป สิ่งที่เกิดขึ้น 1. การประสานงานระหว่างคณะกรรมการชุมชนกับคณะกรรมการโครงการเยาวชนคนสร้างสุขเกิดขึ้นโดยความร่วมมือที่ดี 2. ผู้ปกครอง เด็ก เยาวชน ผู้นำศาสนา ภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วนเข้าร่วม กิจกรรม 3. เวทีได้เปิดให้เยาวชน คนที่มีความสามารถได้แสดงออกอย่างเต็มที่และสร้างสรรค์ 4. การกระจ่ายข่าวกิจกรรมโดยกลุ่มสื่อสารชุมชน วิทยุชุมชน ได้นำรูปแบบการจัดกิจกรรมไปเป็นแบบอย่าง และสนใจในโครงการของ สสส. 5. ผลประเมิน 100 คะแนน ต้องการให้มีกิจกกรรม แบบนี้เกิดขึ้นทุกปี 6. ภาพถ่ายกิจกรรมได้เผยแพร่ บนสื่ออินเตอร์เน็ตออนไลน์ ต่าง ๆ ทั้ง เฟสบุ๊ค ไลน์ และสื่อวิทยุชุมชน 7. วิดีโอ ประมวลภาพกิจกรรมแสดงออก บางส่วนที่เกิดขึ้นบนเวที

     

    100 200

    11. ประชุมชี้แจงหลักสูตรให้ชุมชนรับทราบ

    วันที่ 22 มกราคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ก่อนการชี้แจงหลักสูตรคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาหลายท่านได้เข้าร่วมวิเคราะห์เนื้อหาความถูกต้องของหลักสูตรเพื่้อความเรียบร้อย  ช่วงบ่ายของการประชุมเป็นการชี้แจงเนื้อหาของหลักสูตรและจะใช้หลักสูตรนี้กับดรงเรียนสอนฟัรดูอีน มุสลิมชุมชนสัมพันธ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกภาคส่วนที่ได้เข้าร่วมรับฟังการประชุมในครั้งนี้เห็น ว่าหลักสูตรนี้สามารถนำมาใช้กับภาคส่วนของการศึกษาในชุมชนได้เด็กๆเยาวชนจะได้มีความรู้ที่หลากหลายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเนื้อหาของวิถีชีวิตคนมุสลิมที่อยู่ในพื้นที่ให้ได้รู้ถึงความเป็นมมาของชุมชน

     

    70 70

    12. ประชุมคณะกรรมการออกแบบประเมิน ผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ ครั้งที่ 1

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกแบบ การประเมินกิจกรรม จัดทำแบบฟอร์มการประเมิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการได้ร่วมกันออกแบบเนื้อหาในแบบฟอร์ม และจัดพิมพ์เป็นต้นแบบของการประเมินกิจกรรมเพื่อถ่ายเป็นเอกสารแจกจ่ายให้ชาวบ้านตอบแบบประเมิน

     

    7 9

    13. รายงานความก้าวหน้าโครงการ กับ สสส. ที่ รพ.คลองท่อม

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ร่วมประชุมและรายงานผลความก้าวหน้ากิจกรรมของโครงการเยาวชนคนสร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ร่วมประชุมและรายงานผลความก้าวหน้ากิจกรรมของโครงการเยาวชนคนสร้างสุข โดยการแสดงเอกสารเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

     

    3 2

    14. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน 7 คน ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 เมษายน 2014 เวลา 10-14.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปรึกษาหารือการปิดงวดงานที่ 1 และดูแผนงานกิจกรรมของงวดงานที่ 2 เพื่อทำกิจกรรมทั้งของโครงการเองและโครงการของมัสยิดทีทำอยู่เดิมแล้ว และให้นำเงินของกองทุนมาใช้ทำกิจกรรมก่อนเมื่อเบิกงวดงานใหม่ค่อยใช้กลับคืนเข้ากองทุนเหมือนเดิม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมเนื้อหา กิจกรรมที่มีในงวดงานที่ 2 ต้องมีวิทยากร สอนภาษาอังกฤษได้ มาทำการอบรม หลังจากอบรมแล้วให้ทำกิจกรรมต่อเนื่องเลย คือ พาไปทดสอบความรู้ความสารมารถที่ได้รับการอบรมมาและจำได้แกนนำเยาวชน ในการที่จะมาดำเนินกิจกรรมชมรมภาษา และมัคคุเทศชุมชนหรือ วิทยากรน้อยประจำชุมชน เช่น นักพูด มัคคุเทศน์  และ ดีเจในสถานีวิทยุชุมชน หรือของรัฐต่อไป

     

    7 9

    15. จัดอบรมภาษาต่างประเทศภาษาอังกฤษ

    วันที่ 24 เมษายน 2014 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวเบื้องต้น ใช้เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งเด็กและเยาวชนสามารถใช้เวลาว่างเข้าร่วมกิจกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง  โดยการเปิดรับสมัคร เด็กและเยาวชน กับผุูที่สนใจด้านการใช้ภาษาอังกฤษ โดยสมัครใจเข้ารับการอบรมกับโครงการเยาวชนคนสร้างสุข โดยทางโครงการได้รับเอื้อเฟื้อช่วยเหลือจากอาจารย์ที่มีความรู้ด้านการใช้ภาษาอังกฤษและยังมีประสบการณ์จากการทำงานด้านการท่องเที่ยวมาเป็น วิทยากร ให้ความรู้ ด้านการ พูด  เขียน  อ่าน  และทดสอบวัดผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

                  เด็กและเยาวชนมีความสนใจเป็นอย่างยิ่งกับการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เบื้องต้น  เกิดกิจกรรมแบ่งกลุ่ม มีแกนนำและแนวทางในการก่อตั้งชมรมภาษาต่างประเทศ ความรู้่ที่ได้รับจากการอบรมโดยวิทยากร ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ เด็กมีความชอบอยากเรียน  อยากพูด ภาษาอังกฤษ ตรงกันข้ามกับทางโรงเรียนประจำ ที่มีแต่เนื้อหาวิชาการไม่มีการปฏิบัติจริง ทดสอบการใช้ภาษาอย่างจริงจังกับชาวต่างชาติ
                เด็กๆ กล้าแสดงออก กล้าพูดตอบโต้กับยวิทยากร บรรยาย และได้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดตนเองได้ดียิ่งขึ้น เยาวชนได้เอาความรู้จากการอบรมไปต่อยอดการเรียนรู้ด้านภาษาอังกฤษเพิ่มเติมอย่างมีพื้นฐานที่ดีและเข้าใจการใช้ภาษาอังกฤษกับชีวิตประจำวันและพื้นที่จังหวัดของตัวเองดียิ่งขึ้น กิจกรรม สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่อาคาร ศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม ประจำหมู่บ้าน ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้มีการ ใช้อาคารแห่งนี้ทำกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลายต่อไปจากการอบรม เกิดแกนนำกลุ่มภาษาอังกฤษขึ้นมา  6  คน  และมีวิทยากรอาสาด้านภาษาอังกฤษประจำศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรม  1  คน

     

    30 40

    16. ทดสอบความรู้ ความสามารถหลังจากเสร็จสิ้นการอบรม นอกสถานที นอกพื้นทีดำเนินการ

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2014 เวลา 08:00 - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุม วางกำหนดการ ติดต่อรถตู้ จัดเตรียมอาหาร เที่ยง นัดรวมตัว 7 โมงเช้า  8 โมง ออกเดินทาง มีรถนำขบวน และปิดท้ายขบวนเพ่อความปลอดภัยในการเดินทาง 9.30 น. ถึงสถานที่เป็าหมายทำกิจกรรม ติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยาน รับฟังคำแนะนำในการใช้พื้นที่ทำกิจกรรม และทุกคนก็พร้อมยังจุดรวมพล บริเวณหาดทรายคลองแห้ง หาดนพรัตน์ธารา กระบี่  พิธิเปิดกิจกรรมโดยประธานโครงการเยาวชนคนสร้างสุข รับฟังกำหนดการกิิจกรรมโดย นายร้อโสน  ลูกเหล็ม ผู้รับผิดชอบงานกิจกรรม เริ่มกิจกรรมโดยการทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์โดยการเก็บขยะ ทำความสะอาดบริเวณหาดทราย โดยมีนักท่องเที่ยวได้เข้าร่วมทำกิจกรรมเก็บขยะกับเยาวชนของโครงการด้วย  เสร็จภาระกิจเก็บขยะ พักดื่มน้ำทานของว่าง แล้วแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมทดสอบความรู้ด้านภาษา แบ่งเป็น  6  กลุ่ม มีแกนนำของแต่ละกลุ่มนำไปพบปะทักทายนักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างชาติโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการพูดคุย จากการสังเกตุการของทีมพี่เลี้ยงและวิทยากร  เยาวชนมีความกล้าแสดงออกในการสัมภาษณ์พูดคุยกับชาวต่างชาติ เรียกเสียงหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน จบกิจกรรมบริวเณหาดนพรัตน์ธารา 11.30  เดินทางไปบ้านแหลมโพธิ์ สุสานหอย 75 ล้านปี  พักรับประทานอาหารเที่ยงที่มัสยิดบ้านแหลมโพธิ์ และทำการละหลาด ตอนบ่ายพร้อมกันที่มัสยิดบ้านแหลมโพธิ์  13.30 น. เข้าสู่พื้นที่ สุสานหอย  75  ล้านปี ทำกิจกรรสาธารณะประโยชน์พร้อมกันกับเจ้าหน้าที่อุทยาน จากนั้นวิทยากรได้เรียกเข้ารับฟังความเป้นมาของสถานที่แห่งนี้ เด็กๆ ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สถานที่ท่องเที่ยว จกนนั้นเป็นการ สำรวจพื้นที่ และทักทายพูดคุยกับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในสถานที่สุสานหอย 75 ล้านปี  14.30 น. เดินทางเข้าสู่ ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นสถานที่ อนุบาลและเพาะเลี้ยง ปลา กาตูนย์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ ยังมีบ่อเลี้ยง ม้าน้ำ ปลาโนรี กุ้งมังกร ซึ่งในสถานที่นี้ได้ปิดป้ายชื่อของปลาแต่ละชนิดเป็นภาษาไทยและอังกฤษ กำกับไว้ ซึ่งนักเรียนได้รับความรู้ด้านภาษาและได้ศึกษาระบบนิเวศชายฝั่งจากเจ้าหน้ที่  และได้รับชมการให้อาหารปลาหมอทะเล หรือที่เด็กๆเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "  ฟิช  ดอกเตอร์  ซี "  จากนั้นก็มีเสียงหัวเราะจากชาวต่างชาติ ดังขึ้นหลังจากได้ยิน สร้างความสนุกสนานแก่เด็กๆ และทีมงานเป้นอย่างมาก  15.00 น.  เดินทางกลับโดยมีรถนำขบวน และปิดท้ายเพื่อความปลอดภัย  16.00 น. ถึง มัสยิดบ้านนาเกาะไทร พื้นที่ดำเดินงานโครงการเยาวชนคนสร้างสุข  ก่อนแยกย้ายกลับบ้าน วิทยากรได้ให้ทุกคนสรุปกิจกรรมแล้วนำมาส่งในอาทิตย์หน้า เพื่อทำการประเมินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นำความรู้ที่ได้รับจาการอบรม ไปทดสอบและปฏิบัติในสถานที่จริง  เกิดแกนนำกลุ่มด้านภาษา  10  คน  รู้จักห่วงแหนสถานที่ท่องเที่ยว  สร้างความสามัคคีในกลุ่มเยาวชน เผยแพร่กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนโดย สสส. ประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมาย  20 %  สร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดกระบี่เกิดขึ้นในตัวเยาวชน  ใช่เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียนเกิดประโยชน์ ผู้ปกครองเห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มกับเยาวชน

     

    30 60

    17. ประชุมกรรมการตั้งชมรมภาษาต่างประเทศ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2014 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดแนะรวมตัวกันโดยการกระจายข่าวจากแกนนำเยาวชนในกลุ่ม นัดประชุมกันที่มัสยิดบ้านนาเกาะไทร ฝนตกมาก เด็กๆ มากันด้วยใจรักในการทำกิจกรรมจริง ผู้รับผิดชอบกิจกรรมครั้งนี้ คือ ครูร้อโสน ลูกเหล็ม ซึ่งเป็น วิทยากรด้านภาษา อาหรับประจำมัสยิดอยู่แล้วดำเนินการ ลงทะเบียน  ชี้แจง หลักการและเหตุผลการจัดตั้งเป็นชมรมภาษา และเข้าสู่กระบวนการ คัดเลือก ประธานชมรมภาษา และตำแหน่งต่างๆ จากการโหวต  และต่อด้วยการ ร่างกฎระเบียบชมรม  งานหรือกิจกรรมที่ชมรมต้องทำและงานด่วนที่ต้องจัดการ คือ จัดการพัฒนาให้มีห้องสมุดประจำมัสยิด และจะได้ใช้เป็นสำนักงานชมรมภาษา  โดยใช้ชื่อว่า ชมรมภาษาอาเซี่ยน ซึ่ีงตั้งอยู่หน้าอาคารมัสยิดบ้านนาเกาะไทร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการประชุม ทำให้มี ชมรมภาษาขึ้นมา 1  ชมรม และแกนนำด้านภาษา ร่างระเบียบกฏของชมรมภาษาอาเซี่ยน  1  ฉบับ  กรรมการของชมรม  1  ชุด  แผนงานและแนวทางการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ การแสดงวิสัยทัศในการคัดเลือกประะานชมรมของกลุ่มเยาวชนเอง 

     

    20 25

    18. เดินทางร่วมการประชุมแผน ปี 58 สสส. กทม.

    วันที่ 16 มิถุนายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางเข้าร่วมประชุมแผนปฏิบัติงาน สสส.  ของสำนัก 6  โดยการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการทำงาน และถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานของแต่ละพื้นที่ แบ่งการประชุมเป็น  2 วัน วันประแรกประชุมภาพรวมทั้งหมด และแยกห้องประชุมย่อยเพื่อสรุปเป็นยุทศาสน์การทำงาน วันที่ 2 เสนอแผนยุทศาสน์กับคณะทำงานของ สำนัก 6 เพื่อให้เป็นแผนปฏิบัติงานปี 58

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สารมารถร่วมแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุม และทราบแนวทางการทำงานของ สำนัก 6 ในปี 58

     

    1 1

    19. พัฒนา มัสยิดบ้านนาเกาะไทร

    วันที่ 22 มิถุนายน 2014 เวลา 09:00 - 14.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เนื่องด้วยเป็นเดือนใกล้ๆกับเดือนรอมฎอนตามปีปฏิทินศาสนาอิสลาม ก่อนจะเข้าเดือน ถือศิลอด ชาวบ้านมักจะรวมตัวในทำความสะอาด มัสยิด พัฒนาศาสนศถานที่เป็นส่วนรวม เช่น มัสยิด โรงเรียน สุสานฝังศพ และถนนหนทางต่างๆ เพื่อต้อนรับกับผู้ที่จะมาเยือนในเดือน รอมฎอน แต่ที่แล้วมาไม่เคยนัดให้เด็กและเยาวชนออกมาร่วมกิจกรรมเหมือนครั้งนี้ เด็กๆ เยาวชนได้โอกาสเข้าร่วมกิจกรรม ถือเป็นการทำความดี ได้รับผลบุญตามหลักความเชื่อของศาสนาด้วยเช่นกัน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ใหญ่ สามรถช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดี โดยการ แบ่งเป็นกลุ่ม ตามความเหมาะสม กิจกรรมที่เด็กๆ ทำได้ คือ กวาดขยะ ถูพื้นมัสยิด ขัดกระจก ล้างห้องน้ำ ขนขยะไปทิ้ง จัดโต๊ะเก้าอี้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการทำงานร่วมกับผู้ใหญ่ เด็กจึงแบ่งหน้าที่ออกเป็นกลุ่ม เกิดแกนนำ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่  การทำงานงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด เกิดความสามัคคีในกลุ่มเยาวชน เป็นที่ไว้วางใจของผู้นำชุมชนได้ ฝึกเป็นอาสาสมัครของการทำความดี เพื่อสาธารณะประโยชน์

     

    70 50

    20. พัฒนากลุ่มรักการอ่าน

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปรังปรุง ตกแต่ง เพื่อเป็นห้องสมุดที่มีความสวยงามยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือของกลุ่มเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาช่วยกันทำความสะอาดพื้นที่เพื่อให้ช่างเข้ามาปรับปรุงเป็นห้องสมุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถมีห้องสมุดที่สะดวกสบาย สร้างบรรยากาศเอื้อต่อการอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือในมัสยิด ถือเป็นการทำดี ศาสนาอิสลามบัญญัติไว้ว่า จงศึกษาตั้งบแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ มีกลุ่มอาสารักการอ่านเพิ่มขึ้น และเป็นกิจกรรมที่ต่อยอดเป็นเครือข่ายคนรักการอ่านได้โดยจะเข้าร่วกิจกรรมกับกลุ่มหนังสือหมุนเวียน ของมัสยิดทุกมัสยิดในอำเภอเหนือคลอง และทำห้องสมุดแห่งนี้เป็นแหล่งค้นคว้าความรู้ที่หลากหลายโดยจะทำเป็นห้องสมุดออนไลน์ พร้อมพัฒนาสู่การเป็นมัสยิดอาเซี่ยน

     

    70 25

    21. รณรงค์การกำจัดลูกน้ำยุงลาย

    วันที่ 17 สิงหาคม 2014 เวลา 08.00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดประชุมเยาวชนคัดเลือกแกนนำกลุ่ม อสม.น้อย  ส่งหนังสือเชิญ เจ้าหน้าที่จาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการกำจัดลูกน้ำยุงลาย ใช้อาคารหน้ามัสยิดบ้านนาเกาะไทร เป็นสถานที่จัดกิจกรรมให้ความรู้ โดยมีผุู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้มาก จากที่กำหนดไว้ 30 คน เข้าร่วมกิจกรรมแต่กลับมีคนเข้าร่วมกิจกรรมมากถึง  130  คน  ที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมที่จัดขึ้น มีเยาวชนกลุ่มเป้าหมาย พี่เลี้ยง อสม.  เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต. บ้านคลองเสียด แพทย์ประจำ แพทย์หน้าหน่วย อสม. ผอ.รพ.สต. บ้านคลองเสียด แพทย์หัวหน้ากลุ่มแพทย์แผนไทย ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ โดยช่วงเช้าเป็น กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและ ภาหะนำโรค ลูกน้ำยุงลาย การกำจัด การป้องกัน  กิจกรรมที่ 2  ให้ความรุ้เกี่ยวกับการตรวจหาสารปนเปผปื้อนในอาหาร โดยเจ้าหน้าที่ได้ สาทิต การตรวจหาสารปนเปื้อนในอาหารที่เตรียมมาเพื่อสุ่มสตรวจให้เยาวชนได้เห็นและร่วมกันตรวจสารปนเปื้อน กิจกรรมที่ 3 เดินรณรงค์เคาะประตูทุกบ้านในชุมชนเพื่อตรวจหาและกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยให้เยาวชนแบ่งเป้นกลุ่มตามพี่เลี้ยง อสม. ให้ความรู้กับชาวบ้านแจกเอกสารแผ่นพับและให้ทายกำจัดลุกน้ำยุงลายทุกบ้าน พร้อมทั้งจดบันทึก ตามแบบบันทึกกาตรวจลุกน้ำยุงลายทุกบ้าน กิจกรรมที่ 4 ร่วมรณรงค์ติดป้ายป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดลุกน้ำยุงลาย จำนวน  3  แผ่นป้าย  3 จุด กลุ่มเสียงตามหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านร่วมกันตระหนักถึงปัญหาของโรคไข้เลือดออกอันมีสาเหตุมาจากยุงลาย  ใช้โปสเตอร์ติดข้างรถพร้อมแห่ไปทั่วหมู่บ้านเพื่อประชาสัมพันธ์รณรงค์ป้องกันกำจัดลุกน้ำยุงลาย  กิจกรรมที่ 5  กลับมาสรุปกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติจรืงในวันนี้  ในวันนี้ได้ พบปัญอื่นที่มีในชุมชนอีกด้วย เพราะเยาวชนได้เคาะประตูบ้านทุกหลัง บางหลังกำลังตั้งวงกินน้ำกระท่อม 4x100 อยู่ ทำให้แตกตื่นกันทั้งหมูบ้าน และนำสิ่งที่พบเห็นมาทำความเข้าใจแลัแนะนำให้ความรุ้กับเยาวชนให้รุ้ถึงพิษภัยของยาเสพติดอีกรอบ.....วันนี้เกินคาดจริงๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดลูกน้ำยุงลาย ทางโครงการเยาวชนคนสร้างสุขได้สรุปกิจกรรมที่จัดขึ้นพร้อมกันและทำแบบสอบถามความพึงพอใจของกิจกรรมในวันเดียวกัน สิ่งที่ได้รับคือ  1.  กลุ่มแกนนำ  อสม.น้อย    20  คน
                      2.  การทำงานร่วมกับกลุ่มภาคีเครือข่าย
                      3.  ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดลุกน้ำยุงลายให้ปลอดจากโรคไข้เลือดออก                   4.  การเลือกซื้ออาหารปลอดภัย จากสารปนเปื้อนในอาหาร                   5.  แผนปฏิบัติงาน การตรวจ และกำจัดลูกน้ำยุงลาย  12  เดือน                   6. ใบประกาศรับรอง การเป็น  อสม.น้อย จาก รพ.สต. บ้านคลองเสียด                   7.  แบบประเมินความพอใจในการจัดกิจกรรม

     

    50 130

    22. รายงานติดตามการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 20 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้ารายงานกิจกรรมและตรวจสอบบัญชี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปรุบปรุงรายงานการเงิน

     

    1 1

    23. ตั้งกองทุนน้ำชาเพื่อศึกษาคุณธรรม

    วันที่ 21 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หลังจากที่ชาวบ้านและเยาชนในพื้นที่ได้ทำการขายน้ำชาในตอนเช้า โดยการแบ่งหน้าที่ในการขาย ซึ่งให้ศูนย์อบรมเป็นที่สถานที่ขายน้ำชา และฝึกการทำขนม การชงชา  การทอดไก่ การทำข้าวยำ การเก็บผักพื้นบ้านมาเป็นส่วนประกอบของการทำข้าวยำ และการชงชา มีการจัดทำบัญชีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและได้สรุปรวบรวมเงินเพื่อทำการเปิดบัญชี กองทุนน้ำชาเพื่อพัฒนาการศึกษา โดยมีเงินเปิดบัญชีตั้งต้น  8,000  บาท  จำนวน  1 บัญชี  โดยมีคณะกรรมการบริหาร  15 คน  และ มีกรรมการ  3  ท่านในการฝากถอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการทำกิจกรรมขายน้ำชามาอย่างต่อเนื่องในวันอาทิตย์ ของสัปดาห์  ทำให้ชุมชนมี คณะกรรมการ  15 คน  เข้ามาบริหารกองทุน มีเงินฝากแบบ  หุ้นลงทุน  มีเงินปันผลรายปี  จากสหกรณ์ออมทรัพย์ ตัลมียะฮ์ จำกัด  1  บัญชี สร้างงาน  ฝึกอาชีพ แก่เยาวชนให้สามารถทำหรือนำสินค้ามาขายในวันอาทิตย์ เพื่อเป็นรายได้เสริม

     

    15 0

    24. ประชุมคณะกรรมการประเมินโครงการครั้งที่ 2

    วันที่ 30 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกรรมการประเมินโครงการเยาวชนคนสร้างสุข นำกิจกรรมที่ทำไปแล้วมาวิเคราะห์ข้อมูล ทำการประเมินควาพึงพอใจในแต่ล่ะกิจกรรม โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจจากคนที่เข้าร่วมกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ใช้แบบสอบถามในการประเมินกิจกรรม จำนวน  100  ใบ  ประเมินความพึงพอใจเป็นคะแนน พบปัญหาของการทำกิจกรรมแต่ละอย่างไม่เหมือนกัน การทำกิจกรรมล่าช้ากว่าแผนงานที่กำหนดไว้ การใช้จ่ายเงินต้องทำ บัญชีแบบติดลบ เนื่องจากไม่ได้ไปเบิกเงินตามระยะเวลาการจัดกิจกรรม

     

    7 7

    25. อบรมทักษะผู้นำกล่มการพูดอย่างสร้างสรรค์

    วันที่ 6 กันยายน 2014 เวลา 08:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการจริง หลังจากเรียนรู้ทักษะกันแล้วทดสอบนอกห้องปฏิบัติการแล้วทุกคนพร้อม เวลาออกอากาศพร้อม ดีเจ พิธิกร นักจัดรายการ ผู้ควบคุมเสียง และผู้ร่วมรายการพร้อม  การ ออนแอร์  ออกอากาศจากสถานีส่งสัญญาณระบบ FM สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดกระบี่ คลื่น 98.5 Mz ก็ออกอากาศส่งเสียงทั่วไทย ผ่านคลื่นออนไลน์ WWW.Radiokrabi.th
    ในรายการ "คนกระบี่ชวนคิดชวนคุย" ดำเนินรายการโดย หนุ่มเสียงเล็กตัวใหญ่ ทวีชัย ออ่นนวล และผู้เข้าร่วมรายการจากโครงการเยาวชนคนสร้างสุข มีเยาวชนในโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ เลขาโครงการ ได้ร่วมกันพูดคุยเรื่องราวต่าง ๆ กิจกรรมดีๆ ที่ได้ทำมาแล้วโดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนัก 6  และ สจรส.มอ. หาดใหญ่ ตัวแทนเยาวชนได้เข้าร่วมพูดคุยผ่านห้องส่งออกอากาศร่วมพูดคุยได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กๆทุกคน มีความตั้งใจ กระตือรือล้นที่จะพูดในหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ทุกคนทำได้เป็นอย่างดี มีความสุข สนุก สร้างแรงบันดาลใจในการที่เป็นนักพูดหรือนักจัดรายการวิทยุที่ดีต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนสามารถนำประสบการณ์จริงครั้งนี้ไปปฏิบัติใช้กับสถานการณ์ที่จะต้องพูดในที่สาธารณะ มีคนมากๆได้โดยมีขั้นตอนตามที่รับการอบรมมาแล้ว การสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ระหว่าง ผู้ส่งสาร สาร หรือข้อความ และผู้รับสาร ไม่จะเป็น งานกิจกรรมนักเรียน งานบุญ งานแต่งงาน วิทยากรบรรยายเรื่องราวชุมชน ผู้กล่าวรายงานต่อประธานพิธีการต่าง ๆ แนวคิดการต่อยอดกิจกรรม เด็กๆเยาวชนสามารถจัดทำห้องปฏิบัติการเสียงตามสายไว้พุูดคุยเรื่องราวต่างๆของชุมชนให้ชาวบ้านรับทราบโดยทั่วกัน เพราะในชุมชนไม่มีเสียงตามสายที่จะฝึกฝนทักษะการพูดคุยผ่านเสียงตามสายซึ่งจะเป็นกิจกรรมต่อยอดของชมรมภาษาต่างประเทศซึ่งเกิดขึ้นจากการก่อตั้งภายใต้โครงการเยาวชนคนสร้างสุข ซึ่งเป็นกิจกรรมตามแผนต่อยอดของชุมชน

     

    39 39

    26. ศึกษาดูงานจากศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตร นอกสถานที

    วันที่ 7 กันยายน 2014 เวลา 08:00 - 15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เมื่อถึงสถานที่เป้าหมาย อาจารย์มงคล ได้ให้ทุกคนรวมกันที่ศาลารวมพลซึ่ง จัดเป็นสถานที่อบรมภาคทฤษฎีและสาธิต เล่าถึงความเป้นมาของศูนย์การเรียนรู้ในที่นี้ โดยการนำแนวพระราชดำริ การทำเกษตรแบบพอเพียง พึงงพาตนเอง ก่อนพึ่งพาคนอื่น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านเขากลม ของอาจารย์สงวน มงคลศรีพันธ์เลิศ ยังมีกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการไปเยี่ยมชมเพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับปรุงอาชีพการทำเกษตรของตัวเองซึ่งต้องการเพิ่มผลผลิต ลดรายจ่าย และสามารถจำหน่ายเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งได้รับคำแนะนำจากอาจารย์สงวน มงคลศรีพันธ์เลิศ ที่เป็นแนวคิดทำการเกษตรแบบกลับหัวหรือคิดสวนทาง ทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย ทำเกษตรได้โดยไม่ใช้ดิน หรือแม้กระทั่งนำเอาหลักการศาสนาอิสลามมาปรับใช้ในการทำเกษตร คือ การปลูกพืชแบบ ยะมะอ๊ะ หรือการปลูกพืช แบบ สุญูด  คือการปลูกแบบผสมรวมกันและปลูกแบบแนวราบกรากราบก่อนลกขึ้น การแกล้งพืชโดยการปลูกแบบไม่ขุดหลุมพืชต้องเอาตัวรอดให้ได้หลังจากนั้นค่อยมาเติมปุ๋ยให้น้ำ การเลี้ยงปลาในที่สูง ปลูกผักในที่ต่ำ น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาต้องมาเป็นปุ๋ย ต้องมาเป็นน้ำรดต้นผัก เป็ด ไก่ แพะ ทำหน้าที่ผลิตแม่ปุ๋ย ให้กับพืชชนิดต่าง ๆ คือ ขี้หมู ขี้วัว ขี้แพะ ขี้ควายเก็บไว้ใส่พืชกินใบ ส่วน ขี้ไก่ ใส่พืชกินผล อย่างเดียว ปลูกพืชสีเขียวที่กินได้ หากมีเหลือนำไปขายและแบ่งบันส่วนบัญชีจดบันทึกทุกวัน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เหลือเก็บออม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปกิจกรรมศึกษาดูงานและนำกลับมาปรับปรุงแปลงเกษตรเพื่อผลิตอาหารปลอดภัยครั้งนี้ มีคนเข้าร่วมกิจกรรม  46  คน  เกินเป้าหมาย ทุกคนได้ความรู้ได้แนวคิดที่จะนำมาปรับใช้และทำตาม ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคน รับปากที่กลับไปทำที่บ้านตนเองทุกคน ทุกคนต้องการเข้าร่วมกิจกรรมแบบนี้อีกในโอกาสต่อไป หลายคนสามารถเข้าใจ หลักการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางของในหลวง ลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ เหลือเก็บออม และแบ่งปัน เยาชนต้องการเข้าร่วมกลุ่มปฏิติการจริงกับโครงการปรงปรุงแปลงเกษตร อยากทำ อยากปลูก อยากมีผักที่ตนเองเป็นคนปลูก

     

    30 0

    27. ปรับปรุงแปลงเกษตรเยาวชนคนปลูกผัก ให้เป็นแปลงเกษตรปลอดภัย

    วันที่ 20 กันยายน 2014 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมถอดบทเรียนหลังจากไปศึกษาดูงานพื้นที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้าน  อ. สงวน  มงคลศรีพันธ์เลิศ  ปราชน์ชาวบ้านที่ทำเกษตรแบบกลับหัว  ปลูกผักแบบไม่่ต้องขุด ปลูกพืชเอาผลไม่ได้เอาต้น ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เหลือปลูกเหลือกิน ให้แบ่งปันและขาย เป็นรายได้ เริ่มโดยการแบ่งหน้าที่ ดูแลแปลงผัก ไถพรวนหน้าดิน แล้ว ตากแดดให้แห้ง  เก็บสะสมอุปกรณ์ในการนำมาแปรรูปเป็นภาชนะปลูกผัก เช่น กาบมะพร้าว ฝาพัดลม วงล้อยางรถมอไซต์ และยางเก่ารถยนต์ นำมาวางเป็นระเบียบแล้วใส่ดินใส่ขี้แพะหรือขี้วัวเก่า รองพื้น รถน้ำไว้ให้ดินชุ่มแล้วนำต้นกล้าที่พาะไว้มาลง  เตรียมอุปกรณ์ ถัง หัวเชื้อ  EM  กากน้ำตาล  แล้ววิทยากรก็แนะนำการขยายหัวเชื้อ EM  ให้มีจำนวนมากพอที่จะนำไปใช้ในการเป็นปุ๋ยใส่ต้นพืช แลรถนำผักดูแลตัดแต่ง ทางปาล์มและผลใส่ปุ๋ยชีวภาพ จนสามารถตัดผลได้ หลังจากปีแรกตอนปลูก โดนน้ำท่วม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถนำความรู้มาปกิบัติทำได้จริง เยาวชนให้ความร่วมมือ  ทุกคน มีพื้นที่ทำและทดลองการปลูกพืชแบบกลัวหัว    1  แปลง มีกลุ่มเยาวชนร่วมกิจกรรม  30  คน วิทยากร  1  ท่าน
    มีรายได้จากการตัดผลปาล์ม ทุกเดือน

     

    30 36

    28. ประชุมคณะกรรมการดำเดินงานครั้งที่ 3 เสร็จสิ้นโครงการ

    วันที่ 23 กันยายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เนื่องจากเป็นการประชุมคณะกรรมการครั้งสุดท้ายเลยมีคนเข้าร่วมหลายฝ่ายติดตามการทำงานของโครงการเพื่อแสดงความคิดเห็นและรับฟังการสรุปยอดเงินของการทำกิจกรรมต่าง ๆตลอดโครงการ และมีแกนนำเยาวชนให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุมและเสนอแผนของกลุ่มเยาวชนหากมีการเสนอโครงการในปีถัดไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปรายงานกิจกรรมทั้งโครงการ ปรึกษพี่เลี้ยงโครงการปรับปรุงความถูกต้องของหน้าเวป เพื่อรายงาน ตรวจสอบยอดเงินคงเหลือในบัญชี จัดเอกสารรายงานกิจกรรมกับประธานดำเนินงานโครงการก่อนนำไปตรวจสอบกับพี่เลี้ยงอีกครั้ง

     

    7 19

    29. จัดทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 30 กันยายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายงานหน้าเวป ตรวจสอนเอกสารการเงินกับพี่เลี้ยงโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พบข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไขทั้ง ตัวรายงานเอกสารการเงินของพื้นที่หรือของโครงการบางอย่างไม่ถูกต้อง สถานะการเงิน เงินสดในมือและเงินหน้าเวปไม่ตรงกัน ไม่เข้าใจการรายงานหน้าเวป ยอดเงินที่อุดหนุนจาก สสส. ตามสัญญา บางกิจกรรมไม่ตรงกันทำให้ยอดเงินเปรียบเทียบให้ตรงกันไม่ได้ การรายงานหน้าเวปล่าล่ามีผลต่อการปิดงวดงานเพราะระบบจะหยุดการรายงานหลังจากสิ้นงวดงาน ประสานพี่เลี้ยงและ สจรส.มอ.  เพื่อขอรายงานหน้าเวปได้

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อศึกษาเรียนรู้ตามหลักศาสนาอิสลาม/เด็กเยาวชน ประชาชน แกนนำในชุมชน
    ตัวชี้วัด : เกิดคณะกรรมการดำเนินงานโครงการเยาวชนคนสร้างสุข ขึ้นมาทำงานขึ้นมา 1 ชุด ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก ประชาชนในชุมชนและ ภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน และทีมที่ปรึกษาโครงการ

     

    2 เยาวชนมีพื้นที่สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1.มีชมรมภาษาต่างประเทศ 1 ชมรม ,มีคณะกรรมการชมรมภาษาต่างประเทศ 1 คณะ 2.มีกฏ ระเบียบ กติการของชมรม เพื่อบังคับใช้ในการบริหารชมรม และมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับโครงการ 3. มีเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม ไม่น้อยกว่า 25 คน

     

    3 สร้างแกนนำเด็กและเยาวชน
    ตัวชี้วัด : 1.มีผู้เข้าร่วมอบรมเด็ก เยาวชนและคณะกรรมการ เข้าร่วมอบรมไม่น้อยกว่า 30 คน 2. มีคู่มืออบรมทักษะการพูด

     

    4 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งของการเข้าร่วมพัฒนาโครงการร่วมกับสสส.,สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงโครงการ

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาเรียนรู้ตามหลักศาสนาอิสลาม/เด็กเยาวชน ประชาชน แกนนำในชุมชน (2) เยาวชนมีพื้นที่สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชน (3) สร้างแกนนำเด็กและเยาวชน (4) เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข

    รหัสโครงการ 56-02531 รหัสสัญญา 56-00-1077 ระยะเวลาโครงการ 1 กันยายน 2013 - 30 กันยายน 2014

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    เกิดการรวมกันวิเคราะห์ จัดทำหลักสูตรวิถีชีวิตมุสลิม บ้านนาเกาะไทร

    หลักสูตรวิถีชีวิตมุสลิม บ้านนาเกาะไทร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    เกิดการค้นพบนวัตกรรมการดักจับปลาในสมัยโบราณ หรือที่เรียกว่าหนาง

    หนาง และวิธีการใช้

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดรูปแบบการทำงานกับเยาวชนในชุมชน จากการต่อยอดความคิดจากความต้องการของเยาวชน

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดรูปแบบการทำงานกับเยาวชนในชุมชน จากการต่อยอดความคิดจากความต้องการของเยาวชน

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มเยาวชนรักการอ่าน , กลุ่มกองทุนนำ้ชา

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    มีการประกาศเป็นมัสยิดปลอดบุหรี่แห่งแรกของอำเภอเหนือคลอง

    ป้ายประกาศเขตปลอดบุหรี่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    เกิดการเรียนรู้ด้านการป้องกันไข้เลือดออก ,การเพาะปลูกผักบริโภค

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การเพาะปลูกผักปลอดสารพิษ

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    เยาวชนได้ร่วมกันออกแรงพัฒนามัสยิดและบริเวณรอบๆ

    ภาพกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    การสอนให้เยาวชนยึดมันตามคำสอนศาสนา งดอบายมุข

    หลักสูตรวิถีชีวิตมุสลิม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    เกิดการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

    กิจกรรมพัฒนาทักษะด้านภาษา,กลุ่มรักการอ่าน,กองทุนนำ้ชา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    เยาวชนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการประกอบอาช่ีพ เช่นการทำหนางสำหรับใช้ดักจับสัตว์น้ำ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมของเยาวชน ทำให้เกิดบรรยากาศครอบครัวอบอุ่น เห็นความสำคัญของการให้เวลากับครอบครัว

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การรณรงค์ป้องกันลูกนำ้ยุงลายในภาชนะ ในบ้านเรือน

    กิจกรรมรณรงค์ป้องกันไข้เลือดออก

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    การมีส่วนร่วมของผุ้ปกครองในการจัดกิจกรรมเรียนรู้สร้างสรรค์แก่เยาวชน ผุ้ปกครองเข้ามาร่วมในการจัดอาหาร ,จัดหาพาหนะรับส่งเด็กทีเข้าร่วมกิจกรรม

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดการเรียนรู้การทำมาหากินของเยาวชน เกิดกองทุนนำ้ชาในวันศุกร์

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    เกิดการจัดตั้งกองทุนน้ำชา ตามมติของชุมชน โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีโอกาสขายน้ำชาในวันอาทิตย์ เพื่อหารายได้เข้ากองทุนเยาวชนในหมู่บ้าน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เกิดเครือข่ายการทำงานระหว่างชุมชนกับรพ.สต.คลองเสียด /รพ.เหนือคลอง ,ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเขากลม

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีการประชุมพูดคุยเพื่อระดมความคิดเห็นในการจัดการปัญหาในชุมชน

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการระดมเยาวชนในพื้นที่ร่วมกับผู้ปกครองร่วมทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์แก่มัสยิด

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    เกิดกลุ่มเยาวชนรักการอ่าน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    ชุมชนได้รับทราบข้อมูลเยาวชนและการแก้ปัญหา

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    มีการจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาในชุมชน มีคณะทำงาน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความภาคภูมิใจในการมีส่วนร่วมและได้แสดงออกถึงความสามารถด้านทักษะภาษา การพูดสื่อสาร เป็นดีเจ การเพาะปลูกผักปลอดสารพิษและการมีกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    เยาวชนได้เรียนรู้การอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงและการเพาะปลูกตามหลักศาสนาอิสลาม

    ภาพการทำกิจกรรมของกลุ่มเยาวชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    มีการจัดทำกิจกรรมเพื่อเยาวชนในชุมชนโดยคนในชุมชนด้วยกัน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    เยาวชนได้เรียนรู้การเพาะปลูกตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โครงการ เยาวชนคนสร้างสุข จังหวัด กระบี่

    รหัสโครงการ 56-02531

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสุรศักดิ์ เถาว์กลอย )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด