แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 57-01507
สัญญาเลขที่ 57-00-0936

ชื่อโครงการ บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา
รหัสโครงการ 57-01507 สัญญาเลขที่ 57-00-0936
ระยะเวลาตามสัญญา 1 มิถุนายน 2014 - 30 มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 14 ตุลาคม 2014
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 31 ตุลาคม 2014
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางกอบกุล ชุติมันต์ 88/3 หมู่ที่ 3 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 094-5844674
2 นายจารุวัฒน์ ทองแก้ว 58/1 หมู่ที่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 089-6497196
3 นายศิริวัฒน์ ถุงทอง 42/1 หมู่ที่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 089-2320315

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการปัญหาขยะ

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. มีคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยร้อยละ 50 ของครัวเรือนทั้งหมด
  2. ขยะในชุมชนลดลงอย่างน้อย 10%

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. ชุมชนสะอาด มีการจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นระบบ ภูมิทัศน์ในชุมชนสวยงาม ชุมชนน่าอยู่
  2. ชุมชนมีแผนการจัดการขยะ
  3. เกิดองค์กรการจัดการขยะในชุมชน

2.

เพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาในการจัดการปัญหาขยะในชุมชน

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. เกิดการถ่ายทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาในการจัดการขยะสู่เยาวชนและคนใน ชุมชนอย่างน้อย 5 ครั้ง
  2. มีการนำภูมิปัญญามาใช้ในการจัดการปัญหาขยะ อย่างน้อย 5 รูปแบบ
  3. มีจุดเรียนรู้การแปรรูปขยะ และสามารถสร้างรายได้เสริมจากการจัดการขยะในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 1 แห่ง

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. มีการนำภูมิปัญญาด้านการจัดการขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการปัญหาขยะในชุมชน
  2. คนในชุมชนมีการนำภูมิปัญญาด้านการจัดการขยะที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้จริงในครัวเรือน

3.

เพื่อสร้างชุมชนสุขภาวะ ลดเหล้า ลดบุหรี่

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. คนในชุมชนสามารถลด ละ เลิก เหล้า และบุหรี่- อย่างน้อย 20%ของกลุ่มเป้าหมาย
  2. อุบัติเหตุในชุมชนลดลง อย่างน้อย 20 %

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น จากการ ลด ละ เลิก เหล้า และบุหรี่

4.

เพื่อหนุนเสริมและติดตามการดำเนินงานโครงการ

  1. สามารถจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานความก้าวหน้า รายงานการเงินได้อย่างถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน
  2. ทีมงานมีศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  3. มีภาพถ่ายกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ
  4. มีการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่
  5. มีการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.  สจรส.ม.อ. หรือพี่เลี้ยงโครงการทุกครั้ง
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : คณะทำงานซึ่งเป็นกลไกในการทำงาน จัดเวทีสร้างความรู้ในการจัดการขยะในชุมชนi

13,400.00 80 ผลผลิต
  • มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 60 คน ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 80 คน
  • มีภาคีเครือข่ายการทำงานอย่างเทศบาลตำบลนาเดิมเข้าร่วมประชุมด้วย
  • มีวิทยากรจากโรงพยาบาลบ้านนาเดิม 2 ท่าน คือ นายปรีชา ศรีเจริญสุข มาให้ความรู้เกี่ยวกับขยะ ที่มาของขยะ และนายพิจารณ์  คงชาตรี มาให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของขยะ ขยะอันตราย การคัดแยกขยะ

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ผู้เข้าร่วมโครงการทราบปัญหาและอันตรายจากขยะที่ทุกคนช่วยกันสร้างขึ้นในชุมชน
  • มีการเสนอแนะแนวทางการกำจัดขยะโดยคนในชุมชนช่วยกันให้ข้อเสนอ ได้แก่ การคัดแยก การนำขยะกลับมาใช้ และการนำภูมิปัญญามาใช้ในการกำจัดขยะที่มีในชุมชน
  • คนในชุมชนเข้าใจแนวทางการดำเนินงานโครงการ "บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา" ซึ่งได้รับงบประมาณจาก สสส. มาดำเนินงานโครงการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ประชาชนในชุมชนบ้านเหนือ ต.นาใต้ อ.บ้านนาเดิม จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน  60 คน ประกอบด้วย

  • นายกเทศมนตรีบ้านนาเดิม และทีมงานจากเทศบาลบ้านนาเดิม จำนวน 3 คน
  • เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนบ้านนา จำนวน 2 คน
  • คณะทำงานโครงการ จำนวน 5 คน
  • คนในชุมชน จำนวน 50 คน
13,400.00 13,400.00 80 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการชี้แจงโครงการของผู้รับผิดชอบโครงการ นางกอบกุล ชุติมันต์ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการทราบที่มาของงบประมาณโครงการ และแนวทางการดำเนินงานโครงการ "บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา" ว่าได้รับการสนับสนุนโครงการจากทาง สสส. โดยมี สจรส. มอ. เป็นผู้รับผิดชอบ และมีนางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง จาก มอ. สุราษฎร์ธานี เป็นพี่เลี้ยงโครงการ
  • จากการได้รับความรู้จากวิทยากรจากโรงพยาบาลบ้านนาเดิม 2 ท่าน คือ นายปรีชา ศรีเจริญสุข ที่มาให้ความรู้เกี่ยวกับขยะ ที่มาของขยะ และนายพิจารณ์  คงชาตรี มาให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของขยะ ขยะอันตราย การคัดแยกขยะ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการทราบปัญหาและอันตรายจากขยะที่ทุกคนช่วยกันสร้างขึ้นในชุมชน
  • จากการระดมความคิดเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาขยะในชุมชน ทำให้ทราบที่มาของขยะในพื้นที่ ว่ามาจากขยะในครัวเรือนที่เกิดจากการบริโภคของคนในชุมชนเป็นส่วนใหญ่  และขยะอันตรายที่มีในชุมชน เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่แห้ง
  • แนวทางการกำจัดขยะที่คนในชุมชนช่วยกันให้ข้อเสนอ ได้แก่ การคัดแยก การนำขยะกลับมาใช้ และการนำภูมิปัญญามาใช้ในการกำจัดขยะที่มีในชุมชน ซึ่งในการคัดแยกขยะ ได้มีการเสนอแนวทางให้แยกขยะเป็น 4 ประเภท  ได้แก่ ขยะอินทรีย์ ขยะเปียก ขยะแห้ง และขยะอันตราย
        ขยะเปียก ซึ่งเป็นขยะที่เกิดจากการบริโภค เช่น เศษผัก เศษอาหาร ให้คนในชุมชนนำความรู้และนำภูมิปัญญาที่มีในชุมชน นำขยะที่เกิดจากการแยกกลับมาใช้ใหม่ เช่น การทำปุ๋ยน้ำหมัก     ขยะแห้ง นำกลับมารีไซเคิ้ล เป็นของใช้ เช่น นำขวดน้ำพลาสติกทำที่ปลูกต้นไม้     ขยะอันตราย  ต้องใช้กรรมวิธีในการทำลายเป็นพิเศษ เพราะเป็นวัตถุที่มีอันตราย

กิจกรรมหลัก : รับสมัครแกนนำอาสาจัดการขยะชุมชนi

22,300.00 90 ผลผลิต

ได้แกนนำในการประสานงานในการจัดการขยะ 10 คน ได้แก่

  1. นางจุฑาทิพย์ ฟุ้งตาปี
  2. นางพนิดา พัฒน์สิงห์
  3. นางปรีดา สละ
  4. นางสาวพรเพ็ญ พัฒนสิงห์
  5. นางวาสนา ปานทิพย์
  6. นางวรรณา ทองสีเขียว
  7. นางเกสร สุวรรณ
  8. นางไมตรี ชูทุ่งยอ
  9. นางจิราพร  ปลอดสกุล
  10. นายภาศ เทพเสนา

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • แกนนำอาสาสมัครจัดการขยะชุมชนสามารถเป็นตัวแทนคณะทำงาน แลละเป็นแกนประสานในการจัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนได้
  • การแบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งโซนบ้านให้แกนนำอาสาสมัครจัดการขยะชุมชนดูแลคนละ 10 ครัวเรือน ทำให้การกำกับติดตาม ดูแล และสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการขยะทำได้ง่ายขึ้น เข้าถึงคนในชุมชนมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 5 ครั้ง

  • ตัวแทนจากเทศบาลตำบล จำนวน 5 คน
  • ประชากรชุมชนบ้านเหนือ จำนวน 45 คน
7,500.00 7,500.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้แกนนำในการประสานงานในการจัดการขยะ 10 คน ได้แก่

  • นางจุฑาทิพย์ ฟุ้งตาปี
  • นางพนิดา พัฒน์สิงห์
  • นางปรีดา สละ
  • นางสาวพรเพ็ญ พัฒนสิงห์
  • นางวาสนา ปานทิพย์
  • นางวรรณา ทองสีเขียว
  • นางเกสร สุวรรณ
  • นางไมตรี ชูทุ่งยอ
  • นางจิราพร  ปลอดสกุล
  • นายภาศ เทพเสนา

2.ได้แผนปฏิบัติการด้านจัดเก็บข้อมูลในชุมชน โดยให้แกนนำแต่ละคนรับผิดชอบการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์ขยะในชุมชนเป็นกลุ่มบ้าน กลุ่มบ้านละประมาณ 10 คน โดยแบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม มีการกำหนดสีประจำโซนให้เพื่อความสะดวกในการติดตามดูแล โดยจะใช้ธงสีเป็นสัญลักษณ์ในกับสมาชิกในกลุ่มของตนเอง ดังนี้

  • กลุ่มที่ 1 สีเหลือง ประกอบด้วย

1.1 นางจุฑาทิพย์ ฟุ้งตาปี หัวหน้ากลุ่ม
1.2 นายเข็มเพชร มีครุฑ
1.3 นางนิภา เรืองศรี
1.4 นางอำพันธ์ ญาณุวีรศักดิ์
1.5 นายมนูญ ธีรสิงห์
1.6 นายจรัญ พัฒน์จร
1.7 นางนิภาพร ทองสี
1.8 นางยินดี ขวัญม่วง
1.9 นางกอบกุล ชุติมันต์
1.10 นายวินัย คงทอง
1.11 นางสาว พูนสิน ชุติมันต์
1.12 นาย สมพร คงทอง
1.13 นายร่อน โทนมี

  • กลุ่มที่ 2 สีแดง ประกอบด้วย

2.1 นางพนิดา พัฒน์สิงห์    หัวหน้ากลุ่ม                       
2.2 นายเอกชัย พึ่งเสือ 2.3 นางสาวพรทิพย์ แซ่หว่อง                   
2.4 นางสาวบุญส่ง แซ่หว่อง                       
2.5 นายธีรศักดิ์ แซ่หว่อง                           
2.6 นายวีระศักดิ์ มีดี
2.7 นางพรพิมล ถุงทอง                             
2.8 นายภักดี แซ่หว่อง                                 
2.9 นายถาวร แซ่หว่อง
2.10 นางสาคร บุญนำ
2.11 นายปราโมทย์ รักบำรุง

  • กลุ่มที่ 3 สีชมพู      ประกอบด้วย

3.1 นางปรีดา สะละ    หัวหน้ากลุ่ม 3.2 นายอำนวย สำลีวงศ์
3.3 นางปวีณา อินทร์แทน
3.4 นางสาวปรึกษา ชูชาติ
3.5 นายวิเชียร แก้วอินทร์ศรวล
3.6 น้าจำเป็น(พม่า) 3.7 นางฉลาด ฮั่นสกุล
3.8 นายจารุวัฒน์ ทองแก้ว
3.9 นายโกวิทย์ เพชรโชติ
3.10 นางไมตรี ชูทุ่งยอ

- กลุ่มที่ 4 สีม่วง      ประกอบด้วย

4.1 นางสาวพรเพ็ญ พัฒนสิงห์      หัวหน้ากลุ่ม
4.2 นางมาลี ไชยพันธุ์
4.3 นายขั้น ทองนา
4.4 นายอรัญ พินิจ
4.5 นายอารมณ์ ชูชาติ
4.6 นางมนฑา สินไชย
4.7 นางยุพิน สาประเสริฐ

  • กลุ่มที่ 5 สีฟ้า      ประกอบด้วย

5.1 นางวาสนา ปานทิพย์        หัวหน้ากลุ่ม
5.2 พ.อ.อ.สุริยะ กมุกะมกุล
5.3 นายพงศธร กมุกะมกุล
5.4 นางบุญยิ่ง มีดี
5.5 นายจารึก แซ่เลี้ยว
5.6 นายพิพัฒน์ ศรีศิริวรรณา
5.7 นางหนูนัย  เชาวแพทย์

  • กลุ่มที่ 6 สีเขียวอ่อน  ประกอบด้วย

ุ6.1 นางวรรณา ทองสีเขียว      หัวหน้ากลุ่ม
6.2 นายประสิทธิ์ รักบำรุง
6.3 นางแม้นศรี  พุฒศรี
6.4 นายลาภ สมสักดิ์
6.5 นางอำพัน เมฆทรัพย์
6.6 นางวันดี อินทร์แทน
6.7 นายโชติ มุสิกสาร
6.8 นางเกษกัลยา ทองศรีเขียว
6.9 นายณรงค์ ทองสีเขียว

  • กลุ่มที่ 7 สีโอโรส  ประกอบด้วย

ุึ7.1 นางเกสร สุวรรณ    หัวหน้ากลุ่ม
7.2 นายรณชัย รักชาติ
7.3 นายวีระพันธุ์ รักชาติ
7.4 นางจารุวรรณ พุฒทอง 7.5 นายหยำ แซ่ด่าน 7.6 นายเริ่ม โกละกะ
7.7 นายนพรัตน์ โสมณพันธ์
ึ7.8 นายรั่น พุฒศิริ
7.9 เจีเกี้ยว 7.10 นางสาวรวิวรรณ ชุติมันต์
7.11 นายชยวรรธ พุฒทอง

  • กลุ่มที่ 8 สีส้ม  ประกอบด้วย

8.1 นางไมตรี  ชูทุ่งยอ  หัวหน้ากลุ่ม
8.2 นางสาวชุลีวรรณ เทพเสนา
8.3 นางต้อง ใจสมุทร
8.4 นางอุษา ชุทุ่งยอ 8.5 นางสาวอนัญญา ศรีหะรัญ
8.6 นายล้วน พิกุลทอง
8.7 นางสุนีย์ สาระบุตร
8.8 นายสุวัฒน์ ใจสมุทร
8.9 นายพงษ์พันธ์ สีเสียด
8.10 นางนุช ช่อผูก
8.11 นายมาโนช แซ่ลิ้ม

  • กลุ่มที่ 9 สีเขียว  ประกอบด้วย

    9.1 นางจิรา ปลอดสกุล        หัวหน้ากลุ่ม
    9.2 นายประสาน พรหมทอง
    9.3 นางเรวดี ศรีฤทธิ์ 9.4 นางสร้อยสุดา แจ่มใส 9.5 นายอรัญ พินิจ
    9.6 นางอุบล ก้านอินทร์ 9.7 นางจินตวรรณ พัฒนสิงห์ 9.8 นางชุลีพร แซ่ภู่
  • กลุ่มที่ 10 สีนำ้เงิน  ประกอบด้วย

    10.1 นายภาส เทพเสนา  หัวหน้ากลุ่ม 10.2 นายณรงค์ คงดำ
    10.3 นายประสาน บุญส่ง 10.4 นางเซี้ยน พุฒทอง
    10.5 นางจิรา ปานทอง 10.6 นางนุช ช่อผูก
    10.7 นางยุภา ทองทา 10.8 นางวิลาวัลย์ แซ่ลิ้ม
    10.9 นางมยุรา ไชยยศ 10.11 นางจันทนา สีเสียด

การออกแบบสำรวจข้อมูลขยะในชุมชน ได้ออกแบบโดยการจัดทำแบบสำรวจข้อมูลด้านการจัดการขยะ โดยมีรายละเอียดแบบสำรวจ ดังนี้ 1.ชื่อผู้ให้ข้อมูล 2. ประเภทขยะที่เหลือใช้ 3. ปริมาณขยะ 4. วิธีการจัดเก็บในครัวเรือน 5. เทศบาลมีการจัดเก็บขยะในพื้นที่หรือไม่

สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้วิธีให้แกนนำแต่ละกลุ่มสี ให้หัวหน้ากลุ่มสีจัดเก็บขยะในบ้านของตนเอง ใน 1 วัน คิดหาค่าเฉลี่ยของขยะ 1 บ้าน ต่อ 1 วัน

  • แกนนำชุมชน 8 คน (ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. นายกเทศมนตรีบ้านนาเดิม รองนายกเทศมนตรี)
  • คณะทำงาน 10 คน
  • ตัวแทนชาวบ้าน 
0.00 0.00 50 40 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แผนที่ชุมชนที่เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกจากการช่วยกันวาดของทุกคนในชุมชน ซึ่งชุมชนมีแผนที่จะจัดทำแผนที่ดังกล่าวให้สมบูรณ์ และจัดทำลงไวนิลขยายใหญ่ เพื่อนำมาติดไว้ในศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน และใช้ในการประกอบการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนต่อไป
  • ได้แกนนำอาสาสมัครในการกำกับ ติดตามดูแลเรื่องการจัดการขยะในชุมขนจำนวน 10 คน ซึ่งแต่ละคนได้แบ่งจำนวนครัวเรือนและกลุ่มเป้าหมายในการดูแล โดยช่วยกันระบุชื่อ และที่อยู่ให้ชัดเจน โดยมีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำกลุ่มเป็นธงสีต่างๆ เช่น สีแดง สีเขียว สีเหลือง เพื่อให้แกนนำได้ใช้ป็นสัญลักษณ์ในการดูแล และง่ายต่อการกำกับติดตาม
  • ได้ข้อมูลข่าวสารที่สามารถให้แกนนำไปสื่อสารกับสมาชิก และคนที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมให้รับทราบตรงกัน
  • มีการจัดหมายในการจัดกิจกรรมสำรวจขยะในสัปดาห์ต่อไป เพื่อให้เป็นการกระตุ้นการรับรู้ของคนในชุมชน
  • สิ่งที่สังเกตได้จากเวทีการประชุมในครั้งนี้ คือ การรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการและการมีส่วนร่วมในการทำงาน จะเห็นว่าผู้เข้าร่วมเวทีทุกคนจะพยายามช่วยกันวาดแผนที่ชุมชน พร้อมกับบอกว่าบ้านตนเองอยู่ส่วนใดในแผนที่ นอกจากนี้ยังมีผู้สูงอายุบางคนลุกจากที่นั่งเดินไปดูแผนที่เพื่อดูว่า มีการลงชื่อตนเอง กับครอบครัวลงในแผนที่แล้วหรือไม่ หรือในแผนที่ยังมีข้อมูลหรือครอบครัวใดที่ยังตกหล่น ไม่มีชื่ออยู่ในโครงการ ก็จะเสนอชื่อเข้ามา
  • แกนนำอาสา จำนวน 20 คน
5,600.00 5,650.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำอาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสถานการณ์ขยะในชุมชน โดยการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับจำนวนประชากร และสำรวจวิธีการจัดการขยะของแต่ละครัวเรือน  และใช้การถ่ายภาพเพื่อให้เห็นแหล่งขยะในชุมชน วิธีการจัดการขยะที่พบชุมชน โดยลงเก็บข้อมูลตามเป้าหมาย 100 ครัวเรือน สามารถจัดเก็บได้ 52 ครัวเรือน
  • ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ครบทั้ง 100 ครัวเรือน จึงได้นัดหมายเก็บข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้งในวันที่ 7 กันยายน 2557
  • ในการลงพื้นที่จัดเก็บขยะ มีการทำธงสัญลักษณ์เป็นสีต่างๆ ตามโซนที่ได้รับมอบหมายจำนวน 10 โซน 10 สี ไปติดให้กับสมาชิกกลุ่มตามสีที่ได้รับการคัดเลือกเอาไว้ทุกบ้าน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามประเมินผลในการทำกิจกรรมในครั้งต่อๆ ไป
  • การสำรวจทำให้ชุมชนตระหนักการจัดการขยะมากขึ้น โดยสังเกตจากเมื่อทีมสำรวจแบ่งกันสำรวจตามโซนสี ทำให้แต่ละครัวเรือนที่ถูกสำรวจมีการเก็บกวาดขยะหน้าบ้านตนเองอย่างเรียบร้อย และยังทำให้ทีมสำรวจเกิดการจัดการขยะที่บ้านของตนเองอย่างถูกวิธี
  • กลุ่มแกนนำอาสาสมัครจัดการขยะชุมชน 20 คน
4,600.00 3,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำอาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจข้อมูลสถานการณ์ขยะในชุมชน โดยการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับจำนวนประชากร และสำรวจวิธีการจัดการขยะของแต่ละครัวเรือน  และใช้การถ่ายภาพเพื่อให้เห็นแหล่งขยะในชุมชน วิธีการจัดการขยะที่พบชุมชน โดยลงเก็บข้อมูลตามเป้าหมาย 100 ครัวเรือน สามารถจัดเก็บได้ 48 ครัวเรือน
  • ในการลงพื้นที่จัดเก็บขยะ มีการทำธงสัญลักษณ์เป็นสีต่างๆ ตามโซนที่ได้รับมอบหมายจำนวน 10 โซน 10 สี ไปติดให้กับสมาชิกกลุ่มตามสีที่ได้รับการคัดเลือกเอาไว้ทุกบ้าน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามประเมินผลในการทำกิจกรรมในครั้งต่อๆ ไป
  • การสำรวจทำให้ชุมชนตระหนักการจัดการขยะมากขึ้น โดยสังเกตจากเมื่อทีมสำรวจแบ่งกันสำรวจตามโซนสี ทำให้แต่ละครัวเรือนที่ถูกสำรวจมีการเก็บกวาดขยะหน้าบ้านตนเองอย่างเรียบร้อย และยังทำให้ทีมสำรวจเกิดการจัดการขยะที่บ้านของตนเองอย่างถูกวิธี
  • แกนนำอาสาสมัครจัดการขยะชุมชน จำนวน 20 คน
4,600.00 4,600.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำจัดการขยะชุมชน นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสถานการณ์ขยะในชุมชน ทั้ง 100 ครัวเรือนมาพูดคุยกันถึงปริมาณขยะที่ได้ ชนิดของขยะที่พบ และแหล่งที่พบขยะในชุมชนมากที่สุด และช่วยกันรวบรวมข้อมูล
  • จากการสำรวจและ คัดแยกประภทของขยะ สามารถสรุปข้อมูลขยะ รายครัวเรือน 100 ครัวเรือน ในเขตชุมชนบ้านเหนือ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามการแบ่งประเภทของขยะ ดังนี้
  1. ขยะอินทรีย์ ที่พบได้แก่ เศษอาหาร เศษวัสดุทางการเกษตร  คิดเป็นร้อยละ 60  โดยประมาณ
  2. ขยะแห้ง ได้แก่ ถุงพลาสติก      คิดเป็นร้อยละ 35  โดยประมาณ
  3. ขยะมีพิษ เช่น ถ่านไฟฉาย    คิดเป็นร้อยละ  1  โดยประมาณ
  4. ขยะทั่วไป  คิดเป็นร้อยละ  4  โดยประมาณ

กิจกรรมหลัก : เวทีสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะi

12,900.00 80 ผลผลิต
  • ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 45 คน ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่วางไว้ที่ 80 คน
  • คนในชุมชนทราบสถานการณ์ปัญหาขยะจากข้อมูลทั้งของเทศบาล และที่แกนนำอาสาสมัครจัดการขยะชุมชนลงพื้นที่ไปจัดเก็บ ที่พบว่า ทั้งเขตเทศบาลสร้างขยะถึงวันละ 3 ตัน โดยขยะที่ทุกชุมชนสร้างมากที่สุด คือ ขยะเปียก และขยะทั่วไป ซึ่งขยะเหล่านี้สามารถจัดการได้ด้วยตนเองตั้งแต่ต้นทาง คือ การจัดการภายในครัวเรือน
  • ผลการสำรวจข้อมูลขยะในชุมชนบ้านเหนือ  พบว่า ทั้ง 10 โซน จำนวนกว่า 100 ครัวเรือน มีปัญหาขยะที่เหมือนกัน คือ มีขยะอินทรีย์มากว่าร้อยละ 50 ขยะทั่วไป ถุงพลาสติก กว่าร้อยละ 30 ในขณะที่ขยะอันตราย ทางเทศบาลได้จัดถังขยะไว้บริการโดยเฉพาะ ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหา

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ประชุมได้เสนอแนวทางการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน คือ

  • ขยะเปียก เสนอให้มีการนำมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ เพื่อใช้เองในครัวเรือน
  • ขยะรีไซเคิล เสนอให้มีการนำมาแปรรูปเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ขวดน้ำ นำมาทำที่ปลูกต้นไม้ กล่องนม นำมาทำหมวก เป็นต้น
  • หลักการจัดการขยะง่ายๆ ที่ทุกคนสามารถทำได้เอง คือ ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

  • นายกเทศมนตรี 1 คน
  • รองนายกเทศมนตรี 1 คน
  • ทีมงานพี่เลี้ยงติดตามโครงการ 5 คน
  • เจ้าหน้าที่เทศบาล 3 คน
  • คณะทำงาน แกนนำ 36 คน
12,900.00 12,900.00 80 46 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถานการณ์ปัญหาขยะ จากการบอกเล่าของนายกเทศมนตรีบ้านนา

  • เทศบาลตำบลบ้านนาไม่มีที่ทิ้งขยะหรือบ่อกำจัดขยะเป็นของตนเอง ต้องอาศัยบริการเช่าที่ทิ้งขยะในเขต อ.บ้านนาสาร เดือนละ 30,000 บาท
  • ในปีงบประมาณ 2558 ทางที่ทิ้งขยะได้ยกเลิกบริการทิ้งขยะ เนื่องจากปริมาณขยะมากขึ้น ที่ทิ้งไม่เพียงพอ แต่ทางเทศบาลใช้วิธีเจรจาต่อรองจนสามารถทิ้งได้อีกครั้ง
  • ทางเทศบาลมีบริการจัดเก็บขยะในชุมชน โดยคิดค่าบริการครัวเรือนละ 10 บาท และมีกิจกรรมในการจัดการขยะในชุมชน เช่น โครงการขยะแลกไข่ โครงการอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก
  • ในแต่ละวันเทศบาลต้องจัดเก็บขยะกว่าวันละ 3 ตัน โดยพบว่า เป็นขยะทั่วไป ขยะพลาสติก กว่าร้อยละ 60 และเป็นขยะอินทรีย์ กว่าร้อยละ 30

วิทยากรจากกองสาธารณสุข เทศบาลตำบลบ้านนา อบรมให้ความรู้เรื่อง "การจัดการขยะในชุมชน" โดยมีสาระสำคัญ คือ

  • ที่มาของขยะ มี 3 แหล่งสำคัญ คือ
  1. ขยะที่เกิดจากตนเอง เกิดจากการบริโภคในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร ถุงพลาสติก เป็นต้น
  2. ขยะที่เกิดจากภาคการเกษตร เช่น มูลสัตว์ เศษวัชพืช เป็นต้น
  3. ขยะที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรม เช่น สารเคมี ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ เป็นต้น
  • ประเภทของขยะ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
  1. ขยะแห้ง เช่น พลาสติก เศษแก้ว กล่องนม
  2. ขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร
  3. ขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่

หลักการจัดการขยะ ที่สำคัญ คือ หลัก 3R ได้แก่

  1. Reduce ใช้น้อย ลดปริมาณการใช้
  2. Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ
  3. Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่

แนวคิดในการจัดการขยะในชุมชน

  • การจัดตั้งธนาคารขยะในชุมชนเพื่อลดปริมาณการทิ้งขยะ และการสร้างรายได้จากขยะ
  • การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อลดปริมาณสารเคมี และค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย

นางกอบกุล ชุติมันต์ ผู้ประสานงานโครงการ และแกนนำอาสาสมัครชุมชน บอกเล่าเรื่องราว ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลสถานการณ์ขยะในชุมชน ซึ่งมีทั้งการฉายภาพให้เห็นสถานการณ์ขยะ และการบอกเล่าถึงลักษณะของขยะ และการต้อนรับที่ได้จากคนในชุมชน ดังนี้

  • กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และสอดแทรกเรื่องการการจัดการขยะอย่างถูกต้อง เช่น กิจกรรมกีฬาสีภายในชุมชน การร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน ตัดหญ้า ปลูกต้นไม้ กานำภูมิปัญญาด้านการทำข้าวยำสมุนไพรไปเผยแพร่ การจัดกิจกรรมให้ความรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชน จำนวน 6 ครั้ง
  • การสำรวจสถานการณ์ขยะในชุมชน พบว่า ทั้ง 10 โซน จำนวนกว่า 100 ครัวเรือน มีปัญหาขยะที่เหมือนกัน คือ มีขยะอินทรีย์มากว่าร้อยละ 50 ขยะทั่วไป ถุงพลาสติก กว่าร้อยละ 30 ในขณะที่ขยะอันตราย ทางเทศบาลได้จัดถังขยะไว้บริการโดยเฉพาะ ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหา

ชุมชนมีแนวคิดในการนำหลัก 3 R มาใช้ในการลดจำนวนปริมาณขยะในชุมชน ประกอบด้วย

  • R : Reduce คือ การลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง
  • R : Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้ มาใช้ซ้ำ
  • R : Recycle คือ การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่

ทีมพี่เลี้ยงติดตามโครงการชวนคิด ชวนคุยเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน โดยที่ประชุมได้เสนอแนวทางการจัดการขยะ คือ

  • ขยะเปียก เสนอให้มีการนำมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ เพื่อใช้เองในครัวเรือน
  • ขยะรีไซเคิล เสนอให้มีการนำมาแปรรูปเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ขวดน้ำ นำมาทำที่ปลูกต้นไม้ กล่องนม นำมาทำหมวก เป็นต้น

ผลจากการดำเนินกิจกรรม ทำให้คนในชุมชนมีความรู้ และได้มีกติการ่วมกัน ว่าก่อนทิ้งขยะ ให้มีการคัดแยกขยะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำ ทางโครงการจะได้จัดทำป้ายรณรงค์ และสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ในโอกาสต่อไป

  • ตัวแทนจากเทศบาลตำบลบ้านนาเดิม ได้แก่ นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี นักพัฒนาชุมชน
  • ประชาชนในชุมชนบ้านเหนือ
  • วิทยากร 2 คน
  • ทีมงานติดตามโครงการ / ทีมพี่เลี้ยง 5 คน
0.00 0.00 80 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถานการณ์ปัญหาขยะ จากการบอกเล่าของนายกเทศมนตรีบ้านนา

  • เทศบาลตำบลบ้านนาไม่มีที่ทิ้งขยะหรือบ่อกำจัดขยะเป็นของตนเอง ต้องอาศัยบริการเช่าที่ทิ้งขยะในเขต อ.บ้านนาสาร เดือนละ 30,000 บาท
  • ในปีงบประมาณ 2558 ทางที่ทิ้งขยะได้ยกเลิกบริการทิ้งขยะ เนื่องจากปริมาณขยะมากขึ้น ที่ทิ้งไม่เพียงพอ แต่ทางเทศบาลใช้วิธีเนรจาต่อรองจนสามารถทิ้งได้อีกครั้ง
  • ทางเทศบาลมีบริารจัดเก็บขยะในชุมชน โดยคิดค่าบริการครัวเรือนละ 10 บาท และมีกิจกรรมในการจัดการขยะในชุมชน เช่น โครงการขยะแลกไข่ โครงการอบรมการทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก
  • ในแต่ละวันเทศบาลต้องจัดเก็บขยะกว่าวันละ 3 ตัน โดยพบว่า เป็นขยะทั่วไป ขยะพลาสติก กว่าร้อยละ 60 และเป็นขยะอินทรีย์ กว่าร้อยละ 30

วิทยากรจากกองสาธารณสุข เทศบาลตำบลบ้านนา อบรมให้ความรู้เรื่อง "การจัดการขยะในชุมชน" โดยมีสาระสำคัญ คือ

  • ที่มาของขยะ มี 3แหล่งสำคัญ คือ
  1. ขยะที่เกิดจากตนเอง เกิดจากการบริโภคในครัวเรือน เช่น เศษอาหาร ถุงพลาสติก
  2. ขยะที่เกิดจากภาคการเกษตร เช่น มูลสัตว์ เศษวัชพืช
  3. ขยะที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรม เช่น สารเคมี ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ
  • ประเภทของขยะ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
  1. ขยะแห้ง เช่น พลาสติก เศษแก้ว กล่องนม
  2. ขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร
  3. ขยะอันตราย ได้แก่ หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่

หลักการจัดการขยะ ที่สำคัญ คือ หลัก 3R ได้แก่

  1. Reduce ใช้น้อย ลดปริมาณการใช้
  2. Reuse การนำกลับมาใช้ซ้ำ
  3. Recycle การนำกลับมาใช้ใหม่

แนวคิดในการจัดการขยะในชุมชน

  • การจัดตั้งธนาคารขยะในชุมชนเพื่อลดปริมาณการทิ้งขยะ และการสร้างรายได้จากขยะ
  • การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ เพื่อลดปริมาณสารเคมี และค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ย

นางกอบกุล ชุติมันต์ ผู้ประสานงานโครงการ และแกนนำอาสาสมัครชุมชน บอกเล่าเรื่องราว ข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลสถานการณ์ขยะในชุมชน ซึ่งมีทั้งการฉายภาพให้เห็นสถานการณ์ขยะ และการบอกเล่าถึงลักษณะของขยะ และการต้อนรับที่ได้จากคนในชุมชน ดังนี้

  • กิจกรรมต่างๆ ที่ได้ดำเนินงานเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และสอดแทรกเรื่องการการจัดการขยะอย่างถูกต้อง เช่น กิจกรรมกีฬาสีภายในชุมชน การร่วมกันพัฒนาหมู่บ้าน ตัดหญ้า ปลูกต้นไม้ กานำภูมิปัญญาด้านการทำข้าวยำสมุนไพรไปเผยแพร่ การจัดกิจกรรมให้ความรู้และมีส่วนร่วมในการจัดการขยะชุมชน จำนวน 6 ครั้ง
  • การสำรวจสถานการณ์ขยะในชุมชน พบว่า ทั้ง 10 โซน จำนวนกว่า 100 ครัวเรือน มีปัญหาขยะที่เหมือนกัน คือ มีขยะอินทรีย์มากว่าร้อยละ 50 ขยะทั่วไป ถุงพลาสติก กว่าร้อยละ 30 ในขณะที่ขยะอันตราย ทางเทศบาลได้จัดถังขยะไว้บริการโดยเฉพาะ ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหา

ข้อสังเกตที่ได้จากการจัดกิจกรรม

  • การอบรมให้ความรู้ของวิทยาการจากเทศบาล เป็นเพียงการบรรยายปากเปล่าจาก powerpoint  ทำให้ไม่เกิดการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนในแง่ของการร่วมคิดในการจัดการปัญหาขยะของชุมชน
  • กานำเสนอข้อมูลของแกนนำอาสาสมัครจัดการขยะชุมชน มีเพียงการบอกเล่าด้วยปากเปล่า ข้อมูลที่นำเสนอจึงไม่สามารถสร้างแรงจูงใจ สร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาขยะที่เกดขึ้นในชุมชนได้ จากการสอบถาม ยังคิดว่า การจัดการขยะเป็นหน้าที่ของเทศบาลที่ต้องดูแล เพราะชุมชนเสียค่าบริการแล้ว เดือนละ 10 บาท
  • ในการจัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง พบว่า ยังขาดเนื้อหา รายละเอียดในการทำกิจกรรม ทำให้ไม่สามาระวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชุมชนได้ ต้องมีการเติมเต็มเรื่องการเขียนรายงาน เพราะพี่เลี้ยงต้องคอยปรับแก้ให้ตลอด

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมประชุมปฐมนิเทศ ประชุมติดตามโครงการ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ / ค่าจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ / ค่าภาพถ่ายกิจกรรมi

12,000.00 3 ผลผลิต
  • ชุมชนเข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการ ที่ สจรส. มอ. 1 ครั้ง
  • พี่เลี้ยงติดตามและสนับสนุนโครงการให้ชุมขนเข้ามาทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการที่ ม.อ. สุราษฎร์ธานี 1 ครั้ง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ชุมชนสามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้า รายงานการติดตาม และรายงานการเงินโครงการได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมส่งให้ สจรส.

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 7 ครั้ง

  • คณะกรรมการโครงการชุมชนบ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา จำนวน 2 คน คือ
  1. นางกอบกุล  ชุติมันต์  หัวหน้าโครงการ
  2. นางประไพศรี  สุทธินวล  เลขานุการโครงการ
12,000.00 4,096.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้ารับการปฐมนิเทศน์มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแบบรายงานโครงการ การรายงานทางการเงิน การรายงานโครงการทางเวปไซต์
  • สามารถจัดทำรายงานกิจกรรมโครงการผ่านทางเว็บไซด์ได้
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกอบกุล ชุติมันต์
  • คณะทำงานโครงการ 1 คน
0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการที่เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการ และเตรียมความพร้อมในการทำงาน สามารถจัดทำรายงานโครงการทางเว็บไซด์ได้ และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงิน เอกสารการเงินของโครงการขึ้นบ้าง แต่ยังคงต้องติดตามให้คำแนะเพื่อให้สามารถดำเนินงานโครงการได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • คณะทำงานยังไม่สามารถลงรายละเอียดโครงการได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากยังไม่ได้รับเอกสารสัญญาโครงการจาก สสส. จึงให้กลับมาดำเนินการจัดทำข้อมูลหลังจากได้รับสัญญาให้เรียบร้อยในภายหลัง
  1. นางกอบกุล ชุติมันต์  หัวหน้าโครงการ
  2. นางประไพศรี สุทธินวล เลขานุการ/เอกสาร
  3. นางเกษร ขวัญม่วง  การเงิน
0.00 700.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การรายงานผลการดำเนินงานทั้งเอกสารและเอกสารอิเล็คโทรนิคเป็นปัจจุบัน ตลอดจนงานเอกสารทางการเงินได้รับการตรวจติดตามจากพี่เลี้ยง ถูกต้อง สมบูรณ์
  • สามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 1 รายงานการเงินโครงการ และรายงานการติดตามโครงการ ได้เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจัดให้ส่ง สจรส. ม.อ.
  1. นางกอบกุล ชุติมันต์  หัวหน้าโครงการ
  2. นางประไพศรี สุทธินวล เลขานุการ/เอกสาร
  3. นางเกษร ขวัญม่วง  การเงิน
0.00 0.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนบ้านเหนือสามารถทำรายงานความก้าวหน้าโครงการงวดที่ 1  รายงานการเงินโครงการงวดที่ 1 รายงานการติดตามโครงการ ได้เสร็จ สามารถจัดส่งให้ สจรส. และ สสส. เพื่อขอรับการเบิกจ่ายโครงการในงวดที่ 2
  • เอกสารการเงินครบถ้วน ถูกต้อง มีการใช้จ่ายงบประมาณโครงการตามแผน านที่วางไว้
  • นางกอบกุล ชุติมันต์ ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางประไพศรี สุทธินวล คณะทำงานโครงการ
0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมอบรม แนะนำตัว พร้อมทั้งบอกความคาดหวังในการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่พบว่า มีความคาดหวังในการเขียนรายงานที่สมบูรณ์ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ตรงความความต้องการของแหล่งทุน
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญของการจัดทำรายงาน ได้แก่

1.การสื่อสาร (Communication)

  • การสื่อ = การรับ = ฟัง ~ อ่าน = การส่ง = พูด ~ เขียน
  • สาร (MESSAGE) คือ ความรู้สึกนึกคิด สาร มี 4 ประเภท รู้  = ความรู้ ข้อเท็จจริง (Knowledge, Fact) / ความ (รู้) สึก  = ความรู้สึก (Sense) อารมณ์ ( Emotion) / นึก  = จินตนาการ (Imagination) / คิด  = ความคิด ทรรศนะ ข้อคิดเห็น (Opinion)

2.การเขียน คือ กระบวนการ  = คิด → เขียน → ตรวจทาน / ส่งสาร = ความรู้สึกนึกคิด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์
3.การจัดทำรายงาน

  • รายงาน เป็นรูปแบบการเขียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการประชุม  รายงานประจำปี รายงานการสอบสวน
  • การจัดทำรายงาน ความหมาย “รายงาน  น. คำบอกกล่าวเรื่องราวที่ไปทำ ไปรู้ หรือไปเห็นมา / ก. บอกเรื่องของการงาน”
  • การจัดทำรายงาน  = การจัดทำเอกสารเพื่อบอกเรื่องการงานที่ไดhทำ ได้รู้ หรือได้ไปเห็นมา ได้ทำ =  รายงานการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุม รายงานประจำปี / ได้รู้ =  รายงานการศึกษาค้นคว้า สืบสวน สอบสวน รายงานการศึกษา วิจัย สำรวจ / ได้ไปเห็น  =  รายงานการทัศนศึกษา ดูงาน ตรวจงาน
  • ประเภทของรายงาน
    • รายงานปากเปล่า Oral Reports ในสถานการณ์พิเศษ
    • รายงานลายลักษณ์อักษร Written Reports
    • รายงานลายลักษณ์อักษรและการนำเสนอด้วยวาจาในที่ประชุม
  • องค์ประกอบของรายงาน ต้อง ครบถ้วน เป็นระเบียบ
  • รูปแบบของรายงาน “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สวยงาม สม่ำเสมอ ถูกต้อง สบายตา เหมาะสม พอเหมาะ น่าหยิบ น่าอ่าน สะอาดเรียบร้อย

4.จรรยาบรรณของผู้ทำรายงาน

  • ซื่อสัตย์ สุจริต
  • โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • ติดคุณธรรมที่ปลายปากกา

5.คุณลักษณะของรายงานที่ดี

  • องค์ประกอบ คือ สิ่งที่ควรจะมี
  • รูปแบบ        คือ สภาพหรือลักษณะที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหา          คือ พลังในการสื่อสาร
  • ภาษา          คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

6.เนื้อหาของรายงาน

  • มีเอกภาพ ( Unity ) มีความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
  • มีสัมพันธภาพ ( Coherence ) มีความเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
  • มีสารัตถภาพ ( Emphasis ) มีสาระชัดเจนหนักแน่น น่าเชื่อถือ

7.การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน ควรใช้ภาษามาตรฐานในการเขียน

  • ภาษาต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ภาษาพูด คำภาษาต่างประเทศ คำหยาบ คำสแลง คำย่อ คำผวน คำตัด คำภาษาถิ่น

8.ลักษณะภาษาที่ดีในการเขียนรายงาน

  • ถูกระดับ
  • ถูกไวยากรณ์
  • กะทัดรัด ประหยัด
  • ชัดเจน
  • ถูกความหมาย
  • ถูกความนิยม-วัฒนธรรม
  • สุภาพเรียบร้อย

9.ขั้นตอนการทำรายงาน

  • กำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดผู้รับทราบ
  • รวบรวมข้อมูล
  • วางโครงร่าง
  • วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความข้อมูล
  • จัดระเบียบเนื้อหา
  • เรียบเรียงเนื้อหา
  • ตรวจทาน
  • จัดทำรูปเล่ม

10.องค์ประกอบ (โครงสร้าง) ของรายงาน รายงานที่ดี ควรมีองค์ประกอบหรือโครงสร้าง 3 ส่วน คือ

  • ส่วนต้น (ส่วนนำ) องค์ประกอบส่วนต้น  ได้แก่

    • ปก
    • สัญลักษณ์ คำย่อ และ ตัวย่อ (ถ้ามี)
    • คำนำ                                   
    • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือบทคัดย่อ
    • กิตติกรรมประกาศ
    • สารบัญ
    • บัญชี (รายการ) ตาราง (ถ้ามี)
    • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (ถ้ามี) ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพประกอบ ภาพถ่าย แผนผัง
  • ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็นบท หรือ ตอน ได้แก่

    • ความเบื้องต้น หรือ บทนำ
    • เนื้อความสำคัญ หรือ ผลการทำ การรู้ การเห็น
    • สรุป และ ข้อเสนอแนะ
  • ส่วนท้าย ส่วนท้ายของรายงาน อาจประกอบด้วย

    • บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง
    • ภาคผนวก ได้แก่ ตาราง แผนภูมิ กราฟ แผนที่ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เอกสารหลักฐาน คำให้การ ใบเสร็จรับเงิน คำสั่ง เป็นต้น
    • เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสำรวจ ข้อสอบ
    • ดัชนี

11.การเขียนส่วนต้นของรายงาน

  • คำนำ สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป วัตถุประสงค์ของคำนำ สะท้อนความสำคัญ ความจำเป็น และลักษณะเฉพาะของรายงาน เพื่อสร้างความสนใจ มีสาระสำคัญดังนี้ :-

    • ชื่อรายงาน
    • วัตถุประสงค์ของรายงาน
    • ขอบข่ายเนื้อหา
    • ประโยชน์ที่จะได้รับ
    • คำอุทิศ
  • กิตติกรรมประกาศ  หรือ ประกาศคุณูปการ (Acknowledgment) ข้อความกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนช่วยเหลือและ ให้ความร่วมมือในการจัดทำรายงาน ระบุว่าขอบคุณใคร เรื่องอะไร อย่ากล่าวละเอียดมากเกินไป

  • สารบัญ ทำหน้าที่บอกส่วนประกอบทั้งหมด คือ ตอน บท และ หัวข้อต่างๆของรายงาน ตั้งแต่คำนำ จนถึงหน้าสุดท้าย  โดยมีเลขหน้ากำกับแต่ละส่วนเรียงตามลำดับ
  • บัญชี (รายการ) ตาราง ( List of Tables ) (ถ้ามี) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดในรายงาน รวมทั้งตารางในภาคผนวกด้วย
  • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (List of Illustrations/Figures) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของภาพประกอบทั้งหมด ในรายงาน เช่น แผนภูมิ กราฟ แผนผัง แผนที่ ภาพประกอบ และภาพถ่าย เป็นต้น
  • สัญลักษณ์ คำย่อ และตัวย่อ (List of Abbreviations and Symbols) เป็นส่วนอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ คำย่อและอักษรย่อที่ปรากฏใช้ในรายงาน ยกเว้นที่รู้กันโดยทั่วไป
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ( Executive Summary ) หมายถึง การสรุปภาพรวมของรายงาน ให้ใช้เวลาอ่านน้อยที่สุด แต่สามารถเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดที่นำเสนอไว้ในรายงาน
  • บทคัดย่อ ( Abstract ) เป็นการสรุปเนื้อหาของรายงานการวิจัย อย่างสั้น กะทัดรัด ชัดเจนแต่ได้ภาพรวม และสาระสำคัญ คือผลการวิจัย

12.การเขียนส่วนเนื้อหาของรายงาน เป็นส่วนสำคัญที่สุด

  • หลักการเขียน :~
    • เอกภาพ =  ไม่มีส่วนสร้างความรำคาญ
    • สัมพันธภาพ  =  ไม่สร้างความวกวน
    • สารัตถภาพ    =  ไม่ “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง”
  • จำแนกเนื้อหารายงาน เป็น 3 ตอน

    • ความเบื้องต้น เพื่อจูงใจให้สนใจใคร่อ่าน ควรนำเสนอประเด็นต่อไปนี้ 1) ความเป็นมาของปัญหาหรือรายงาน (หลักการและ  เหตุผล) 2) ความพยายามครั้งก่อนๆในการแก้ปัญหา (ทบทวน) 3) จุดประสงค์หลักของการดำเนินงานตามรายงานนี้

    • เนื้อความสำคัญ เป็นหัวใจของรายงาน 1) เลือกเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับรายงาน 2) จัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา 3) ตัดเนื้อหาที่ไม่สำคัญออก 4) เพิ่มสิ่งที่คิดว่าสำคัญลงไป เพื่อ “ความพอเพียง”

    • สรุปและข้อเสนอแนะ
      1) สรุปให้ครอบคลุมความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีจัดทำ และผลความรู้ ความจริงในรายงาน 2) การเขียนข้อเสนอแนะในรายงาน เนื้อความรายงานต้อง เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง มีการสรุปอย่างสมเหตุสมผล สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้อเสนอแนะ (สารประเภทความคิด) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจดำเนินการต่อไป

13.การเขียนส่วนท้ายของรายงาน

  • การเขียนเนื้อหาของรายงานจะต้องมีการอ้างอิง และจัดทำบรรณานุกรม
    • ความหมาย การอ้างอิง      = การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล / บรรณานุกรม  = รายการอ้างอิงทั้งหมด
    • ความสำคัญ เป็นจรรยาบรรณ เป็นมารยาท เป็นการเคารพความรู้ความคิดภูมิปัญญาผู้อื่น เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ - ยอมรับ

14.ภาคผนวก. Appendix/ Appendices หมายถึง : รายละเอียดประกอบรายงาน อยู่ต่อจากบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง ความจำเป็น : การเขียนรายงานต้องสั้น กะทัดรัด กระชับ จึงมีความรู้-ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ส่วนของเนื้อหารายงานโดยตรง ที่นำเสนอในเนื้อเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าได้ทราบข้อมูลส่วนนี้จะทำให้เข้าใจรายงานชัดเจน และ ลึกซึ้ง มากขึ้น

  • ข้อควรคำนึงสำหรับภาคผนวก 1) ไม่ต้องพยายามหาข้อมูลมาเพียงเพื่อจะให้มีภาคผนวก 2) ใช้ดุลยพินิจคัดเลือกตรวจสอบ อย่าให้รายงานใหญ่โตรุ่มร่ามโดยใช่เหตุ 3) อาจแบ่งหมวดหมู่เป็นภาคผนวกย่อย ก. ข. ค.

15.สรุปหลักการจัดทำรายงาน

  • คิดให้ชัด
  • จัดให้เป็นระเบียบ
  • เรียบเรียงด้วยภาษาที่เหมาะสม
  • ตรวจทานอย่างชื่นชม
  • นางกอบกุล ชุติมันต์ ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางประไพศรี สุทธินวล คณะทำงานโครงการ
0.00 400.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมอบรม แนะนำตัว พร้อมทั้งบอกความคาดหวังในการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่พบว่า มีความคาดหวังในการเขียนรายงานที่สมบูรณ์ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ตรงความความต้องการของแหล่งทุน
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญของการจัดทำรายงาน ได้แก่

1.การสื่อสาร (Communication) - การสื่อ = การรับ = ฟัง ~ อ่าน = การส่ง = พูด ~ เขียน - สาร (MESSAGE) คือ ความรู้สึกนึกคิด สาร มี 4 ประเภท รู้  = ความรู้ ข้อเท็จจริง (Knowledge, Fact) / ความ (รู้) สึก  = ความรู้สึก (Sense) อารมณ์ ( Emotion) / นึก  =  --
จินตนาการ (Imagination) / คิด  = ความคิด ทรรศนะ ข้อคิดเห็น (Opinion)

2.การเขียน คือ กระบวนการ  = คิด → เขียน → ตรวจทาน / ส่งสาร = ความรู้สึกนึกคิด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์

3.การจัดทำรายงาน

  • รายงาน เป็นรูปแบบการเขียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการประชุม  รายงานประจำปี รายงานการสอบสวน
  • การจัดทำรายงาน ความหมาย “รายงาน  น. คำบอกกล่าวเรื่องราวที่ไปทำ ไปรู้ หรือไปเห็นมา / ก. บอกเรื่องของการงาน”
  • การจัดทำรายงาน  = การจัดทำเอกสารเพื่อบอกเรื่องการงานที่ไดhทำ ได้รู้ หรือได้ไปเห็นมา ได้ทำ =  รายงานการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุม รายงานประจำปี / ได้รู้ =  รายงานการศึกษาค้นคว้า สืบสวน สอบสวน รายงานการศึกษา วิจัย สำรวจ / ได้ไปเห็น  =  รายงานการทัศนศึกษา ดูงาน ตรวจงาน

ประเภทของรายงาน

  • รายงานปากเปล่า Oral Reports ในสถานการณ์พิเศษ
  • รายงานลายลักษณ์อักษร Written Reports
  • รายงานลายลักษณ์อักษรและการนำเสนอด้วยวาจาในที่ประชุม

องค์ประกอบของรายงาน ต้อง ครบถ้วน เป็นระเบียบ รูปแบบของรายงาน “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สวยงาม สม่ำเสมอ ถูกต้อง สบายตา เหมาะสม พอเหมาะ น่าหยิบ น่าอ่าน สะอาดเรียบร้อย

4.จรรยาบรรณของผู้ทำรายงาน

  • ซื่อสัตย์ สุจริต
  • โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • ติดคุณธรรมที่ปลายปากกา

5.คุณลักษณะของรายงานที่ดี

  • องค์ประกอบ คือ สิ่งที่ควรจะมี
  • รูปแบบ        คือ สภาพหรือลักษณะที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหา          คือ พลังในการสื่อสาร
  • ภาษา คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

6.เนื้อหาของรายงาน

  • มีเอกภาพ ( Unity ) มีความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
  • มีสัมพันธภาพ ( Coherence ) มีความเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
  • มีสารัตถภาพ ( Emphasis ) มีสาระชัดเจนหนักแน่น น่าเชื่อถือ

7.การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน ควรใช้ภาษามาตรฐานในการเขียน

  • ภาษาต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ภาษาพูด คำภาษาต่างประเทศ คำหยาบ คำสแลง คำย่อ คำผวน คำตัด คำภาษาถิ่น

8.ลักษณะภาษาที่ดีในการเขียนรายงาน

  • ถูกระดับ
  • ถูกไวยากรณ์
  • กะทัดรัด ประหยัด
  • ชัดเจน
  • ถูกความหมาย
  • ถูกความนิยม-วัฒนธรรม
  • สุภาพเรียบร้อย

9.ขั้นตอนการทำรายงาน

  • กำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดผู้รับทราบ
  • รวบรวมข้อมูล
  • วางโครงร่าง
  • วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความข้อมูล
  • จัดระเบียบเนื้อหา
  • เรียบเรียงเนื้อหา
  • ตรวจทาน
  • จัดทำรูปเล่ม

10.องค์ประกอบ (โครงสร้าง) ของรายงาน รายงานที่ดี ควรมีองค์ประกอบหรือโครงสร้าง 3 ส่วน คือ

  • ส่วนต้น (ส่วนนำ) องค์ประกอบส่วนต้น  ได้แก่

    • ปก สัญลักษณ์ คำย่อ และ ตัวย่อ (ถ้ามี)
    • คำนำ
    • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือบทคัดย่อ
    • กิตติกรรมประกาศ
    • สารบัญ
    • บัญชี (รายการ) ตาราง (ถ้ามี)
    • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (ถ้ามี) ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพประกอบ ภาพถ่าย แผนผัง
  • ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็นบท หรือ ตอน ได้แก่

    • ความเบื้องต้น หรือ บทนำ
    • เนื้อความสำคัญ หรือ ผลการทำ การรู้ การเห็น
    • สรุป และ ข้อเสนอแนะ
  • ส่วนท้าย ส่วนท้ายของรายงาน อาจประกอบด้วย

    • บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง
    • ภาคผนวก ได้แก่ ตาราง แผนภูมิ กราฟ แผนที่ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เอกสารหลักฐาน คำให้การ ใบเสร็จรับเงิน คำสั่ง เป็นต้น
    • เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสำรวจ ข้อสอบ
    • ดัชนี

11.การเขียนส่วนต้นของรายงาน

  • คำนำ สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป วัตถุประสงค์ของคำนำ สะท้อนความสำคัญ ความจำเป็น และลักษณะเฉพาะของรายงาน เพื่อสร้างความสนใจ มีสาระสำคัญดังนี้ :-

    • ชื่อรายงาน
    • วัตถุประสงค์ของรายงาน
    • ขอบข่ายเนื้อหา
    • ประโยชน์ที่จะได้รับ
    • คำอุทิศ
  • กิตติกรรมประกาศ  หรือ ประกาศคุณูปการ (Acknowledgment) ข้อความกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนช่วยเหลือและ ให้ความร่วมมือในการจัดทำรายงาน ระบุว่าขอบคุณใคร เรื่องอะไร อย่ากล่าวละเอียดมากเกินไป

  • สารบัญ ทำหน้าที่บอกส่วนประกอบทั้งหมด คือ ตอน บท และ หัวข้อต่างๆของรายงาน ตั้งแต่คำนำ จนถึงหน้าสุดท้าย  โดยมีเลขหน้ากำกับแต่ละส่วนเรียงตามลำดับ
  • บัญชี (รายการ) ตาราง ( List of Tables ) (ถ้ามี) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดในรายงาน รวมทั้งตารางในภาคผนวกด้วย
  • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (List of Illustrations/Figures) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของภาพประกอบทั้งหมด ในรายงาน เช่น แผนภูมิ กราฟ แผนผัง แผนที่ ภาพประกอบ และภาพถ่าย เป็นต้น
  • สัญลักษณ์ คำย่อ และตัวย่อ (List of Abbreviations and Symbols) เป็นส่วนอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ คำย่อและอักษรย่อที่ปรากฏใช้ในรายงาน ยกเว้นที่รู้กันโดยทั่วไป
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ( Executive Summary ) หมายถึง การสรุปภาพรวมของรายงาน ให้ใช้เวลาอ่านน้อยที่สุด แต่สามารถเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดที่นำเสนอไว้ในรายงาน
  • บทคัดย่อ ( Abstract ) เป็นการสรุปเนื้อหาของรายงานการวิจัย อย่างสั้น กะทัดรัด ชัดเจนแต่ได้ภาพรวม และสาระสำคัญ คือผลการวิจัย

12.การเขียนส่วนเนื้อหาของรายงาน เป็นส่วนสำคัญที่สุด หลักการเขียน :~

  • เอกภาพ =  ไม่มีส่วนสร้างความรำคาญ
  • สัมพันธภาพ  =  ไม่สร้างความวกวน
  • สารัตถภาพ    =  ไม่ “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง”

จำแนกเนื้อหารายงาน เป็น 3 ตอน

  • ความเบื้องต้น เพื่อจูงใจให้สนใจใคร่อ่าน ควรนำเสนอประเด็นต่อไปนี้ 1) ความเป็นมาของปัญหาหรือรายงาน (หลักการและ  เหตุผล) 2) ความพยายามครั้งก่อนๆในการแก้ปัญหา (ทบทวน) 3) จุดประสงค์หลักของการดำเนินงานตามรายงานนี้
  • เนื้อความสำคัญ เป็นหัวใจของรายงาน
    1) เลือกเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับรายงาน
    2) จัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา
    3) ตัดเนื้อหาที่ไม่สำคัญออก
    4) เพิ่มสิ่งที่คิดว่าสำคัญลงไป เพื่อ “ความพอเพียง”

  • สรุปและข้อเสนอแนะ

1) สรุปให้ครอบคลุมความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีจัดทำ และผลความรู้ ความจริงในรายงาน
2) การเขียนข้อเสนอแนะในรายงาน เนื้อความรายงานต้อง เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง มีการสรุปอย่างสมเหตุสมผล สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้อเสนอแนะ (สารประเภทความคิด) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจดำเนินการต่อไป

13.การเขียนส่วนท้ายของรายงาน

  • การเขียนเนื้อหาของรายงานจะต้องมีการอ้างอิง และจัดทำบรรณานุกรม
  • ความหมาย การอ้างอิง      = การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล / บรรณานุกรม  = รายการอ้างอิงทั้งหมด ความสำคัญ เป็นจรรยาบรรณ เป็นมารยาท เป็นการเคารพความรู้ความคิดภูมิปัญญาผู้อื่น เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ - ยอมรับ 14.ภาคผนวก. Appendix/ Appendices หมายถึง : รายละเอียดประกอบรายงาน อยู่ต่อจากบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง

  • ความจำเป็น : การเขียนรายงานต้องสั้น กะทัดรัด กระชับ จึงมีความรู้-ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ส่วนของเนื้อหารายงานโดยตรง ที่นำเสนอในเนื้อเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าได้ทราบข้อมูลส่วนนี้จะทำให้เข้าใจรายงานชัดเจน และ ลึกซึ้ง มากขึ้น

ข้อควรคำนึงสำหรับภาคผนวก

1) ไม่ต้องพยายามหาข้อมูลมาเพียงเพื่อจะให้มีภาคผนวก
2) ใช้ดุลยพินิจคัดเลือกตรวจสอบ อย่าให้รายงานใหญ่โตรุ่มร่ามโดยใช่เหตุ
3) อาจแบ่งหมวดหมู่เป็นภาคผนวกย่อย ก. ข. ค.

15.สรุปหลักการจัดทำรายงาน

  • คิดให้ชัด
  • จัดให้เป็นระเบียบ
  • เรียบเรียงด้วยภาษาที่เหมาะสม
  • ตรวจทานอย่างชื่นชม
  • นางกอบกุล ชุติมันต์  หัวหน้าโครงการ
  • นางประไพศรี สุทธินวล เลขานุการ/เอกสาร
  • นางเกษร ขวัญม่วง  การเงิน
  • นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง  พี่เลี้ยง
  • นางสาวอารีย์ คงแจ่ม ทีมงาน
0.00 2,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การรายงานผลการดำเนินงานทั้งเอกสารและเอกสารอิเล็คโทรนิคเป็นปัจจุบัน ตลอดจนงานเอกสารทางการเงินได้รับการตรวจติดตามจากพี่เลี้ยงและทีมงาน ถูกต้อง สมบูรณ์
  • สามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 2 รายงานการเงินโครงการ และรายงานการติดตามโครงการ ได้เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจัดให้ส่ง สจรส. ม.อ. และปิดโครงการบ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้งi

11,000.00 20 ผลผลิต
  • มีการประชุมคณะทำงานโครงการ จำนวน 5 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ วางแผนการทำงาน และจัดเตรียมอุปกรณ์ สถานที่ในการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • การจัดกิจกรรมมีความพร้อมทั้งสถานที่ และกระบวนการทำงาน ทำให้แต่ละกิจกรรมที่ดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 11 ครั้ง

  • คณะทำงาน คณะกรรมการชุมชน 20 คน
1,100.00 1,089.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงาน คณะกรรมการ/ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทราบถึงเป้าหมายการดำเนินกิจกรรมเวทีชี้แจงโครงการ และช่วยกันเตรียมความพร้อมในการทำงาน เช่น เรื่องสถานที่ หนังสือเชิญประชุม กระบวนการจัดการในเวทีต่างๆ เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ และสามารถสร้างการเรียนรู้ให้คนในชุมชนได้อย่างแท้จริง
  • คณะทำงาน
  • คณะกรรมการชุมชน
1,100.00 1,100.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงาน คณะกรรมการชุมชน มีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม โดยแต่ละคนทราบบทบาทหน้าที่ของตนเองในการจัดกิจกรรม
  • มีการช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม เช่น การหาที่วางเต็นท์ ช่วยกันจัดเตรียมเก้าอี้ประชุม
  • มีการยืนยันการนัดหมายกำหนดการกับนายกเทศมนตรีบ้านนาในการเปิดงาน และยืนยันวิทยากรในการอบรมให้ความรู้กับคนในชุมชน
  • คณะทำงาน
  • คณะกรรมการชุมชน 20 คน
1,100.00 1,100.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงาน คณะกรรมการชุมชนมีความรู้และเข้าใจ ในกิจกรรมโครงการ โดยนัดหมายทำกิจกรรมคัดเลือกแกนนำอาสาสมัครจัดการขยะในชุมชน วันที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ศาลา 200 ปี ชุมชนบ้านเหนือ
  • มีการวางแผนการคัดเลือกแกนนำอาสาสมัครจัดการขยะชุมชน จากที่เคยวางแผนไว้ 20 คน เหลือเพียง 10 คน โดยมอบหมายให้รับผิดชอบสำรวจข้อมูลคนละ 10 ครัวเรือน และมีค่าใช้จ่ายในการสำรวจข้อมูล โดยมีค่าพาหนะในการสำรวจให้ด้วย เนื่องจากบางคนต้องไปสำรวจบ้านที่ห่างจากบ้านของตนเอง
  • ประสานพี่เลี้ยงติดตามโครงการลงเยี่ยมและติดตามโครงการในพื้นที่เพื่อหนุนเสริมโครงการ
  • คณะกรรมการชุมชน
  • คณะทำงาน เจ้าหน้าที่เทศบาล

23 คน

1,100.00 1,100.00 20 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะกรรมการ คณะทำงาน รับทราบข้อมูลและเตรียมข้อมูลเพื่อนำไปจัดทำเป็นฐานข้อมูลขยะในชุมชน
  • มีการเตรียมความพร้อมสำหรับแกนนำอาสาสมัครเพื่อนำเสนอผลการลงพื้นที่จัดเก็บขยะในชุมชนให้ที่ประชุมรับทราบ
  • นัดหมายการทำกิจกรรมรวบรวมปริมาณขยะเพื่อจัดทำข้อมูลเสนอชุมชน ในวันที่ิ 30 กันยายน 2557 และเวทีรายงานการจัดเก็บขยะในชุมชน ในวันที่ 14 ตุลาคม 2557 โดยจะเรียนเชิญนายกเทศมนตรีบ้านนามาเป็นประธานเปิดงาน และเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับคนในชุมชนเรื่องการจัดการขยะในชุมชน และประสานงานพี่เลี้ยงติดตามโครการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • คณะกรรมการชุมชน

20 คน

1,100.00 1,100.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผน
  • จัดเตรียมสถานที่ ทำให้มีความพร้อมในการรองรับผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งสถานที่ในการรับประทานอาหารว่าง อาหารเที่ยง สถานที่ในการประชุม
  • ยืนยันกำหนดการจัดกิจกรรม และประสานพี่เลี้ยงติดตามโครงการเข้าร่วมกิจกรรม
  • ประชุมคณะทำงาน
  • คณะกรรมการชุมชน
1,100.00 900.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุมทำให้ได้แนวทางในการจัดหาคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนขยะเพื่อสวนมะพร้าวในชุมชน โดยที่ประชุมเสนอแนวทาง คือ
  1. ให้มีคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน อย่างน้อย 5-10 คน โดยให้มาจากความสมัครใจของคนในชุมชน
  2. ให้มีการระดมทุนจากขยะเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการสวนมะพร้าว เช่น การขอรับบริจาคขยะรีไซเคิลเพื่อนำมาขายนำเงินมาสนับสนุนกองทุน
  3. ให้มีการทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ในสวนมะพร้าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ย โดยการขอรับเศษอาหารจากงานเลี้ยง งานบุญในชุมชน เพื่อนำมาทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ใช้ในสวนมะพร้าวของชุมชน
  • คณะกรรมการชุมชนและคณะทำงาน
1,100.00 900.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุม มีการกำหนดให้จัดกิจกรรมการจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อสวนมะพร้าวในชุมชนในวันที่ 22 ธันวาคม 2557 ณ ศาลาสองร้อยปี และกำหนดให้เรียนเชิญ นางจีระนันท์ จันทร์เลื่อน นักพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลบ้านนา เป็นวิทยากรกระบวนการช่วยในการระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน และช่วยกันคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกองทุนสวนมะพร้าวของชุมชน จำนวน 5-10 คน
  • คณะกรรมการชุมชน คณะทำงาน แกนนำ
  • คณะผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล
  • ทีมสื่อ สสส. พร้อมพี่เลี้ยง นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส)
1,100.00 2,300.00 20 13 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุม มีการกำหนดให้จัดกิจกรรม เสาะหา สืบค้น ภูมิปัญญาในชุมชน ด้านการจัดการขยะในชุมชน และจัดทำข้อมูลครูภูมิปัญญาในชุมชนในวันที่ 20 มกราคม 2558  ณ ศาลาสองร้อยปี
  • การเตรียมความพร้อมในการต้อนรับสื่อ สสส. เช่น การเตรียมข้อมูล การเตรียมพื้นที่ การเตรียมคน
  • การต้อนรับทีมพี่เลี้ยงและสื่อ สสส.
      คณะสื่อ สสส.จำนวน 11 คน มาถึงเวลา ประมาณ 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน เสร็จแล้วทำการบันทึกการสัมภาษณ์ ได้แก่
      คณะผู้บริหารของเทศบาลตำบลบ้านนา ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะทำงาน ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ สัมภาษณ์หัวหน้าโครงการเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ และผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากปิดโครงการ   จากนั้นได้พาสื่อ สสส.ไปเยี่ยมบ้าน จำนวน 5 หลัง ได้แก่   บ้านนาเกษร สุวรรณ   บ้านนางสาวพรเพ็ญ พัฒนสิงห์   ศาลาชุมชนบ้านเหนือ   บ้านนายจรัญ พัฒน์จร   บ้านนางวรรณา ทองสีเขียว
      โดยไปเยี่ยมบ้านหัวหน้ากลุ่มสีต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงการร่วมมือของคนในชุมชนในการจัดการขยะ  โดยสื่อได้ถ่ายทำวีดีทัศน์เผยแพร่การดำเนินโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ
  • คณะกรรมการกองทุนขยะเพื่อสวนมะพร้าวชุมชน
1,100.00 1,100.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากกิจกรรมการค้นหาภูมิปัญญา พบว่า นางสุชาดา ขวัญจิต นางกมลทิพย์ ชัยเจริญ และนางรมิตา ซีบังเกิด มีความรู้ ความสามารถในการแปรรูปถุงน้ำยาปรับผ้านุ่มให้เป็นหมวกได้ ที่ประชุมจึงได้คัดเลือกนางสุชาดา ขวัญจิต นางกมลทิพย์ ชัยเจริญ และนางรมิตา ซีบังเกิด ให้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในกิจกรรม "ถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาการจัดการขยะสู่ชุมชนและเยาวชน" ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558
  • ประสานงานวิทยากรมาให้ความรู้กับคนในชุมชน
  • มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อาหาร สถานที่ เพื่อใช้ในการอบรมให้มีความพร้อมเพรียง
  • คณะกรรมการและคณะทำงาน
1,100.00 900.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม สามารถสรุปแผนการจัดกิจกรรมโครงการได้ ดังนี้

  • กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญา ที่กลุ่มเป้าหมายการถ่ายทอดภูมิปัญญา ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 คือประชาชน ในชุมชนบ้านเหนือ 50 คน  แลพการถ่ายทอดภูมิปัญญา ครั้งที่ 4 เป็นเยาวชน จำนวน 50 คน ประสานทางโรงเรียนขอนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม  และประชาชน ในชุมชนบ้านเหนือ 50 คน
  • มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีประสานงานขอเข้าร่วมกิจกรรมกับเยาวชนในชุมชนด้วย โดยจะมาร่วมกันเรียนรู้กิจกรรมที่ทางชุมชนจัด
  • ได้ประสานกับนางสุชาดา ขวัญจิต  นางละออง อาญา นส.วิภาสินี ชุติมันต์ และนางรมิตา ซีบังเกิด มาเป็นวิทยากรให้ความรู้  ซึ่งได้กำหนดดำเนินกิจกรรมในวันที่ 10 20  และ 26 มีนาคม 2558 นี้
  • ประสานการจัดเตรียมอาหาร สถานที่ เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม
  • ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน
0.00 900.00 20 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญา ที่กลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชน จำนวน 50 คน ส่งหนังสือเข้าร่วมกิจกรรม ได้ประสานกับนางปิยะนุช ฉวาง  และนางรมิตา ซีบังเกิด มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ซึ่งมีกำหนดดำเนินงานในวันที่ 6 เมษายน และ 20 เมษายน 2558
  • มีการประสานการจัดเตรียมอาหาร สถานที่ เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม

กิจกรรมหลัก : มีการรณรงค์เพื่อให้ชุมชนลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่โดยวิธีการต่างๆi

0.00 100 ผลผลิต
  • มีการติดป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่จัดการประชุมที่ศาลาเกษตร 200 ปี ชุมชนบ้านเหนือ เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ในสถานที่จัดกิจกรรมไม่มีการสูบหรี่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 0 ครั้ง

กิจกรรมหลัก : ค่าจัดทำไวนิลเขตปลอดบุหรี่i

1,000.00 0 ผลผลิต
  • จัดทำป้ายไวนิล "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" จำนวน 1 ป้ายขนาใหญ่ พร้อมกับใส่ชื่อโครงการไว้ในป้ายไวนิล เพื่อติดในสถานที่ที่มีการจัดกิจกรรมของโครงการ

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ในสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการ มีการรณรงค์ให้เป็นเขตปลอดบุหรี่

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • คนในชุมชนบ้านเหนือ 100 คน
1,000.00 1,000.00 100 100 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานได้สั่งทำป้ายไวนิลโครงการ และป้ายไวนิล "สถานที่นี่ ปลอดบุหรี่" ไว้ในแผ่นเดียวกัน เพื่อให้ไวนิลมีขนาดใหญ่ และสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อรณรงค์ให้คนที่เขาร่วมกิจกรรมของโครงการตระหนักถึงปัญหาบุหรี่ และไม่สูบบุหรี่ในสถานที่ที่มีป้ายรณรงค์ และสถานที่ในการดำเนินงานโครงการ
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
ธงสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม
  • มีการจัดทำธงผ้าเป็นสีต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเข้าร่วมจัดการขยะในชุมชน และจะสามารถใช้ในการกำกับติดตามการจัดการขยะในครัวเรือน และการประกวดหน้าบ้านน่ามองต่อไป
  • คนในชุมชนเกอดการตื่นตัว เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน เนืองจากเมื่อมองเห็นธงหน้าบ้านก็จะรู้ว่า ตนเองเข้าร่วมโครงการจัดการขยะในชุมชนแล้ว และต้องดูแลบ้านตนเอง รอบๆ บ้านให้สะอาดอยู่เสมอ
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์

 

 

2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางกอบกุล ชุมติมันต์ 88/3 หมู่ที่ 3 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • การวางแผนการทำงาน
  • การเป็นแบบอย่างในการจัดกิจกรรมลดขยะ
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

โครงสร้างการดำเนินงานโครงการ มีการจัดโครงการชัดเจน

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

คณะทำงานยังต้องเพิ่มศักยภาพและทักษะในการดำเนินงานโครงการ โดยเฉพาะเรื่องทักษะการเขียนรายงานผลการดำเนินงานโครงการ ทักษะการวางแผน ออกแบบกระบวนการทำงาน

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ผลลัพท์และผลสำเร็จของโครงการ จะสามารถเพิ่ีมประสิทธิผลได้อีก หากมีการออกแบบ วางแผนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เน้นสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

ชุมชนยังมีระบบและกลไกในการบริหารจัดการที่ไม่หลากหลาย เป็นการทำงานเฉพาะกลุ่ม

2.2 การใช้จ่ายเงิน

การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนกิจกรรมของโครงการ

2.3 หลักฐานการเงิน

หลักฐานการเงินมีบางส่วนที่ต้องแก้ไขให้ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้

ผลรวม 0 0 3 0
ผลรวมทั้งหมด 3 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และสามารถติดตามไได้ตามปกติ เห้นสมควรให้อนุมัติงบประมาณโครงการในงวดที 2 เพื่อให้ในการดำเนินงานโครงการต่อได้

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • วิทยาการที่ชุมชนเชิญมาอบรมให้ความรู้กับคนในชุมชน ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการอบรมด้วยการบรรยายปากเปล่าจาก powerpoint  ทำให้ไม่เกิดการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนในแง่ของการร่วมคิดในการจัดการปัญหาขยะของชุมชน
  • การนำเสนอข้อมูล หรือเรื่องราวต่างๆ ในชุมชน เพื่อให้เห็นผลที่ชัดเจน ควรมีภาพประกอบ หรือการนำเสนอที่เป็นสื่อสาระสนเทศ มากกว่าการนำเสนอแบบปากเปล่า
  • ในการจัดทำรายงานผลการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง พบว่า ยังขาดเนื้อหา รายละเอียดในการทำกิจกรรม ทำให้ไม่สามาระวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในชุมชนได้ ต้องมีการเติมเต็มเรื่องการเขียนรายงาน เพราะพี่เลี้ยงต้องคอยปรับแก้ให้ตลอด ดังนั้น ควรมีการพัฒนาศักยภาพคณะทำงานโครงการด้านการเขียนรายงานให้ด้วย

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong