แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 2

รหัสโครงการ 57-01507
สัญญาเลขที่ 57-00-0936

ชื่อโครงการ บ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา
รหัสโครงการ 57-01507 สัญญาเลขที่ 57-00-0936
ระยะเวลาตามสัญญา 1 มิถุนายน 2014 - 30 มิถุนายน 2015

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 31 มีนาคม 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 30 เมษายน 2015
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นางกอบกุล ชุติมันต์ 88/3 หมู่ที่ 3 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 094-5844674
2 นายศิริวัฒน์ ถุงทอง 42/1 หมู่ที่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี 089-2320315
3 นางประไพศรี สุทธินวล เทศบาลตำบลบ้านนา 081-6060340

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการจัดการปัญหาขยะ

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. มีคนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยร้อยละ 50 ของครัวเรือนทั้งหมด
  2. ขยะในชุมชนลดลงอย่างน้อย 10%

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. ชุมชนสะอาด มีการจัดการขยะในชุมชนอย่างเป็นระบบ ภูมิทัศน์ในชุมชนสวยงาม ชุมชนน่าอยู่
  2. ชุมชนมีแผนการจัดการขยะ
  3. เกิดองค์กรการจัดการขยะในชุมชน

2.

เพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาในการจัดการปัญหาขยะในชุมชน

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. เกิดการถ่ายทอด เผยแพร่ภูมิปัญญาในการจัดการขยะสู่เยาวชนและคนใน ชุมชนอย่างน้อย 5 ครั้ง
  2. มีการนำภูมิปัญญามาใช้ในการจัดการปัญหาขยะ อย่างน้อย 5 รูปแบบ
  3. มีจุดเรียนรู้การแปรรูปขยะ และสามารถสร้างรายได้เสริมจากการจัดการขยะในครัวเรือนได้ อย่างน้อย 1 แห่ง

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. มีการนำภูมิปัญญาด้านการจัดการขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดการปัญหาขยะในชุมชน
  2. คนในชุมชนมีการนำภูมิปัญญาด้านการจัดการขยะที่ได้รับการถ่ายทอดไปใช้จริงในครัวเรือน

3.

เพื่อสร้างชุมชนสุขภาวะ ลดเหล้า ลดบุหรี่

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ

  1. คนในชุมชนสามารถลด ละ เลิก เหล้า และบุหรี่- อย่างน้อย 20%ของกลุ่มเป้าหมาย
  2. อุบัติเหตุในชุมชนลดลง อย่างน้อย 20 %

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ

  1. คนในชุมชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น จากการ ลด ละ เลิก เหล้า และบุหรี่

4.

เพื่อหนุนเสริมและติดตามการดำเนินงานโครงการ

  1. สามารถจัดทำรายงานกิจกรรม รายงานความก้าวหน้า รายงานการเงินได้อย่างถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน
  2. ทีมงานมีศักยภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
  3. มีภาพถ่ายกิจกรรมตลอดทั้งโครงการ
  4. มีการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่
  5. มีการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.  สจรส.ม.อ. หรือพี่เลี้ยงโครงการทุกครั้ง
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมสืบค้นภูมิปัญญาด้านการจัดการขยะในชุมชนi

7,400.00 30 ผลผลิต
  • มีการจัดเวทีเพื่อสืบค้นภูมิปัญญาในชุมชน มีคนเข้าร่วมกิจกรรม 43 คน มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 30 คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • คนในชุมชนได้รู้ถึงภูมิปัญญาการจัดการขยะที่มีในชุมชน ที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญญาขยะของชุมชนได้ โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องจักรหรือเครื่องมือทำงานขนาดใหญ่ และไม่ต้องใช้ทุนในการทำงานมากเกินไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

  • ประชาชนในชุมชนบ้านเหนือ จำนวน 30 คน
  • สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 5 คน
  • รองนายกเทศมนตรี
  • นายกเทศมนตรี
  • เจ้าหน้าที่ของเทศบาล
  • เจ้าหน้าที่จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์์ธานี
  • นางจีระนันทร์ จันทร์เลื่อน วิทยากรกระบวนการ
7,400.00 7,400.00 30 43 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการระดมความคิดเห็น สามารถนำวัสดุที่เหลือใช้ในชุมชน แยกตามกลุ่มวัสดุ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

1.กระดาษ  สามารถนำเศษกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว มาทำเป็นของใช้ต่างๆ เช่น ตะกร้า หมวก ดอกไม้ แจกัน กล่องทิสชู พับนก โดยผู้ที่มีภูมิปัญญาในเรื่องนี้ คือ

  • นางจุฑาทิพย์ ฟุ้งตาปี  สามารถทำหมวกได้
  • นางวรรณา ใจสมุทร สามารถทำดอกไม้ และตระกร้าจากกระดาษได้

2.กิ่งไม้  สามารถนำมาทำป้ายชื่อ  ราวตากผ้า เครื่องจักรสาน ไม้สำหรับยึดเกาะของผัก (ค้างผัก) โดยมีผู้ที่นำสิ่งเหล่านีี้มาใช้ประโยชน์ คือ

  • นางเตือนใจ
  • นายศิริวัฒน์ ถุงทอง
  • นางมณฑา

3.ผ้า  สามารถนำมาทำผ้าเช็ดเท้า กระเป๋า หมอน ผ้าห่ม ผ้าถูพื้น

4.พลาสติก  สามารถนำมาทำโคมไฟจากขวดนำ้ แจกัน ช่อดอกไม้ ปลาตะเพียน โดยผู้ที่มีภูมิปัญญาด้านนี้ คือ

  • นางวรรณา ใจสมุทร
  • นางกอบกุล ชุมติมันต์
  • นางรมิตา ซีบังเกิด

5.กระป๋อง  สามารถนำมาทำโมบาย  โคมไฟ โดยผู้ที่มีภูมิปัญญาด้านนี้ คือ

  • นางวรรณา ใจสมุทร

คณะทำงานจะรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาที่มีใจชุมชนมาทำเป็นแฟ้มข้อมูลภูมิปัญญาเพื่อไว้ใช้ประโญชน์และถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีอยู่ให้คนในชุมชนและเยาวชนในชุมชนได้เรียนรู้ต่อไป

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญาการจัดการขยะสู่ชุมชนและเยาวชนi

72,000.00 320 ผลผลิต
  • มีการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการจัดการขยะที่ทำได้เองง่าย โดยคนในชุมชนที่มีความรู้ จำนวน 6 ครั้ง แต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วม ประมาณ 25 - 50 คน
  • ภูมิปัญญาที่มีการถ่ายทอด ได้แก่ การทำหมวกจากถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม การกระเป๋าจากขวดน้ำพลาสติก การทำกระเป๋าจากสายพลาสติก การเพ้นส์ขวดแก้ว การทำดอกไม้จากหลอดกาแฟ การสานหมวกจากทางมะพร้าว และการทำดอกบัวจากช้อนพลาสติก

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • ทำให้คนในชุมชน ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรม เห็นคุณค่าของขยะ เห็นว่าขยะแต่ละชิ้นที่จะทิ้งสามารถนำมาสร้างคุณค่า หรือมูลค่าเพิ่มได้ หากรู้จักนำมาประยุกต์ใช้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 6 ครั้ง

  • ประชาชนชุมชนบ้านเหนือ
12,000.00 12,003.00 50 35 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรซึ่งเป็นผู้รู้ในชุมชน คือ นางสุชาดา ขวัญจิต และนางกมลทิพย์ ชัยเจริญ ได้อธิบายขั้นตอนการทำหมวกจากถุงนำ้ยาปรับผ้านุ่ม โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ได้แก่
  1. ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ที่ใช้แล้ว
  2. กรรไกร
  3. ไหมพรม
  4. เข็มใหญ่
  5. ที่เจาะกระดาษ
  6. แม๊กเย็บกระดาษ
  7. เข็มแม๊ก
  8. กระดาษแข็งสำหรับตัดแบบ

วิธีทำ

  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มละ 8 - 9 คน  จากนั้นวิทยากรได้อธิบาย โดยนำถุงนำ้ยาที่เตรียมไว้มาตัดตามแบบ ส่วนที่เป็นหัว 6 ชิ่้น แล้วตัดตามแบบส่วนที่เป็นปีกอีก 6 ชิ้น ใช้ที่เจาะกระดาษ เจาะรูรอบขอบกระดาษตามตัวอย่าง ใช้ไหมพรมสอดทะแยงระหว่างชิ้น ให้ติดกันในส่วนหัว และปีก จากนั้นนำส่วนที่เป็นหัว และปีกมาต่อกัน ก็จะได้หมวก 1 ใบตามต้องการ

ผลจากการอบรม

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ และตั้งใจ ทำชิ้นงานในกลุ่มของตนเอง โดยแต่ละกลุ่มจะมีผลงานกลุ่มละ 1 ชิ่้นเป็นอย่างน้อย และให้แต่ละคนนำความรู้ที่ได้ ไปจัดทำผลงานของตนเอง โดยให้นำมาส่งในวันที่ 10 มีนาคม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมยินดีที่จะดำเนินการ
  • คณะทำงานโครงการ มีแผนในการนำหมวกที่ผลิตมาใช้ประโยชน์ในการเดินรณรงค์ลดการใช้ขยะ และใช้ในเทศกาลสงกรานต์ที่ทางชุมชนจะจัดขึ้นในเดือนเมษายนด้วย
  • ประชากรในชุมชนบ้านเหนือ 50 คน
12,000.00 12,100.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรซึ่งเป็นผู้รู้ในชุมชน คือ นางสุชาดา ขวัญจิต และนางรมิตา ซีบังเกิด ได้อธิบายขั้นตอนการกระเป๋าจากขวดน้ำพลาสติก โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ได้แก่

    • ขวดนำ้พลาสติกแบบขุ่น จำนวน 14 ใบ
    • ที่เจาะตาไก่
    • กรรไกร
    • ริบบิ้นลวด
    • หูกระเป๋า
    • วัสดุตบแต่ง

วิธีทำ

  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มละ 8 - 9 คน
  • วิทยากรได้อธิบาย โดยนำขวดน้ำพลาสติกตัดตารมแบบที่ต้องการ จำนวน 14 ชิ้น
  • นำริบบิ้นลวดร้อยแบบที่ตัดไว้ให้ติดต่อกันตามแบบที่กไหนด ให้ครบทั้ง 14 ชิ้น
  • นำหูกระเป๋าติดตามแบบ
  • ใช้วัสดุที่เตรียมไว้ตบแต่งให้สวยงาม  ก็จะได้กระเป๋า 1 ใบตามต้องการ

ผลจากการอบรม

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ และตั้งใจ ทำชิ้นงานในกลุ่มของตนเอง โดยแต่ละกลุ่มจะมีผลงานกลุ่มละ 1 ชิ่้นเป็นอย่างน้อย และให้แต่ละคนนำความรู้ที่ได้ ไปจัดทำผลงานของตนเอง โดยให้นำมาส่งในวันที่ 20 มีนาคม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมยินดีที่จะดำเนินการ และให้ผู้อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลคลในครอบครัว
  • สามารถนำขวดที่เหลือใช้ซึ่งเป็นขยะมาทำให้มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นกระเป๋าใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • ประชากรชุมชนบ้านเหนือ 30 คน
12,000.00 12,000.00 50 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรซึ่งเป็นผู้รู้ในชุมชน คือ นางละออง อาญา และนางรมิตา ซีบังเกิด ได้อธิบายขั้นตอนการทำกระเป๋าจากสายพลาสติกโดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ได้แก่

    • เส้นพลาสติกคละสี ความยาว 120 ซม. จำนวน 50 เส้น
    • สายยางหูกระเป๋าความยาว 1 เมตร 1 คู่
    • ลวดแข็ง ความยาว 1 เมตร 1 เส้น
    • กรรไกร

วิธีทำการทำกระเป๋าจากสายพลาสติก

  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มละ 7 - 8 คน
  • วิทยากรได้อธิบายวิธีการทำ ดังนี้
    • นำสายพลาสติกมาสานให้เป็นลายขัดแตะ ตั้งเส้นสี่ที่ 1  จำนวน 9 เส้น ขัดแตะกับสีที่ 1
    • ขึ้นรูปกระเป๋าให้เป็นทรงสี่เหลี่ยม นำสีที่ 2 จำนวน 4 เส้น สานให้รอบทรงกระเป๋า สี่ที่ 3 จำนวน 8 เส้น สานต่อขึ้นไป เรื่อยๆ  จนความยาวได้ขนาดตามที่ต้องการ
    • จากนั้นนำลวดมาดัดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม ตามรูปทรงกระเป๋า และใช้เส้นพลาสติกสานต่อและดึงให้แน่น
    • ติดหูกระเป๋าด้วยสายยาง และตบแต่งให้สวยงาม  ก็จะได้กระเป๋า 1 ใบตามต้องการ

ผลจากการอบรม

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ และตั้งใจทำชิ้นงานในกลุ่มของตนเอง โดยแต่ละกลุ่มจะมีผลงานกลุ่มละ 1 ชิ่้นเป็นอย่างน้อย และให้แต่ละคนนำความรู้ที่ได้ ไปจัดทำผลงานของตนเอง โดยให้นำมาส่งในวันที่ 20 มีนาคม ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมยินดีที่จะดำเนินการ และให้ผู้อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลคลในครอบครัว
  • สามารถนำเส้นพลาสติกมาแปรรูปเป็นของใช้ที่มีค่าได้
  • นักเรียนโรงเรียน อบจ.สฎ 3 (บ้านนา)
12,000.00 12,000.00 50 57 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรซึ่งเป็นผู้รู้ในชุมชน คือ นางสาววิภาสินี ชุติมันต์ และนางรมิตา ซีบังเกิด ได้อธิบายขั้นตอนการเพ้นส์ขวดแก้ว และการทำดอกไม้จากหลอดดูด  โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ได้แก่

1.การเพ้นส์ขวดแก้ว

  • ขวดแก้วใช้แล้ว จำนวน 20 ใบ
  • สีเพ้นส์แก้ว
  • สีเขียนขอบสำหรับวาดขึ้นลาย
  • ภู่กันเบอร์ 3
  • น้ำยาล้างเล็บ

2.การทำดอกไม้จากหลอดดูด

  • หลอดกาแฟ ขนาดยาว จำนวน 6 เส้น
  • เข็ม
  • กรรไกร
  • ลวดดอกไม้ไหว
  • ฟอร่าเทป
  • ก้านมะพร้าว

วิธีทำ

  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม  กลุ่มละ 10 - 12 คน  โดยจัดกิจกรรม 2 ฐาน ฐานที่ 1 เกี่ยวกับการเพ้นส์ขวดแก้ว ฐานที่ 2 การทำดอกไม้จากหลอดดูดและเส้นพลาสติก  ผู้เข้าอบรมสลับฐานเข้าอบรม  วิทยากรแต่ละฐานได้อธิบาย
    • ฐานที่ี 1  การเพ้นส์ขวดแก้ว  ล้างขวดให้สะอาด ตั้งไว้ให้แห้ง ใช้สีเขียนขอบ วาดลาย เดินเส้นตามที่ต้องการ โดยวาดรูปตีกรอบสำหรับลงสีได้ เพื่อสีที่เพ้นส์ไม่ให้ออกนอกกรอบที่เขียนไว้ รอจนแห้ง ประมาณ 20 นาที  ลงสีเพ้นตามต้องการ ใช้สีเพ้นส์ระบายตามช่องที่เขียนลายไว้ให้เต็มทุกช่องทุกมุม  และหากลงสีเลอะให้ใช้น้ำยาล้างเล็บเช็ดออก  ตั้งไว้ให้แห้ง จะได้ภาพตามที่ต้องการ นำไปใช้ได้
    • ฐานที่ 2  การทำดอกไม้จากหลอดดูด  พับครึ่งลอดดูด แล้วตัดเป็น 2 ท่อน ได้  12 อัน พับครึ่งแล้วใช้เข็มเจาะให้ครบทั้ง 12 อัน นำลวดร้อยหลอดที่ตัดไว้ แล้วดึงให้แน่น จนเป็นรูปดอก ตัดปลายหลอดดูดให้แหลมเพื่อแต่งดอก นำมามัดกับก้านมะพร้าวที่เตรียมไว้ ก็จะได้ดอกไม้ 1 ดอก

ผลจากการอบรม

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ และตั้งใจทำชิ้นงานในกลุ่มของตนเอง โดยแต่ละคนจะมีผลงานของตนเองฐานละ 1 ชิ่้นเป็นอย่างน้อย และให้แต่ละคนนำความรู้ที่ได้  ได้ให้ผู้อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อน บุคลคลในครอบครัว
  • เยาวชนเกิดความสนุกสนาน และได้รู้คุณค่าของสิ่งของที่เหลือใช้ เช่น ขวดแก้ว หลอดกาแฟ ว่าสามารถนำมาทำประโยชน์ได้
  • ประชากรในชุมชนบ้านเหนือ 25 คน
12,000.00 12,000.00 50 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรซึ่งเป็นผู้รู้ในชุมชน คือ นางปิยะนุช ฉวาง และนางรมิตา ซีบังเกิด ได้อธิบายขั้นตอนการสานหมวกจากทางมะพร้าว โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ได้แก่

    • ทางทะพร้าวสด ครึ่งทาง
    • มีด
    • ลวด หรือ เชือก
    • สีสเปรย์

วิธีการทำหมวกจากทางจาก

  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มละ 6 - 7 คน
  • วิทยากรได้อธิบาย โดยนำทางมะพร้าวสด ที่มีใบยาวและสมบูรณ์ ครึ่งทาง ใช้มีดเหลาให้ก้านบางพอขดเป็นวงกลมขนาดเท่าศรีษะได้ ใช้เชือกหรือลวดมัดให้แน่น
  • จับใบมะพร้าวให้คว่ำใบลง และเริ่มสานไปในทิศทางของใบมะพร้าว โดยเริ่มลายลอดทับ ลอดใบมะพร้วาว ขึ้นลงจนหมดใบ เป็นตัวปีกหมวก ดึงให้เข้ารูป
  • สานตัวหมวก โดนเริ่มสานใบแรกอ้อมใบตรงกันข้าม โดยวิธีการเดียวกันกับปีกหมวก จนหมดใบ และดึงให้เข้ารูป สอดใบสุดท้ายให้เรียบร้อย ตัดปลายใบออก ก็จะได้หมวกจากทางมะพร้าวตามต้องการ

    ผลการเรียนรู้

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ และตั้งใจทำชิ้นงานในกลุ่มของตนเอง โดยแต่ละกลุ่มจะมีผลงานกลุ่มละ 1 ชิ่้นเป็นอย่างน้อย และให้ผู้อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลคลในครอบครัว

  • คนในชุมชนเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์ของสิ่งรอบตัวที่มีในชุมชน
  • ประชากรในชุมชนบ้านเหนือ 32 คน
12,000.00 12,000.00 50 32 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรซึ่งเป็นผู้รู้ในชุมชน คือ นางสาววิภาสินี ชุตินันต์ และนางรมิตา ซีบังเกิด ได้อธิบายขั้นตอนการทำดอกบัวจากช้อนพลาสติกโดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ ได้แก่

    • ช้อนไอศครีมพลาสติกคละสี
    • ปืนกาว
    • แท่งกาว
    • กระดาษย่นสองหน้าสีเขียว
    • ลวดไม้ไหวเบอร์เล็ก เบอร์ใหญ่
    • แจกัน
    • เศษโฟม
    • เกสรสำเร็จรูป
    • กรรไกร
    • คีมตัดลวด

วิธีการทำดอกบัวจากช้อนพลาสติก

  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มละ 7 - 8 คน
  • วิทยากรได้อธิบาย โดยตัดหางช้อนออก ใช้ปืนกาวยึดติดกับเกสร เป็นกลีบดอกบัวชั้นที่ 1  จำนวน 4 กลีบ
  • จากนั้นชั้นที 2  ก็ติดสลับหว่าง  และทำชั้นต่อไปเรื่อยๆ ตามความต้องการขนาดของดอก
  • การทำใบบัว ตัดแบบเป็นรูปใบบัว ใช้ลวดไหวเบอร์เล็กเป็นโครงใบติดด้วยปืนกาว  จากนั้นก็นำมาประกอบ ตกแต่งให้สวยงามตามความต้องการ

ผลจากการอบรม

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจ และตั้งใจทำชิ้นงานในกลุ่มของตนเอง จนสามารถทำดอกบัวจากช้อนได้ โดยแต่ละกลุ่มจะมีผลงานกลุ่มละ 1 ชิ่้นเป็นอย่างน้อย และให้ผู้อบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคลคลในครอบครัว
  • ทำให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าของสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าและเกิดประโยชน์ได้

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมประชุมปฐมนิเทศ ประชุมติดตามโครงการ จัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ / ค่าจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ / ค่าภาพถ่ายกิจกรรมi

12,000.00 3 ผลผลิต
  • เข้าร่วมประชุมติดตามโครงการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน จำนวน 1 ครั้ง โดยมีคณะทำงานเข้าร่วม 2 คน
  • กิจกรรมที่เข้าร่วม ได้แก่ อบรมการจัดทำรายงานโครงการ

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • การอบรมการเขียนรายงาน ทำให้ผู้รับผิดชอบโครงการเข้าใจแนวทางการเขียนรายงานกิจกรรม และสามารถเขียนรายงานได้มีคุณภาพมากขึ้น

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 7 ครั้ง

  • คณะกรรมการโครงการชุมชนบ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา จำนวน 2 คน คือ
  1. นางกอบกุล  ชุติมันต์  หัวหน้าโครงการ
  2. นางประไพศรี  สุทธินวล  เลขานุการโครงการ
12,000.00 4,096.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้ารับการปฐมนิเทศน์มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแบบรายงานโครงการ การรายงานทางการเงิน การรายงานโครงการทางเวปไซต์
  • สามารถจัดทำรายงานกิจกรรมโครงการผ่านทางเว็บไซด์ได้
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกอบกุล ชุติมันต์
  • คณะทำงานโครงการ 1 คน
0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการที่เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศโครงการ และเตรียมความพร้อมในการทำงาน สามารถจัดทำรายงานโครงการทางเว็บไซด์ได้ และมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเงิน เอกสารการเงินของโครงการขึ้นบ้าง แต่ยังคงต้องติดตามให้คำแนะเพื่อให้สามารถดำเนินงานโครงการได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
  • คณะทำงานยังไม่สามารถลงรายละเอียดโครงการได้อย่างครบถ้วน เนื่องจากยังไม่ได้รับเอกสารสัญญาโครงการจาก สสส. จึงให้กลับมาดำเนินการจัดทำข้อมูลหลังจากได้รับสัญญาให้เรียบร้อยในภายหลัง
  1. นางกอบกุล ชุติมันต์  หัวหน้าโครงการ
  2. นางประไพศรี สุทธินวล เลขานุการ/เอกสาร
  3. นางเกษร ขวัญม่วง  การเงิน
0.00 700.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การรายงานผลการดำเนินงานทั้งเอกสารและเอกสารอิเล็คโทรนิคเป็นปัจจุบัน ตลอดจนงานเอกสารทางการเงินได้รับการตรวจติดตามจากพี่เลี้ยง ถูกต้อง สมบูรณ์
  • สามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 1 รายงานการเงินโครงการ และรายงานการติดตามโครงการ ได้เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจัดให้ส่ง สจรส. ม.อ.
  1. นางกอบกุล ชุติมันต์  หัวหน้าโครงการ
  2. นางประไพศรี สุทธินวล เลขานุการ/เอกสาร
  3. นางเกษร ขวัญม่วง  การเงิน
0.00 0.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนบ้านเหนือสามารถทำรายงานความก้าวหน้าโครงการงวดที่ 1  รายงานการเงินโครงการงวดที่ 1 รายงานการติดตามโครงการ ได้เสร็จ สามารถจัดส่งให้ สจรส. และ สสส. เพื่อขอรับการเบิกจ่ายโครงการในงวดที่ 2
  • เอกสารการเงินครบถ้วน ถูกต้อง มีการใช้จ่ายงบประมาณโครงการตามแผน านที่วางไว้
  • นางกอบกุล ชุติมันต์ ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางประไพศรี สุทธินวล คณะทำงานโครงการ
0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมอบรม แนะนำตัว พร้อมทั้งบอกความคาดหวังในการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่พบว่า มีความคาดหวังในการเขียนรายงานที่สมบูรณ์ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ตรงความความต้องการของแหล่งทุน
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญของการจัดทำรายงาน ได้แก่

1.การสื่อสาร (Communication)

  • การสื่อ = การรับ = ฟัง ~ อ่าน = การส่ง = พูด ~ เขียน
  • สาร (MESSAGE) คือ ความรู้สึกนึกคิด สาร มี 4 ประเภท รู้  = ความรู้ ข้อเท็จจริง (Knowledge, Fact) / ความ (รู้) สึก  = ความรู้สึก (Sense) อารมณ์ ( Emotion) / นึก  = จินตนาการ (Imagination) / คิด  = ความคิด ทรรศนะ ข้อคิดเห็น (Opinion)

2.การเขียน คือ กระบวนการ  = คิด → เขียน → ตรวจทาน / ส่งสาร = ความรู้สึกนึกคิด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์
3.การจัดทำรายงาน

  • รายงาน เป็นรูปแบบการเขียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการประชุม  รายงานประจำปี รายงานการสอบสวน
  • การจัดทำรายงาน ความหมาย “รายงาน  น. คำบอกกล่าวเรื่องราวที่ไปทำ ไปรู้ หรือไปเห็นมา / ก. บอกเรื่องของการงาน”
  • การจัดทำรายงาน  = การจัดทำเอกสารเพื่อบอกเรื่องการงานที่ไดhทำ ได้รู้ หรือได้ไปเห็นมา ได้ทำ =  รายงานการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุม รายงานประจำปี / ได้รู้ =  รายงานการศึกษาค้นคว้า สืบสวน สอบสวน รายงานการศึกษา วิจัย สำรวจ / ได้ไปเห็น  =  รายงานการทัศนศึกษา ดูงาน ตรวจงาน
  • ประเภทของรายงาน
    • รายงานปากเปล่า Oral Reports ในสถานการณ์พิเศษ
    • รายงานลายลักษณ์อักษร Written Reports
    • รายงานลายลักษณ์อักษรและการนำเสนอด้วยวาจาในที่ประชุม
  • องค์ประกอบของรายงาน ต้อง ครบถ้วน เป็นระเบียบ
  • รูปแบบของรายงาน “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สวยงาม สม่ำเสมอ ถูกต้อง สบายตา เหมาะสม พอเหมาะ น่าหยิบ น่าอ่าน สะอาดเรียบร้อย

4.จรรยาบรรณของผู้ทำรายงาน

  • ซื่อสัตย์ สุจริต
  • โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • ติดคุณธรรมที่ปลายปากกา

5.คุณลักษณะของรายงานที่ดี

  • องค์ประกอบ คือ สิ่งที่ควรจะมี
  • รูปแบบ        คือ สภาพหรือลักษณะที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหา          คือ พลังในการสื่อสาร
  • ภาษา          คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

6.เนื้อหาของรายงาน

  • มีเอกภาพ ( Unity ) มีความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
  • มีสัมพันธภาพ ( Coherence ) มีความเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
  • มีสารัตถภาพ ( Emphasis ) มีสาระชัดเจนหนักแน่น น่าเชื่อถือ

7.การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน ควรใช้ภาษามาตรฐานในการเขียน

  • ภาษาต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ภาษาพูด คำภาษาต่างประเทศ คำหยาบ คำสแลง คำย่อ คำผวน คำตัด คำภาษาถิ่น

8.ลักษณะภาษาที่ดีในการเขียนรายงาน

  • ถูกระดับ
  • ถูกไวยากรณ์
  • กะทัดรัด ประหยัด
  • ชัดเจน
  • ถูกความหมาย
  • ถูกความนิยม-วัฒนธรรม
  • สุภาพเรียบร้อย

9.ขั้นตอนการทำรายงาน

  • กำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดผู้รับทราบ
  • รวบรวมข้อมูล
  • วางโครงร่าง
  • วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความข้อมูล
  • จัดระเบียบเนื้อหา
  • เรียบเรียงเนื้อหา
  • ตรวจทาน
  • จัดทำรูปเล่ม

10.องค์ประกอบ (โครงสร้าง) ของรายงาน รายงานที่ดี ควรมีองค์ประกอบหรือโครงสร้าง 3 ส่วน คือ

  • ส่วนต้น (ส่วนนำ) องค์ประกอบส่วนต้น  ได้แก่

    • ปก
    • สัญลักษณ์ คำย่อ และ ตัวย่อ (ถ้ามี)
    • คำนำ                                   
    • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือบทคัดย่อ
    • กิตติกรรมประกาศ
    • สารบัญ
    • บัญชี (รายการ) ตาราง (ถ้ามี)
    • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (ถ้ามี) ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพประกอบ ภาพถ่าย แผนผัง
  • ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็นบท หรือ ตอน ได้แก่

    • ความเบื้องต้น หรือ บทนำ
    • เนื้อความสำคัญ หรือ ผลการทำ การรู้ การเห็น
    • สรุป และ ข้อเสนอแนะ
  • ส่วนท้าย ส่วนท้ายของรายงาน อาจประกอบด้วย

    • บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง
    • ภาคผนวก ได้แก่ ตาราง แผนภูมิ กราฟ แผนที่ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เอกสารหลักฐาน คำให้การ ใบเสร็จรับเงิน คำสั่ง เป็นต้น
    • เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสำรวจ ข้อสอบ
    • ดัชนี

11.การเขียนส่วนต้นของรายงาน

  • คำนำ สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป วัตถุประสงค์ของคำนำ สะท้อนความสำคัญ ความจำเป็น และลักษณะเฉพาะของรายงาน เพื่อสร้างความสนใจ มีสาระสำคัญดังนี้ :-

    • ชื่อรายงาน
    • วัตถุประสงค์ของรายงาน
    • ขอบข่ายเนื้อหา
    • ประโยชน์ที่จะได้รับ
    • คำอุทิศ
  • กิตติกรรมประกาศ  หรือ ประกาศคุณูปการ (Acknowledgment) ข้อความกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนช่วยเหลือและ ให้ความร่วมมือในการจัดทำรายงาน ระบุว่าขอบคุณใคร เรื่องอะไร อย่ากล่าวละเอียดมากเกินไป

  • สารบัญ ทำหน้าที่บอกส่วนประกอบทั้งหมด คือ ตอน บท และ หัวข้อต่างๆของรายงาน ตั้งแต่คำนำ จนถึงหน้าสุดท้าย  โดยมีเลขหน้ากำกับแต่ละส่วนเรียงตามลำดับ
  • บัญชี (รายการ) ตาราง ( List of Tables ) (ถ้ามี) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดในรายงาน รวมทั้งตารางในภาคผนวกด้วย
  • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (List of Illustrations/Figures) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของภาพประกอบทั้งหมด ในรายงาน เช่น แผนภูมิ กราฟ แผนผัง แผนที่ ภาพประกอบ และภาพถ่าย เป็นต้น
  • สัญลักษณ์ คำย่อ และตัวย่อ (List of Abbreviations and Symbols) เป็นส่วนอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ คำย่อและอักษรย่อที่ปรากฏใช้ในรายงาน ยกเว้นที่รู้กันโดยทั่วไป
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ( Executive Summary ) หมายถึง การสรุปภาพรวมของรายงาน ให้ใช้เวลาอ่านน้อยที่สุด แต่สามารถเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดที่นำเสนอไว้ในรายงาน
  • บทคัดย่อ ( Abstract ) เป็นการสรุปเนื้อหาของรายงานการวิจัย อย่างสั้น กะทัดรัด ชัดเจนแต่ได้ภาพรวม และสาระสำคัญ คือผลการวิจัย

12.การเขียนส่วนเนื้อหาของรายงาน เป็นส่วนสำคัญที่สุด

  • หลักการเขียน :~
    • เอกภาพ =  ไม่มีส่วนสร้างความรำคาญ
    • สัมพันธภาพ  =  ไม่สร้างความวกวน
    • สารัตถภาพ    =  ไม่ “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง”
  • จำแนกเนื้อหารายงาน เป็น 3 ตอน

    • ความเบื้องต้น เพื่อจูงใจให้สนใจใคร่อ่าน ควรนำเสนอประเด็นต่อไปนี้ 1) ความเป็นมาของปัญหาหรือรายงาน (หลักการและ  เหตุผล) 2) ความพยายามครั้งก่อนๆในการแก้ปัญหา (ทบทวน) 3) จุดประสงค์หลักของการดำเนินงานตามรายงานนี้

    • เนื้อความสำคัญ เป็นหัวใจของรายงาน 1) เลือกเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับรายงาน 2) จัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา 3) ตัดเนื้อหาที่ไม่สำคัญออก 4) เพิ่มสิ่งที่คิดว่าสำคัญลงไป เพื่อ “ความพอเพียง”

    • สรุปและข้อเสนอแนะ
      1) สรุปให้ครอบคลุมความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีจัดทำ และผลความรู้ ความจริงในรายงาน 2) การเขียนข้อเสนอแนะในรายงาน เนื้อความรายงานต้อง เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง มีการสรุปอย่างสมเหตุสมผล สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้อเสนอแนะ (สารประเภทความคิด) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจดำเนินการต่อไป

13.การเขียนส่วนท้ายของรายงาน

  • การเขียนเนื้อหาของรายงานจะต้องมีการอ้างอิง และจัดทำบรรณานุกรม
    • ความหมาย การอ้างอิง      = การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล / บรรณานุกรม  = รายการอ้างอิงทั้งหมด
    • ความสำคัญ เป็นจรรยาบรรณ เป็นมารยาท เป็นการเคารพความรู้ความคิดภูมิปัญญาผู้อื่น เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ - ยอมรับ

14.ภาคผนวก. Appendix/ Appendices หมายถึง : รายละเอียดประกอบรายงาน อยู่ต่อจากบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง ความจำเป็น : การเขียนรายงานต้องสั้น กะทัดรัด กระชับ จึงมีความรู้-ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ส่วนของเนื้อหารายงานโดยตรง ที่นำเสนอในเนื้อเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าได้ทราบข้อมูลส่วนนี้จะทำให้เข้าใจรายงานชัดเจน และ ลึกซึ้ง มากขึ้น

  • ข้อควรคำนึงสำหรับภาคผนวก 1) ไม่ต้องพยายามหาข้อมูลมาเพียงเพื่อจะให้มีภาคผนวก 2) ใช้ดุลยพินิจคัดเลือกตรวจสอบ อย่าให้รายงานใหญ่โตรุ่มร่ามโดยใช่เหตุ 3) อาจแบ่งหมวดหมู่เป็นภาคผนวกย่อย ก. ข. ค.

15.สรุปหลักการจัดทำรายงาน

  • คิดให้ชัด
  • จัดให้เป็นระเบียบ
  • เรียบเรียงด้วยภาษาที่เหมาะสม
  • ตรวจทานอย่างชื่นชม
  • นางกอบกุล ชุติมันต์ ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นางประไพศรี สุทธินวล คณะทำงานโครงการ
0.00 400.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมอบรม แนะนำตัว พร้อมทั้งบอกความคาดหวังในการเข้าร่วมอบรมในครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่พบว่า มีความคาดหวังในการเขียนรายงานที่สมบูรณ์ มีเนื้อหาสาระสำคัญ ตรงความความต้องการของแหล่งทุน
  • ผศ.จรูญ ตันสูงเนิน อาจารย์คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ อบรมการจัดทำรายงานโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุม โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญของการจัดทำรายงาน ได้แก่

1.การสื่อสาร (Communication) - การสื่อ = การรับ = ฟัง ~ อ่าน = การส่ง = พูด ~ เขียน - สาร (MESSAGE) คือ ความรู้สึกนึกคิด สาร มี 4 ประเภท รู้  = ความรู้ ข้อเท็จจริง (Knowledge, Fact) / ความ (รู้) สึก  = ความรู้สึก (Sense) อารมณ์ ( Emotion) / นึก  =  --
จินตนาการ (Imagination) / คิด  = ความคิด ทรรศนะ ข้อคิดเห็น (Opinion)

2.การเขียน คือ กระบวนการ  = คิด → เขียน → ตรวจทาน / ส่งสาร = ความรู้สึกนึกคิด ให้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์

3.การจัดทำรายงาน

  • รายงาน เป็นรูปแบบการเขียนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการประชุม  รายงานประจำปี รายงานการสอบสวน
  • การจัดทำรายงาน ความหมาย “รายงาน  น. คำบอกกล่าวเรื่องราวที่ไปทำ ไปรู้ หรือไปเห็นมา / ก. บอกเรื่องของการงาน”
  • การจัดทำรายงาน  = การจัดทำเอกสารเพื่อบอกเรื่องการงานที่ไดhทำ ได้รู้ หรือได้ไปเห็นมา ได้ทำ =  รายงานการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุม รายงานประจำปี / ได้รู้ =  รายงานการศึกษาค้นคว้า สืบสวน สอบสวน รายงานการศึกษา วิจัย สำรวจ / ได้ไปเห็น  =  รายงานการทัศนศึกษา ดูงาน ตรวจงาน

ประเภทของรายงาน

  • รายงานปากเปล่า Oral Reports ในสถานการณ์พิเศษ
  • รายงานลายลักษณ์อักษร Written Reports
  • รายงานลายลักษณ์อักษรและการนำเสนอด้วยวาจาในที่ประชุม

องค์ประกอบของรายงาน ต้อง ครบถ้วน เป็นระเบียบ รูปแบบของรายงาน “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สวยงาม สม่ำเสมอ ถูกต้อง สบายตา เหมาะสม พอเหมาะ น่าหยิบ น่าอ่าน สะอาดเรียบร้อย

4.จรรยาบรรณของผู้ทำรายงาน

  • ซื่อสัตย์ สุจริต
  • โปร่งใส ตรวจสอบได้
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  • ติดคุณธรรมที่ปลายปากกา

5.คุณลักษณะของรายงานที่ดี

  • องค์ประกอบ คือ สิ่งที่ควรจะมี
  • รูปแบบ        คือ สภาพหรือลักษณะที่ควรจะเป็น
  • เนื้อหา          คือ พลังในการสื่อสาร
  • ภาษา คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

6.เนื้อหาของรายงาน

  • มีเอกภาพ ( Unity ) มีความเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน
  • มีสัมพันธภาพ ( Coherence ) มีความเป็นระบบระเบียบ ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวกัน
  • มีสารัตถภาพ ( Emphasis ) มีสาระชัดเจนหนักแน่น น่าเชื่อถือ

7.การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน ควรใช้ภาษามาตรฐานในการเขียน

  • ภาษาต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น ภาษาพูด คำภาษาต่างประเทศ คำหยาบ คำสแลง คำย่อ คำผวน คำตัด คำภาษาถิ่น

8.ลักษณะภาษาที่ดีในการเขียนรายงาน

  • ถูกระดับ
  • ถูกไวยากรณ์
  • กะทัดรัด ประหยัด
  • ชัดเจน
  • ถูกความหมาย
  • ถูกความนิยม-วัฒนธรรม
  • สุภาพเรียบร้อย

9.ขั้นตอนการทำรายงาน

  • กำหนดวัตถุประสงค์
  • กำหนดผู้รับทราบ
  • รวบรวมข้อมูล
  • วางโครงร่าง
  • วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความข้อมูล
  • จัดระเบียบเนื้อหา
  • เรียบเรียงเนื้อหา
  • ตรวจทาน
  • จัดทำรูปเล่ม

10.องค์ประกอบ (โครงสร้าง) ของรายงาน รายงานที่ดี ควรมีองค์ประกอบหรือโครงสร้าง 3 ส่วน คือ

  • ส่วนต้น (ส่วนนำ) องค์ประกอบส่วนต้น  ได้แก่

    • ปก สัญลักษณ์ คำย่อ และ ตัวย่อ (ถ้ามี)
    • คำนำ
    • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร หรือบทคัดย่อ
    • กิตติกรรมประกาศ
    • สารบัญ
    • บัญชี (รายการ) ตาราง (ถ้ามี)
    • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (ถ้ามี) ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ภาพประกอบ ภาพถ่าย แผนผัง
  • ส่วนเนื้อหา ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็นบท หรือ ตอน ได้แก่

    • ความเบื้องต้น หรือ บทนำ
    • เนื้อความสำคัญ หรือ ผลการทำ การรู้ การเห็น
    • สรุป และ ข้อเสนอแนะ
  • ส่วนท้าย ส่วนท้ายของรายงาน อาจประกอบด้วย

    • บรรณานุกรม หรือ เอกสารอ้างอิง
    • ภาคผนวก ได้แก่ ตาราง แผนภูมิ กราฟ แผนที่ ภาพถ่าย ภาพประกอบ เอกสารหลักฐาน คำให้การ ใบเสร็จรับเงิน คำสั่ง เป็นต้น
    • เครื่องมือ เช่น แบบสอบถาม แบบสำรวจ ข้อสอบ
    • ดัชนี

11.การเขียนส่วนต้นของรายงาน

  • คำนำ สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ ไม่ยาวไม่สั้นเกินไป วัตถุประสงค์ของคำนำ สะท้อนความสำคัญ ความจำเป็น และลักษณะเฉพาะของรายงาน เพื่อสร้างความสนใจ มีสาระสำคัญดังนี้ :-

    • ชื่อรายงาน
    • วัตถุประสงค์ของรายงาน
    • ขอบข่ายเนื้อหา
    • ประโยชน์ที่จะได้รับ
    • คำอุทิศ
  • กิตติกรรมประกาศ  หรือ ประกาศคุณูปการ (Acknowledgment) ข้อความกล่าวขอบคุณผู้สนับสนุนช่วยเหลือและ ให้ความร่วมมือในการจัดทำรายงาน ระบุว่าขอบคุณใคร เรื่องอะไร อย่ากล่าวละเอียดมากเกินไป

  • สารบัญ ทำหน้าที่บอกส่วนประกอบทั้งหมด คือ ตอน บท และ หัวข้อต่างๆของรายงาน ตั้งแต่คำนำ จนถึงหน้าสุดท้าย  โดยมีเลขหน้ากำกับแต่ละส่วนเรียงตามลำดับ
  • บัญชี (รายการ) ตาราง ( List of Tables ) (ถ้ามี) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของตารางทั้งหมดในรายงาน รวมทั้งตารางในภาคผนวกด้วย
  • บัญชี (รายการ) ภาพประกอบ (List of Illustrations/Figures) เป็นรายการที่ระบุชื่อและตำแหน่งหน้าของภาพประกอบทั้งหมด ในรายงาน เช่น แผนภูมิ กราฟ แผนผัง แผนที่ ภาพประกอบ และภาพถ่าย เป็นต้น
  • สัญลักษณ์ คำย่อ และตัวย่อ (List of Abbreviations and Symbols) เป็นส่วนอธิบายความหมายของสัญลักษณ์ คำย่อและอักษรย่อที่ปรากฏใช้ในรายงาน ยกเว้นที่รู้กันโดยทั่วไป
  • บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ( Executive Summary ) หมายถึง การสรุปภาพรวมของรายงาน ให้ใช้เวลาอ่านน้อยที่สุด แต่สามารถเข้าใจสาระสำคัญทั้งหมดที่นำเสนอไว้ในรายงาน
  • บทคัดย่อ ( Abstract ) เป็นการสรุปเนื้อหาของรายงานการวิจัย อย่างสั้น กะทัดรัด ชัดเจนแต่ได้ภาพรวม และสาระสำคัญ คือผลการวิจัย

12.การเขียนส่วนเนื้อหาของรายงาน เป็นส่วนสำคัญที่สุด หลักการเขียน :~

  • เอกภาพ =  ไม่มีส่วนสร้างความรำคาญ
  • สัมพันธภาพ  =  ไม่สร้างความวกวน
  • สารัตถภาพ    =  ไม่ “น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง”

จำแนกเนื้อหารายงาน เป็น 3 ตอน

  • ความเบื้องต้น เพื่อจูงใจให้สนใจใคร่อ่าน ควรนำเสนอประเด็นต่อไปนี้ 1) ความเป็นมาของปัญหาหรือรายงาน (หลักการและ  เหตุผล) 2) ความพยายามครั้งก่อนๆในการแก้ปัญหา (ทบทวน) 3) จุดประสงค์หลักของการดำเนินงานตามรายงานนี้
  • เนื้อความสำคัญ เป็นหัวใจของรายงาน
    1) เลือกเฉพาะเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับรายงาน
    2) จัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา
    3) ตัดเนื้อหาที่ไม่สำคัญออก
    4) เพิ่มสิ่งที่คิดว่าสำคัญลงไป เพื่อ “ความพอเพียง”

  • สรุปและข้อเสนอแนะ

1) สรุปให้ครอบคลุมความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีจัดทำ และผลความรู้ ความจริงในรายงาน
2) การเขียนข้อเสนอแนะในรายงาน เนื้อความรายงานต้อง เป็นความจริง เป็นเรื่องที่ถูกต้อง มีการสรุปอย่างสมเหตุสมผล สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ ข้อเสนอแนะ (สารประเภทความคิด) มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจดำเนินการต่อไป

13.การเขียนส่วนท้ายของรายงาน

  • การเขียนเนื้อหาของรายงานจะต้องมีการอ้างอิง และจัดทำบรรณานุกรม
  • ความหมาย การอ้างอิง      = การระบุแหล่งที่มาของข้อมูล / บรรณานุกรม  = รายการอ้างอิงทั้งหมด ความสำคัญ เป็นจรรยาบรรณ เป็นมารยาท เป็นการเคารพความรู้ความคิดภูมิปัญญาผู้อื่น เป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ - ยอมรับ 14.ภาคผนวก. Appendix/ Appendices หมายถึง : รายละเอียดประกอบรายงาน อยู่ต่อจากบรรณานุกรมหรือเอกสารอ้างอิง

  • ความจำเป็น : การเขียนรายงานต้องสั้น กะทัดรัด กระชับ จึงมีความรู้-ข้อมูลซึ่งไม่ใช่ส่วนของเนื้อหารายงานโดยตรง ที่นำเสนอในเนื้อเรื่องไม่ได้ แต่ถ้าได้ทราบข้อมูลส่วนนี้จะทำให้เข้าใจรายงานชัดเจน และ ลึกซึ้ง มากขึ้น

ข้อควรคำนึงสำหรับภาคผนวก

1) ไม่ต้องพยายามหาข้อมูลมาเพียงเพื่อจะให้มีภาคผนวก
2) ใช้ดุลยพินิจคัดเลือกตรวจสอบ อย่าให้รายงานใหญ่โตรุ่มร่ามโดยใช่เหตุ
3) อาจแบ่งหมวดหมู่เป็นภาคผนวกย่อย ก. ข. ค.

15.สรุปหลักการจัดทำรายงาน

  • คิดให้ชัด
  • จัดให้เป็นระเบียบ
  • เรียบเรียงด้วยภาษาที่เหมาะสม
  • ตรวจทานอย่างชื่นชม
  • นางกอบกุล ชุติมันต์  หัวหน้าโครงการ
  • นางประไพศรี สุทธินวล เลขานุการ/เอกสาร
  • นางเกษร ขวัญม่วง  การเงิน
  • นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง  พี่เลี้ยง
  • นางสาวอารีย์ คงแจ่ม ทีมงาน
0.00 2,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การรายงานผลการดำเนินงานทั้งเอกสารและเอกสารอิเล็คโทรนิคเป็นปัจจุบัน ตลอดจนงานเอกสารทางการเงินได้รับการตรวจติดตามจากพี่เลี้ยงและทีมงาน ถูกต้อง สมบูรณ์
  • สามารถจัดทำรายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดที่ 2 รายงานการเงินโครงการ และรายงานการติดตามโครงการ ได้เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจัดให้ส่ง สจรส. ม.อ. และปิดโครงการบ้านเหนือสะอาด ชุมชนสดใส ประชาร่วมใจพัฒนา

กิจกรรมหลัก : การประกวดหน้าบ้านน่ามอง ยกย่องคนรักษาความสะอาดi

12,200.00 100 ผลผลิต
  • มีการจัดกิจกรรมย่อย เพื่อนำไปสู่การจัดการประกวดหน้าบ้านน่ามอง จำนวน  3 ครั้ง โดยแต่ละครั้งมีคณะกรรมการ และคนในชุมเข้าร่วม 20 -50 คน
  • กิจกรรมที่ดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การประกวด ได้แก่ ประชาสัมพันธ์ รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการหน้าบ้านน่ามอง การชี้แจงกติกา เกณฑ์การตัดสินการประกวดหน้าบ้านน่ามอง และให้คะแนนและตัดสินผลการประกวดหน้าบ้านน่ามอง

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • สามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการแก้ไขปัญหาขยะ กระตุ้นให้คนในชุมชนสนใจกิจกรรมของโครงการมากขึ้น ด้วยการจัดการประกวด มีการมอบรางวัล และจะจัดกิจกรรมครั้งใหญ่เพื่อยกย่องคนเหล่านั้นให้คนอื่นๆ ในชุมชนทราบ และนำไปเป็นแบบอย่าง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

  • ประชาชนในชุมชนบ้านเหนือ 100 ครัวเรือน  และสมัครเข้าร่วมโครงการ อย่างน้อย 30 ครัวเรือน
2,000.00 2,000.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนทราบข้อมูล ข่าวสารการจัดกิจกรรมประกวดน่าบ้านน่ามอง และสมัครเข้าร่วม 30 ครัวเรือน โดยอาสาสมัครได้แจกแบบใบสมัคร  ประชาสัมพันธ์เชิญชวน ชี้แจง
  • คณะทำงานและผู้สมัครที่เข้าร่วมโครงการ
5,100.00 5,100.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชุมคณะทำงานและผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยนางกอบกุล ชุติมันต์ หัวหน้าโครงการ และนางรมิตา  ซีบังเกิด ฝ่ายวิชาการของโครงการ ชี้แจง กำหนดเกณฑ์การตัดสิน ทั้งด้านภายในอาคาร ภายนอกอาคารและ สภาพแวดล้อม  พร้อมทั้งได้ประกาศผู้เข้าร่วมโครงการทราบ
  • ทำการคัดเลือก แต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวน 20 คน  โดยให้แบ่งพื้นที่ดูแลเพื่อการจัดการประกวด และเน้นยำ้ให้แกนนำลงพื้นที่รณรงค์ เชิญชวน ประชาสัมพันธ์เรื่องการประกวด และหนุนเสริมบ้านที่เข้าร่วมประกวดอย่างสม่ำเสมอ โดยคณะกรรมการ ประกอบด้วย
  1. นางจุฑาทิพย์ ฟุ้งตาปี
  2. นางพนิดา พัฒนสิงห์
  3. นายอำนวย สำลีวงศ์
  4. นางสาวพรเพ็ญ พัฒสิงห์
  5. นางวรรณา ทองสีเขียว
  6. นางเกษร สุวรรณ
  7. นางสาวชุลีวรรณ เทพเสนา
  8. นางจิรา ปลอดสกุล
  9. นายภาศ เทพเสนา
  10. นางวาสนา ปานทิพย์
  11. นางไมตรี ชูทุ่งยอ
  12. นางรมิตา ซีบีงเกิด
  13. นายพงศธร กมุกะมกุล
  14. นายจารุวัฒน์ ทองแก้ว
  15. นางกอบกุล ชุติมันต์
  16. นายชุมพล วงศ์สกุล
  17. นางปรีดา สละ
  18. นายประสิทธิ์ รักบำรุง
  19. นายจรัล พัฒน์จร
  20. นางบุญยิ่ง มีดี
  • แต่งตั้งคณะกรรมการคณะกรรมการประกวดบ้าน จำนวน 10 คน ประกอบด้วย
  1. นางจุฑาทิพย์ ฟุ้งตาปี
  2. นางพนิดา พัฒนสิงห์
  3. นายอำนวย สำลีวงศ์
  4. นางเกษร สุวรรณ
  5. นายภาศ เทพเสนา
  6. นางไมตรี ชูทุ่งยอ
  7. นางรมิตา ซีบีงเกิด
  8. นายพงศธร กมุกะมกุล
  9. นายจารุวัฒน์ ทองแก้ว 10.นายชุมพล วงศ์สกุล
  • เกณฑ์การประกวดบ้านน่าอยู่ “โครงการบริหารจัดการขยะโดยชุมชน” เทศบาลตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

1.ภายในอาคาร (อาคารสถานที่ บริเวณและสภาพแวดล้อมภายในบ้าน) (40)

  • โดยการสำรวจและสอบถาม (แนวทางการให้คะแนน พิจารณาหักคะแนนออกตามส่วนกิจกรรมที่ ไม่มีการดำเนินงาน)

1.1 อาคารสถานที่ (4)

1.1.1 อาคารสถานที่ พื้นผนัง เพดานอยู่ในสภาพดี มั่นคงแข็งแรง สะอาด ไม่มีหยากไย่ และไม่มีมูลฝอย

  • ครบ 2 ข้อ  ให้ 4 คะแนน
  • มี  1 ข้อ    ให้ 2 คะแนน
  • ไม่มี        ให้ 0 คะแนน
  • ความสะอาดของอาคาร สถานที่ เน้นภายในอาคารรวมถึงสภาพแวดล้อมภายในบ้าน

1.1.2 จัดแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วน ตามการใช้งาน

  • ความเหมาะสมของพื้นที่บ้าน

1.2 ส้วม

  1. พื้น  ผนัง  เพดาน  โถส้วม  ที่กดโถส้วม  โถปัสสาวะ สะอาด ไม่มีคราบสกปรก อยู่ในสภาพดีใช้งานได้
  2. น้ำใช้สะอาด  เพียงพอ  และไม่มีลูกน้ำยุง  ภาชนะเก็บกักน้ำ  ขันตักน้ำ  สะอาด  อยู่ในสภาพดี  ใช้งานได้
  3. กระดาษชำระเพียงพอต่อการใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ (อาจจำหน่ายหรือบริการฟรี)  หรือสายฉีดน้ำชำระที่สะอาด  อยู่ในสภาพดี  ใช้งานได้
  4. อ่างล้างมือ  ก๊อกน้ำ  กระจก  สะอาด  ไม่มีคราบสกปรก  อยู่ในสภาพดีและใช้งานได้
  5. สบู่ล้างมือ  พร้อมให้ใช้  ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
  6. ถังรองรับมูลฝอย  สะอาด  มีฝาปิด  อยู่ในสภาพดี  ไม่รั่วซึม  ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือหรือบริเวณใกล้เคียง
  7. มีการระบายอากาศดี  และ  ไม่มีกลิ่นเหม็น (5)

โดยใช้เกณฑ์  บ้านส่งเสริมสุขภาพดีเด่น

  • มี 7 ข้อ    ให้ 5 คะแนน
  • มี 5-6 ข้อ ให้ 4 คะแนน
  • มี 3-4 ข้อ  ให้ 3 คะแนน
  • มี 1-2 ข้อให้  2 คะแนน
  • ไม่มี  ให้ 0 คะแนน
  • ต้องผ่านทุกข้อยกเว้นการจัดบริการกระดาษชำระ หากไม่ได้จัดบริการจำเป็นต้องมีน้ำสำหรับการชำระล้างเพียงพอ ตลอดเวลาในการใช้งาน

1.ภายในอาคาร

  • อาคารสถานที่
  • บริเวณและสภาพแวดล้อมภายในบ้าน 1.3 ห้องครัว

1.3.1 ที่เตรียม/ปรุงอาหารสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซม.

1.3.2 ที่เก็บอาหารสด/แห้งสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซม.

1.3.3 ภาชนะใส่อาหารเก็บมิดชิดสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซม. (15)

  • ครบ 3 ข้อ  ให้ 15  คะแนน
  • มี  6  ข้อ    ให้ 12  คะแนน
  • มี  5  ข้อ  ให้ 10  คะแนน ควรคำนึงถึงหลักการ สุขาภิบาลอาหาร เพื่อลดการปนเปื้อน และโอกาสการแพร่กระจายโรคที่เป็นสาเหตุของโรคติดต่อทางเดินอาหาร

  • ไม่มีน้ำขัง ไม่มีเศษอาหารตกค้าง ไม่มีร่องรอยของสัตว์คุ้ยเขี่ย

2.ภายนอกอาคาร

  • บริเวณภายนอกอาคารและสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าน

1.4 การจัดการน้ำดื่ม /น้ำใช้ / ขยะมูลฝอย และน้ำเสีย น้ำทิ้ง

1.4.1. น้ำดื่ม สะอาด ใส ไม่มีตะกอน / น้ำต้ม/ น้ำที่ได้รับ อย.

1.4.2 น้ำใช้ ใส สะอาด / น้ำประปา / น้ำบาดาล / น้ำบ่อ

1.4.3 น้ำดื่ม/ น้ำใช้ พอเพียงใช้ตลอดปี

1.4.4 มีการรวบรวมและคัดแยกขยะ

- ขยะแห้ง
- ขยะนำกลับมาใช้ใหม่
- ขยะอันตราย

1.4.5 ถังขยะรองรับ เพียงพอ มีฝาปิด ไม่มีขยะมูลฝอย ล้นออกมานอก ถังขยะ

1.4.6 การกำจัดมูลสัตว์

  • มีการแยกคอกสัตว์เลี้ยงออกจากตัวบ้าน
  • ไม่มีกลิ่นมูลสัตว์บริเวณบ้าน

1.4.7 มีการกำจัดขยะ

  • ฝังกลบ
  • มีรถรับกำจัดขยะ
  • เตาเผาขยะมาตรฐาน (10)
  • ครบ 7 ข้อ  ให้ 10  คะแนน
  • มี  6  ข้อ    ให้ 8  คะแนน
  • มี  5  ข้อ    ให้ 6  คะแนน
  • มี  4  ข้อ    ให้ 4  คะแนน
  • มี  3  ข้อ    ให้ 2  คะแนน
  • มี  2  ข้อ      ให้ 1  คะแนน
  • มี 1 ข้อ /ไม่มี  ให้ 0 คะแนน
  • โดยการสำรวจ/สอบถาม

2.ภายนอกอาคาร

  • บริเวณภายนอกอาคารและสภาพแวดล้อมภายนอกบ้าน 1.5 การควบคุม / ป้องกันโรคระบาด

1.5.1 มีการควบคุม / กำจัดลูกน้ำยุงลาย โดยการ

- คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง
- การใช้ทรายอะเบท / เลี้ยงปลาหางนกยูงในแหล่งน้ำ
- การพ่นควันไล่ยุ่ง    (ควรมีการปฏิบัติอย่างน้อย 2 ข้อ จึงถือว่าผ่าน )

1.5.2 มีการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบ ให้มีการสำรวจ กำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

1.5.3 มีการควบคุม / กำจัดแมลง พาหะนำโรค / หนู /แมลงสาบ (6)

  • ครบ 3 ข้อ  ให้ 6  คะแนน
  • มี  2 ข้อ      ให้ 4  คะแนน
  • มี  1  ข้อ      ให้ 2  คะแนน
  • ไม่มี            ให้ 0  คะแนน
  • สุ่มตรวจดูภาชนะที่ใช้เก็บกักน้ำทุกอย่าง ถ้าพบลูกน้ำเพียง 1 ภาชนะเท่านั้นให้ผ่านโดยมีเงื่อนไข

บ้านที่เข้าประกวด จำนวน 30 หลัง ได้แก่

  1. นางอารีย์ มุสิกสาร  เลขที่ 20/1 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเขียว
  2. นางปรีดา สละ  เลขที่ 16/4 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีชมพู
  3. พ.ต.บำรุง ชูชาติ เลขที่ 15/2 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีชมพู
  4. นายอำนวย สำลีวงศ์  เลขที่ 15 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีชมพู
  5. นายจารุวัฒน์  ทองแก้ว  เลขที่ 58/1 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีชมพู
  6. นายเข็มเพชร  มีครุฑ  เลขที่ 55 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเหลือง
  7. นางเรวดี ศรีฤทธิ  เลขที่ 35/4 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเขียว
  8. นางอาภรณ์ ธีรสิงห์ เลขที่ 54/2 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเหลือง
  9. นายพวง พลสวัสดิ์ เลขที่ 48/1 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มส้ม
  10. นางจิรา ปลอดสกุล เลขที่ 30 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเขียว
  11. นางจิรา ปานทอง เลขที่ 53/10 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มส้ม
  12. นางสาวเกศกัญญา ทองสีเขียว เลขที่ 19/2 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเขียว
  13. นางวรรณา ทองสีเขียว  เลขที่ 19 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเขียว
  14. นางพรวิมล  ถุงทอง  เลขที่ 42/1 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มแดง
  15. นางนิภา  ทองศรี เลขที่ 47/7 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเหลือง
  16. นายนิยม เรืองศรี เลขที่ 114 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเหลือง
  17. นายพงศธร กมุกะมกุล เลขที่ 37/3 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีน้ำเงิน
  18. นางเพ็ญทิพย์ สารีบุตร เลขที่ 37/4 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มนำ้เงิน
  19. นางชวนชม กมุกะมกุล เลขที่ 37 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีน้ำเงิน
  20. นายวินัย  คงทอง  เลขที่ 47 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเหลือง
  21. นางสร้อยสุดา แจ่มใส  เลขที่ 35/3 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเขียว
  22. นายวีระศักดิ์ มีดี เลขที่ 42 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีแดง
  23. นางสาวพรทิพย์  แซ่หว่อง เลขที่ 43 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีแดง
  24. นางพนิดา พัฒนสิงห์ เลขที่ 38 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีแดง
  25. นายโกวิท เพชรโชติ  เลขที่ 22/4 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีชมพู
  26. นางมณฑา สินไชย  22/4 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีม่วง
  27. นายอารมณ์ ชูชาติ เลขที่ 22/1 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีม่วง
  28. นายประสิทธิ์ รักบำรุง เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเขียว
  29. นายชียวัฒน์ พุฒทอง เลขที่ 44 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีโอโรส
  30. นางสุนีย์ สารบุตร  เลขที่ 52/4 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีส้ม
5,100.00 5,100.00 20 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • หลังจากลงพื้นที่คณะกรรมการได้รวบรวมข้อมูล จากจำนวนบ้านที่เข้าประกวด จำนวน 30 หลังที่เข้าร่วมโครงการ ผลปรากฎดังนี้

1.บ้านที่ชนะการประกวดหน้าบ้านน่ามอง จำนวน 6 หลัง ได้แก่

  • นายเข็มเพชร  มีครุฑ  เลขที่ 55 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเหลือง หัวหน้ากลุ่มสีนางจุฑาทิพย์ ฟุ้งตาปี
  • นางอารีย์  มุสิกสาร  เลขที่ 20/1 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเขียว หัวหน่ากลุ่มนางวรรณา ทองสีเขียว
  • พ.ต.บำรุง ชูชาติ  เลขที่ 15/2 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มชมพู  หัวหน้ากลุ่มนางปรีปา สละ
  • นางเรวดี ศรีฤทธิ  เลขที่ 35/4 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเขียว  หัวหน้ากลุ่มนางจิรา ปลอดสกุล
  • นางอาภรณ์ ธีรสิงห์ เลขที่ 54/2 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเหลือง  หัวหน้ากลุ่มนางจุฑาทิพย์ ฟุ้งตาปี
  • นางจิรา ปลอดสกุล เลขที่ 30 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มเขียว  หัวหน้ากลุ่มนางจิรา ปลอดสกุล

2.บ้านผู้สูงอายุที่เป็นตัวอย่างในการดูแลบ้านให้สะอาด จำนวน 2 หลัง

  • นางจรูญ พิกุลทอง  เลขที่ 51 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มส้ม  หัวหน้ากลุ่ม นางไมตรี ชูทุ่งยอ
  • นางละออง อินทร์แทน  เลขที่ 17 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มชมพู  หัวหน้ากลุ่มนางปรีปา สละ

3.บ้านที่ได้รับเกียรติบัตรคนรักษาความสะอาด ซึ่งเป็นบ้านที่รักษาความสะอาดสมำ่เสมอ และเป็นแบบอย่างที่ดีในชุมชนได้ โดยคนในชุมชนเอาเป็นแบบอย่างได้ จำนวน 3 หลัง และบ้านทั้งได้แก่

  • นายจรัล พัฒน์จร เลขที่ 47/6 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเหลือง
  • นางสาวพรเพ็ญ พัฒนสิงห์  เลขที่ 39 หมู่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีม่วง
  • นางสาวพูนสิน  ชุติมันต์  เลขที่ 88 หมู่ 3 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มสีเหลือง

4.ผู้ให้การช่วยเหลือ สนับสนุนโครงการ

  • นายจารุวัฒน์ ทองแก้ว ผู็ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผลการจัดกิจกรรม ทำให้

  • คนในชุมชนทราบผลการดำเนินงานโครงการและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
  • ได้พื้นที่เรียนรู้ เผยแพร่ข่าวสาร และรูปแบบ วิธีการในการจัดการปัญหาขยะของชุมชนเพื่อให้คนในชุมชนนำไปเป็นแบบอย่าง

กิจกรรมหลัก : ประชุมคณะกรรมการ คณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้งi

11,000.00 20 ผลผลิต
  • มีการจัดประชุมคณะกรรมการชุมชน คณะทำงานโครงการ จำนวน 6 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วม ประมาณ 20 - 23 คน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • คณะทำงาน มีการติดตาม ประเมินผล และวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม คือ การร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมติดสินใจ ร่วมรับผลประโยชน์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 11 ครั้ง

  • คณะทำงาน คณะกรรมการชุมชน 20 คน
1,100.00 1,089.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงาน คณะกรรมการ/ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทราบถึงเป้าหมายการดำเนินกิจกรรมเวทีชี้แจงโครงการ และช่วยกันเตรียมความพร้อมในการทำงาน เช่น เรื่องสถานที่ หนังสือเชิญประชุม กระบวนการจัดการในเวทีต่างๆ เพื่อให้งานออกมามีคุณภาพ และสามารถสร้างการเรียนรู้ให้คนในชุมชนได้อย่างแท้จริง
  • คณะทำงาน
  • คณะกรรมการชุมชน
1,100.00 1,100.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงาน คณะกรรมการชุมชน มีความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรม โดยแต่ละคนทราบบทบาทหน้าที่ของตนเองในการจัดกิจกรรม
  • มีการช่วยกันจัดเตรียมสถานที่ในการจัดกิจกรรม เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม เช่น การหาที่วางเต็นท์ ช่วยกันจัดเตรียมเก้าอี้ประชุม
  • มีการยืนยันการนัดหมายกำหนดการกับนายกเทศมนตรีบ้านนาในการเปิดงาน และยืนยันวิทยากรในการอบรมให้ความรู้กับคนในชุมชน
  • คณะทำงาน
  • คณะกรรมการชุมชน 20 คน
1,100.00 1,100.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงาน คณะกรรมการชุมชนมีความรู้และเข้าใจ ในกิจกรรมโครงการ โดยนัดหมายทำกิจกรรมคัดเลือกแกนนำอาสาสมัครจัดการขยะในชุมชน วันที่ 21 สิงหาคม 2557 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ศาลา 200 ปี ชุมชนบ้านเหนือ
  • มีการวางแผนการคัดเลือกแกนนำอาสาสมัครจัดการขยะชุมชน จากที่เคยวางแผนไว้ 20 คน เหลือเพียง 10 คน โดยมอบหมายให้รับผิดชอบสำรวจข้อมูลคนละ 10 ครัวเรือน และมีค่าใช้จ่ายในการสำรวจข้อมูล โดยมีค่าพาหนะในการสำรวจให้ด้วย เนื่องจากบางคนต้องไปสำรวจบ้านที่ห่างจากบ้านของตนเอง
  • ประสานพี่เลี้ยงติดตามโครงการลงเยี่ยมและติดตามโครงการในพื้นที่เพื่อหนุนเสริมโครงการ
  • คณะกรรมการชุมชน
  • คณะทำงาน เจ้าหน้าที่เทศบาล

23 คน

1,100.00 1,100.00 20 23 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะกรรมการ คณะทำงาน รับทราบข้อมูลและเตรียมข้อมูลเพื่อนำไปจัดทำเป็นฐานข้อมูลขยะในชุมชน
  • มีการเตรียมความพร้อมสำหรับแกนนำอาสาสมัครเพื่อนำเสนอผลการลงพื้นที่จัดเก็บขยะในชุมชนให้ที่ประชุมรับทราบ
  • นัดหมายการทำกิจกรรมรวบรวมปริมาณขยะเพื่อจัดทำข้อมูลเสนอชุมชน ในวันที่ิ 30 กันยายน 2557 และเวทีรายงานการจัดเก็บขยะในชุมชน ในวันที่ 14 ตุลาคม 2557 โดยจะเรียนเชิญนายกเทศมนตรีบ้านนามาเป็นประธานเปิดงาน และเชิญวิทยากรมาให้ความรู้กับคนในชุมชนเรื่องการจัดการขยะในชุมชน และประสานงานพี่เลี้ยงติดตามโครการร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • คณะกรรมการชุมชน

20 คน

1,100.00 1,100.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ในการจัดทำแผน
  • จัดเตรียมสถานที่ ทำให้มีความพร้อมในการรองรับผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งสถานที่ในการรับประทานอาหารว่าง อาหารเที่ยง สถานที่ในการประชุม
  • ยืนยันกำหนดการจัดกิจกรรม และประสานพี่เลี้ยงติดตามโครงการเข้าร่วมกิจกรรม
  • ประชุมคณะทำงาน
  • คณะกรรมการชุมชน
1,100.00 900.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุมทำให้ได้แนวทางในการจัดหาคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุนขยะเพื่อสวนมะพร้าวในชุมชน โดยที่ประชุมเสนอแนวทาง คือ
  1. ให้มีคณะกรรมการบริหารจัดการกองทุน อย่างน้อย 5-10 คน โดยให้มาจากความสมัครใจของคนในชุมชน
  2. ให้มีการระดมทุนจากขยะเพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการสวนมะพร้าว เช่น การขอรับบริจาคขยะรีไซเคิลเพื่อนำมาขายนำเงินมาสนับสนุนกองทุน
  3. ให้มีการทำปุ๋ยหมัก เพื่อใช้ในสวนมะพร้าว เพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าปุ๋ย โดยการขอรับเศษอาหารจากงานเลี้ยง งานบุญในชุมชน เพื่อนำมาทำน้ำหมัก ปุ๋ยหมัก ใช้ในสวนมะพร้าวของชุมชน
  • คณะกรรมการชุมชนและคณะทำงาน
1,100.00 900.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุม มีการกำหนดให้จัดกิจกรรมการจัดตั้งกองทุนขยะเพื่อสวนมะพร้าวในชุมชนในวันที่ 22 ธันวาคม 2557 ณ ศาลาสองร้อยปี และกำหนดให้เรียนเชิญ นางจีระนันท์ จันทร์เลื่อน นักพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลบ้านนา เป็นวิทยากรกระบวนการช่วยในการระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน และช่วยกันคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกองทุนสวนมะพร้าวของชุมชน จำนวน 5-10 คน
  • คณะกรรมการชุมชน คณะทำงาน แกนนำ
  • คณะผู้บริหารท้องถิ่น ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล
  • ทีมสื่อ สสส. พร้อมพี่เลี้ยง นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส)
1,100.00 2,300.00 20 13 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการประชุม มีการกำหนดให้จัดกิจกรรม เสาะหา สืบค้น ภูมิปัญญาในชุมชน ด้านการจัดการขยะในชุมชน และจัดทำข้อมูลครูภูมิปัญญาในชุมชนในวันที่ 20 มกราคม 2558  ณ ศาลาสองร้อยปี
  • การเตรียมความพร้อมในการต้อนรับสื่อ สสส. เช่น การเตรียมข้อมูล การเตรียมพื้นที่ การเตรียมคน
  • การต้อนรับทีมพี่เลี้ยงและสื่อ สสส.
      คณะสื่อ สสส.จำนวน 11 คน มาถึงเวลา ประมาณ 12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน เสร็จแล้วทำการบันทึกการสัมภาษณ์ ได้แก่
      คณะผู้บริหารของเทศบาลตำบลบ้านนา ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล รองปลัดเทศบาล สมาชิกสภาท้องถิ่น คณะทำงาน ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ สัมภาษณ์หัวหน้าโครงการเกี่ยวกับวิธีการดำเนินการ และผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากปิดโครงการ   จากนั้นได้พาสื่อ สสส.ไปเยี่ยมบ้าน จำนวน 5 หลัง ได้แก่   บ้านนาเกษร สุวรรณ   บ้านนางสาวพรเพ็ญ พัฒนสิงห์   ศาลาชุมชนบ้านเหนือ   บ้านนายจรัญ พัฒน์จร   บ้านนางวรรณา ทองสีเขียว
      โดยไปเยี่ยมบ้านหัวหน้ากลุ่มสีต่างๆ เพื่อให้เห็นถึงการร่วมมือของคนในชุมชนในการจัดการขยะ  โดยสื่อได้ถ่ายทำวีดีทัศน์เผยแพร่การดำเนินโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ
  • คณะกรรมการกองทุนขยะเพื่อสวนมะพร้าวชุมชน
1,100.00 1,100.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากกิจกรรมการค้นหาภูมิปัญญา พบว่า นางสุชาดา ขวัญจิต นางกมลทิพย์ ชัยเจริญ และนางรมิตา ซีบังเกิด มีความรู้ ความสามารถในการแปรรูปถุงน้ำยาปรับผ้านุ่มให้เป็นหมวกได้ ที่ประชุมจึงได้คัดเลือกนางสุชาดา ขวัญจิต นางกมลทิพย์ ชัยเจริญ และนางรมิตา ซีบังเกิด ให้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ในกิจกรรม "ถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาการจัดการขยะสู่ชุมชนและเยาวชน" ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558
  • ประสานงานวิทยากรมาให้ความรู้กับคนในชุมชน
  • มีการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ อาหาร สถานที่ เพื่อใช้ในการอบรมให้มีความพร้อมเพรียง
  • คณะกรรมการและคณะทำงาน
1,100.00 900.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการประชุม สามารถสรุปแผนการจัดกิจกรรมโครงการได้ ดังนี้

  • กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญา ที่กลุ่มเป้าหมายการถ่ายทอดภูมิปัญญา ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 คือประชาชน ในชุมชนบ้านเหนือ 50 คน  แลพการถ่ายทอดภูมิปัญญา ครั้งที่ 4 เป็นเยาวชน จำนวน 50 คน ประสานทางโรงเรียนขอนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม  และประชาชน ในชุมชนบ้านเหนือ 50 คน
  • มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีประสานงานขอเข้าร่วมกิจกรรมกับเยาวชนในชุมชนด้วย โดยจะมาร่วมกันเรียนรู้กิจกรรมที่ทางชุมชนจัด
  • ได้ประสานกับนางสุชาดา ขวัญจิต  นางละออง อาญา นส.วิภาสินี ชุติมันต์ และนางรมิตา ซีบังเกิด มาเป็นวิทยากรให้ความรู้  ซึ่งได้กำหนดดำเนินกิจกรรมในวันที่ 10 20  และ 26 มีนาคม 2558 นี้
  • ประสานการจัดเตรียมอาหาร สถานที่ เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม
  • ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงาน
0.00 900.00 20 10 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญา ที่กลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชน จำนวน 50 คน ส่งหนังสือเข้าร่วมกิจกรรม ได้ประสานกับนางปิยะนุช ฉวาง  และนางรมิตา ซีบังเกิด มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ ซึ่งมีกำหนดดำเนินงานในวันที่ 6 เมษายน และ 20 เมษายน 2558
  • มีการประสานการจัดเตรียมอาหาร สถานที่ เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม

กิจกรรมหลัก : มีการรณรงค์เพื่อให้ชุมชนลด ละ เลิกเหล้าและบุหรี่โดยวิธีการต่างๆi

0.00 100 ผลผลิต
  • มีการติดป้ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในสถานที่จัดการประชุมที่ศาลาเกษตร 200 ปี ชุมชนบ้านเหนือ เพื่อรณรงค์ให้คนในชุมชนไม่สูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ
  • มีการนำสติกเกอร์รณรงค์เขตห้ามสูบบุหรี่ไปติดตามสถานที่สำคัญ สถานที่สาธารณะในชุมชน

ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • คนในชุมชนเมื่อป้ายรณรงค์พื้นที่ห้ามสูบบุหรี่ ก็มีการให้ความร่วมมือไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่ดังกล่าว

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 0 ครั้ง

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
ธงสัญลักษณ์ประจำกลุ่ม
  • มีการจัดทำธงผ้าเป็นสีต่างๆ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเข้าร่วมจัดการขยะในชุมชน และจะสามารถใช้ในการกำกับติดตามการจัดการขยะในครัวเรือน และการประกวดหน้าบ้านน่ามองต่อไป
  • คนในชุมชนเกอดการตื่นตัว เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชน เนืองจากเมื่อมองเห็นธงหน้าบ้านก็จะรู้ว่า ตนเองเข้าร่วมโครงการจัดการขยะในชุมชนแล้ว และต้องดูแลบ้านตนเอง รอบๆ บ้านให้สะอาดอยู่เสมอ
สิ่งประดิษฐ์จากขยะ
  • มีการนำขยะในชุมชนมาสอนการแปรรูปเป็นข้าวของเครื่องใช้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้คนเห็นคุณค่า และนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง
  • มีการนำขยะที่แปรรูปมาใช้ในกิจกรรมของชุมชน เช่น การนำหมวกจากถุงน้ำยาปรับผ้านุ่มมาใช้ในการเดินรณรงค์แทนการซื้อหมวกใหม่ การทำน้ำยาเอนกประสงค์ใช้ในครัวเรือนแทนการซื้อน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้า เป็นต้น
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
ธงสัญลักษณ์
  • การนำธงสีมาแสดงการรวมกลุ่มบ้าน และมีการมอบหมายภาระหน้าที่ให้คนในกลุ่มได้ทำหน้าที่ดูแลติดตามกันเอง แบบเพื่อดูแลเพื่อน เป็นการเสริมแรงการทำงานซึ่งกันและกัน
  • ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา มีการกระตุ้น และติดตามกันเองในการทำงาน
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางกอบกุล ชุติมันต์ 88/3 หมู่ที่ 3 ตำบลนาใต้ อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • การวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
  • การตัดสินใจ และการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

บ้านแกนนำชุมชนที่ได้รับรางวัลจากการประกวดหน้าบ้านน่ามอง

  • มีการจัดการขยะในบ้าน รอบบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ มีการแยกขยะรีไซเคิลเพื่อจำหน่าย

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
  • การเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทที่มีขยะจากเขตเมืองมากที่รอการจัดการ
  • เน้นการทำงาน การสร้างการเรียนรู้ในเขตชนบทก่อน แล้วค่อยขยายไปสู่เขตเมือง
  • ให้มีการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และขยายสู่ชุมชนใกล้เคียงที่สนใจ
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน
  • มีหลากหลาย สามารถหนุนเสริมการทำงานกันได้
1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน
  • เริ่มทักษะในการทำงานมากขึ้น
1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน
  • ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ
  • มีกลไกการทำงาน และมีการจัดการที่ดี
2.2 การใช้จ่ายเงิน
  • เป็นไปตามแผนงาน และงบประมาณ
2.3 หลักฐานการเงิน
  • สามารถตรวจสอบได้
ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น
  • โครงการสามารถจัดกิจกรรมได้ตามแผนการดำเนิน มีการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการตามแผน กิจกรรมที่จัดสามารถตอบวัตถุประสงค์ของโครงการ และสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

  • สิ่งที่ค้นพบจากโครงการ คือ การทำงานแบบมีส่วนร่วม และการใช้กลยุทธ กลวิธีต่างๆ เพื่อลดขยะในชุมชน เช่น การแปรรูปขยะ การกระตุ้นด้วยการแข่งขัน ทำให้คนในชุมชนเกิดการมีส่วนร่วม และเห็นความสำคัญของการจัดการขยะในครัวเรือน

สร้างรายงานโดย Yuttipong Kaewtong