แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 58-03918
สัญญาเลขที่ 58-00-1897

ชื่อโครงการ เกษตรอินทรีย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้
รหัสโครงการ 58-03918 สัญญาเลขที่ 58-00-1897
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นายศุภกิจ กลับช่วย
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 8 พฤศจิกายน 2015
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 26 กุมภาพันธ์ 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายบุญฤทธิ์ช่วยชู หมู่ 6บ้านปลักจอก ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช 0894767504

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้คนในชุมชนทำเกษตรอินทรีย์ลดการใช้สารเคมี

  1. ครัวเรือนใช้พื้นที่ว่างในครัวเรือนปลูกผักเกษตร อินทรีย์ 60 ครัวเรือน
  2. ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพจำนวน 60 ครัวเรือน
  3. มีแปลงสาธิตการปลูกผักชุมชน 1 แปลง
  4. มีครัวเรือนต้นแบบเกษตรอินทรีย์ 30 ครัวเรือน

2.

เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนและทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้อง

1.ครัวเรือนในชุมชนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ถูกต้องร้อยละ 80 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ

3.

เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการแก้ปัญหาโดยการทำเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงสารเคมี

  1. คนในชุมชนเข้าใจและเข้าร่วมโครงการ 60 ครัวเรือน
  2. คนในชุมชนได้รับการตรวจสุขภาพหาสารเคมีตกค้างร้อยละ 90
  3. มีแกนนำเยาวชนอาสาสำรวจข้อมูลชุมชน 1 กลุ่ม

4.

เพื่อให้เกิดสภาผู้นำเข้มแข็ง

  1. เกิดสภาผู้นำที่สามารถแก้ไขปัญหาชุมชนได้ 1 กลุ่มมีสมาชิกอย่างน้อย 20 คน ร่วมติดตาม ประเมินผล และร่วมพัฒนากิจกรรมในโครงการอย่างต่อเนื่อง

5.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำi

10,000.00 20 ผลผลิต

มีสมาชิกสภาผู้นำจำนวน 25 คน ร่วมกันประชุมเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการ การบริหารจัดการ การแก้ปัญหา และวางแผนดำเนินกิจกรรมตามโครงการจำนวน 4 ครั้ง มีการมอบหมายบทบาทหน้าที่ให้สภาผู้นำชุมชน จำนวน 1 ชุด มีประธานสภาผู้นำคือ นายบุญฤทธิ์ ช่วยชู ผู้ใหญ่บ้าน คณะทำงานมีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ คือ คณะกรรมการฝ่ายกิจกรรม ฝ่ายสถานที่ฝ่ายบัญชีการเงิน ฝ่ายประสานงาน ฝ่ายการตลาด โดยนัดร่วมประชุมหารือวางแผนดำเนินโครงการร่วมกันทุกเดือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีสภาผู้นำชุมชนมีสมาชิก 25 คน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่และร่วมกันบริการจัดการโครงการดันี้ 1.ประธานคือ นายบุญฤทธิ์ ช่วยชู ผู้ใหญ่บ้าน 2.คณะทำงานโครงการประกอบด้วย นายสุนันท์ ฟุ้งเฟื้อง นายสมเกียรติ จันทรมณี นายจรัญ แซ่ลิ่ม นางชใบพร เรืองจรัส 3.คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
3.1 คณะกรรมการฝ่ายกิจกรรม ประกอบด้วย นายสุนันท์ ฟุ้งเฟื้อง เป็นประธาน มีผู้ร่วมเป็นกรรมการ นายสนิท สุพรรณพงค์ นายบุญรวม ศิริมาศ นางปรียา แก้วปนทอง นางสาวธนาพร บุญเพ็ง นางสาวอัญชลีพร แก้วสุก นางพร้อม ศรีจันทร์ นางสุณี กังแฮ นางสมศรี สุกใส นางน้อย ประจันทร์พล 3.2 ฝ่ายสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ การประชุม ประกอบด้วย นายสำเนา ช่วยชู เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการ นางภาวิณี รักเถาว์ นางเพ็ญศรี ภักดี นางจุไร แซ่ลิ่ม นางสาววรรณชลี แซ่ลิ่ม
3.3 ฝ่ายบัญชี การเงิน โครงการประกอบด้วย นางชใบพร เรืองจรัส เป็นประธาน ผู้ร่วมเป็นกรรมการ นางกัลยา รักเถาว์ นางราตรี ประธานทรง นางกัลยา ทองคำ
3.4 ฝ่ายประสานงาน ประกอบด้วย นายจรัญ แซ่ลิ่ม เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการประกอบด้วย นางสาวยินดี ขวัญทอง นางอุไรวรรณ ขวัญทอง นางจุไรย์ โยธาศรี 3.5 ฝ่ายการตลาด ประกอบด้วย นางกัลยา อบอุ่นเป็นประธาน ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการประกอบด้วยนางปราณี ทองยอด นายสำราญ ภักดี โดยกำหนดให้แต่ละฝ่ายมีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้
1.ฝ่ายกิจกรรมมีน้าที่และความรับผิดชอบ ในการเตรียมความพร้อม ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมร่วมกับสมาชิก ให้ข้อแนะนำการทำกิจกรรมกำกับติดตาม และประเมินผลกิจกรรม 2.ฝ่ายสถานที่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ มีหน้าที่ ดังนี้ จักเตรียมสถานที่การประชุม การทำกิจกรรมต่างๆ จัดเตรียมเอกสารการประชุม สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ บันทึกภาพการประชุม การทำกิจกรรม บันทึกข้อมูลเข้าเว็บไซด์
3.ฝ่าบการเงินและบัญชี มีหน้าที่ ดังนี้ จัดทำบัญชี รายรับ - ราบจ่าย ของโครงการ จัดทำเอกสารทางการเงิน เบิกจ่ายเงินในโครงการ และจัดทำใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่ง ภาษี ณ ที่จ่าย
4.ฝ่ายการตลาด มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการรวบร่วมผลผลิตของสมาชิกออกสู่ตลาด ให้ข้อเสนอแนะในการปลูกพืช วิธีการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการทางตลาด ทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย ค่าผลผลิตของสมาชิก ที่ประชุมได้รับทราบแผนการดำเนินงานปฎิทินกิจกรรมโครงการและเห็นชอบให้มีการดำเนินการไปตามกำหนดการดังกล่าว และเห็นชอบในการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ แก่สมาชิกในสภาผู้นำและคณะทำงานด้วยความเข้าใจร่วมกัน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 12 ครั้ง

คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 9 คน อสม. 5 คนผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์ 4 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 4 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน รวม 24 คน

800.00 1,000.00 25 24 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต
1.มีผู้เข้าร่วมประชุมสภาผู้นำ จำนวน 24 คน 2.ได้คณะกรรมการเป็นคณะทำงานสภาผู้นำ 1 ชุด ได้คัดเลือกและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในชุมชน 3.แผนการดำเนินงาน1 ฉบับ

ผลลัพธ์

  • ผู้เข้าร่วมประชุมได้ตัดสินใจร่วมกันในการคัดเลือกและยอมรับการเป็นสมาชิกสภาผู้นำ และจะทำกิจกรรมโครงการร่วมกัน
  • มีแผนการดำเนินงานโดยให้ประชาชนในชุมชน สามารถร่วมตัวกันเป็นคณะทำงาน และสภาผู้นำ ในการร่วมคิด และจะร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ต่อไปได้
  • มีชุดรายชื่อสภาผู้นำ และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
  1. ประธานคณะทำงานโครงการ นายบุญฤทธิ์ ช่วยชู ผู้ใหญ่บ้าน
  2. คณะทำงานโครงการประกอบด้วย นายสุนันท์ ฟุ้งเฟื้อง นายสมเกียรติ จันทรมณี นายจรัญ แซ่ลิ่ม นางชใบพร เรืองจรัส
  3. คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
    3.1 คณะกรรมการฝ่ายกิจกรรม ประกอบด้วย นายสุนันท์ ฟุ้งเฟื้อง เป็นประธาน มีผู้ร่วมเป็นกรรมการ นายสนิท สุพรรณพงค์ นายบุญรวม ศิริมาศ นางปรียา แก้วปนทอง นางสาวธนาพร บุญเพ็ง นางสาวอัญชลีพร แก้วสุก นางพร้อม ศรีจันทร์ นางสุณี กังแฮ นางสมศรี สุกใส นางน้อย ประจันทร์พล 3.2 ฝ่ายสถานที่ สื่อ อุปกรณ์ การประชุม ประกอบด้วย นายสำเนา ช่วยชู เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการ นางภาวิณี รักเถาว์ นางเพ็ญศรี ภักดี นางจุไร แซ่ลิ่ม นางสาววรรณชลี แซ่ลิ่ม
    3.3 ฝ่ายบัญชี การเงิน โครงการประกอบด้วย นางชใบพร เรืองจรัส เป็นประธาน ผู้ร่วมเป็นกรรมการ นางกัลยา รักเถาว์ นางราตรี ประธานทรง นางกัลยา ทองคำ
    3.4 ฝ่ายประสานงาน ประกอบด้วย นายจรัญ แซ่ลิ่ม เป็นประธาน ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการประกอบด้วย นางสาวยินดี ขวัญทอง นางอุไรวรรณ ขวัญทอง นางจุไรย์ โยธาศรี 3.5 ฝ่ายการตลาด ประกอบด้วย นางกัลยา อบอุ่นเป็นประธาน ผู้เข้าร่วมเป็นกรรมการประกอบด้วยนางปราณี ทองยอด นายสำราญ ภักดี

โดยกำหนดให้แต่ละฝ่ายมีบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้

  1. ฝ่ายกิจกรรมมีน้าที่และความรับผิดชอบ ในการเตรียมความพร้อม ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง เป็นผู้นำในการจัดกิจกรรมร่วมกับสมาชิก ให้ข้อแนะนำการทำกิจกรรมกำกับติดตาม และประเมินผลกิจกรรม
  2. ฝ่ายสถานที่ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ มีหน้าที่ ดังนี้ จักเตรียมสถานที่การประชุม การทำกิจกรรมต่างๆ จัดเตรียมเอกสารการประชุม สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ บันทึกภาพการประชุม การทำกิจกรรม บันทึกข้อมูลเข้าเว็บไซด์
  3. ฝ่ายการเงินและบัญชี มีหน้าที่ ดังนี้ จัดทำบัญชี รายรับ - ราบจ่าย ของโครงการ จัดทำเอกสารทางการเงิน เบิกจ่ายเงินในโครงการ และจัดทำใบรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่ง ภาษี ณ ที่จ่าย
  4. ฝ่ายการตลาด มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการรวบร่วมผลผลิตของสมาชิกออกสู่ตลาด ให้ข้อเสนอแนะในการปลูกพืช วิธีการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการทางตลาด ทำบัญชี รายรับ - รายจ่าย ค่าผลผลิตของสมาชิก

คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน รวม 25 คน

800.00 1,000.00 20 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สภาผู้นำได้มีการประชุมและวางแผนเตรียมการดำเนินงานในการชี้แจงโครงการ โดยมีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบแต่ละฝ่าย กำหนดจำนวนเงินงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายในวันดังกล่าว ทุกคน ทุกฝ่ายมีความเข้าใจในกิจกรรมและบทบาทหน้าที่ ที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการให้ลุล่วงไปด้วยดี

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน

800.00 1,000.00 20 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 25 คน โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับประเด็นในการประชุมเพื่อออกแบบเครื่องมือ และปรึกษาหารือเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน

800.00 1,000.00 20 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีสภาผู้นำจำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมพูดคุยการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาในเรื่องการสำรวจข้อมูลของชุมชน และร่วมวางแผนการจัดกิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ได้ร่วมพูดคุย มอบหมายภาระกิจในการจัดกิจกรรม และวางแผนแก้ไขปัญหา

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน และตัวแทนเยาวชน 1 คน รวม 25 คน

800.00 1,000.00 20 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการประชุมสมาชิกสภาผู้นำ
  2. สมาชิกสภาผู้นำฝ่ายต่างๆ รับมอบหมายหน้าที่ ทั้งสถานที่ ประสานวิทยากร อาหารจัดเลี้ยงผู้เข้าร่วมโครงการและคณะวิทยากร
  3. การประชาสัมพันธ์โดยสภาผู้นำผู้แทนกลุ่มทั้ง 10 กลุ่ม และการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน

คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน ผู้นำการเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 คน ผู้นำภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 2 คน

800.00 1,000.00 25 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการประชุมสภาผู้นำ มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายในการเตรียมการจัดประชุมเพื่อทำกิจกรรมประเมินภาวะเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดของผู้เข้าร่วมโครงการ และกลุ่มเกษตรกรในชุมชน

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน 

800.00 1,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการประชุมสภาผู้นำ มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายในการเตรียมการติดตามการปฏิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน

1 มีการประชุมสภาผู้นำโดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน

2 มีการมอบหมายให้ตัวแทนสภาผู้นำกลุ่มละ 2 คนติดตามการบันทึกข้อมูลบัญชีครัวเรือนของชุมชนจากจำนวน 10 กลุ่มบ้าน

3 มีข้อเสนอแนะให้หาวิธีกระตุ้นการทำบัญชีครัวเรือนของชุมชน

สภาผู้นำจำนวน 20 คน

800.00 1,000.00 20 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการประชุมสภาผู้นำ มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายในการเตรียมการติดตามการปฏิบัติการจัดทำบัญชีครัวเรือน

1 มีการประชุมสภาผู้นำโดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน

2 มีการมอบหมายให้ตัวแทนสภาผู้นำกลุ่มละ 2 คนติดตามการบันทึกข้อมูลบัญชีครัวเรือนของชุมชนจากจำนวน 10 กลุ่มบ้าน

3 มีข้อเสนอแนะให้หาวิธีกระตุ้นการทำบัญชีครัวเรือนของชุมชน

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 9 คน อสม. 5 คน ตัวแทนกลุ่มออมทรัพย์1 คน ตัวแทนกลุ่มปุ๋ย 1 คน รวม 15 คน 

800.00 1,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการประชุมสภาผู้นำ มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบแต่ละฝ่ายในการเพื่อเตรียมการติดตามการดำเนินการปลูกผัก ทำปุ๋ย และบัญชีครัวเรือน
1 มีการประชุมสภาผู้นำโดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 15คน
2 มอบหมายหน้าที่เพื่อเตรียมการติดตามการดำเนินการปลูกผัก ทำปุ๋ย และบัญชีครัวเรือน

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน รวม 20 คน

800.00 1,000.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานได้นำเสนอผลการเยี่ยมเยียนสมาชิกโครงการ ปัญหาและอุปสรรคในการทำกิจกรรมและ มอบหมายหน้าที่ คณะทำงานในการจัดการมหกรรมเกษตรอินทรียย์บ้านปลักจอกเสริมรายได้

สภาผู้นำประกอบด้วยคณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 15 คน อสม. 5 คน รวม 20 คน

800.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ร่วมกันกำหนดวันจัดกิจกรรมมหกรรมเกษตรอินทรีย์ชุมชนในวันที่ 26 สิงหาคม 2559 และได้รับความร่วมมือจากภาคีเครืองข่ายประกอบด้วยผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี และเจ้าหน้าที่คณะนักเรียนและครูโรงเรียวัดพระอาสน์ รวมทั้งแกนนำผู้ใหญ่บ้านเข้ามาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

สมาชิกสาภผู้นำ จำนวน 20 คน

1,200.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมาชิกสภาผู้นำ ผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างๆ ได้กล่าวถึงงานที่รับผิดชอบ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน
ผลผลิต

  1. สมาชิกสภาผู้นำเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มการแบ่งหน้าที่กันทำ
  2. สมาชิกสภาผู้นำมีจิตสาธรณะมากขึ้น
  3. สมาชิกสภาผู้นำมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การแก้ปัญหา

ผลลัพธ์

  1. สมาชิกสภาผู้นำมีความสามารถในการทำงานเป็นทีม
  2. มีความรับผิดชอบ และแก้ปัญหา งานในหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม

กิจกรรมหลัก : จัดเวทีชี้แจงการดำเนินงานโครงการi

10,500.00 100 ผลผลิต

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน สภาผู้นำร่วมกันจัดเวทีชี้แจงโครงการโดยเชิญชวนประชาชนในหม่บ้านเขาร่วมรับฟังจำนวน 102 คน ประกอบด้วยเด็กและเยาวชนจำนวน 7 คน สมาชิก อบต.ไทยบุรี จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้านจำนวน 7 คน อสม. จำนวน 14 คน ประชาชนในหมู่บ้าน 72 คน ประธานสภาผู้นำได้ชี้แจงกติกาของโครงการทำความเข้าใจกับประชาชนหใ้ทราบถึงกิจกรรมของโครงการตลอดโครงการจำนวน 16 กิจกรรม และเปิดให้ที่ประชุมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ความร่วมมือ ความพร้อมในการทำกิจกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เสนอว่าให้มีการจัดกิจกรรม ให้ตรงกับวันหยุดงานในวันอาทิตย์ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งเพื่อให้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้เป็นส่วนใหญ่ หลังจากชี้แจงโครงการแล้วได้รับสมัตรผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน มีผู้สมัครครบตามเป้าหมาย


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผู้เข้าร่วมรับฟังการชี้แจงโครงการจากการเชิญชวนของคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมของโครงการและเข้าร่วมดำเนินกิจกรรมของโครงการ และร่วมกันนำเสนอข้อมูลเพื่อการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อบต.เยาวชน และประชาชนในหมู่บ้าน

10,500.00 10,165.00 100 103 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมรับฟังการชี้เแจงโครงการ จำนวน 103 คน
  2. มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจรายละเอียดโครงการหลักการและเหตุผลวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการโดยวางแผนร่วมกิจกรรมร่วมกันโดยผู้เข้าร่วมโครงการได้ยอมรับกติการ่วมกันของโครงการเพื่อให้ดำเนินกิจกรรมประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ผู้นำชุมชน กรรมการหมู่บ้าน อบต.เยาวชน และประชาชนในหมู่บ้าน

10,500.00 0.00 100 102 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วมรับฟังการชีเแจงโครงการ จำนวน 102 คน และมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน ซึ่งประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินโครงการร่วมไปถึงได้แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับโครงการและเข้าร่วมทำกิจกรรมตามโครงการ

กิจกรรมหลัก : ออกแบบเครื่องมือ และลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนi

7,000.00 50 ผลผลิต

มีแบบสำรวจข้อมูลชุมชน 1 ชุดได้ประเด็นที่จะทำสำรวจโดยเน้นข้อมูลชุมชนทั่วไป ข้อมูลรายรับ รายจ่าย หนี้สิน โดยเด็กและเยาวชน จำนวน 17 คนในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 100 ครัวเรือน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนมีเครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลของชุมชนในการจัดการข้อมูลให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของชุมชนและเป็นปัจจุบันจากการร่วมกันกำหนดหัวข้อของแบบสำรวจที่จะใช้ในการจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลของชุมนในประเด็นเรื่อง 1.รายรับรายจ่าย และการทำบัญชีครัวเรือน 2.การลงทุนในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร 3.การใช้ปุ๋ยเคมีการใช้ปุ๋ยอินทรีในรอบปีที่ผ่านมา 4.ความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของสารเคมีและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้สารเคมี ่และให้เยาวชนในชุมชนร่วมกันลงเก็บรวบรวมข้อมูลในชุมชน จำนวน 100 ครัวเรือน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

กลุ่มเยาวชน 17 คน ผู้รับผิดชอบโครงการ 4 คน สมาชิกสภาผู้นำ 20 คน และ สมาชิกโครงบบการ จำนวน 9 คน

7,000.00 6,250.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้แบบสอบถามข้อมูลในการสำรวจข้อมูลชุมชน
  2. เด็กและเยาวชน จำนวน 17 คนในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 100 ครัวเรือน
  3. เยาวชนได้ทำการรวบรวมข้อมูลจำนวน 100 ครัวเรือนเสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลา 1 สัปดาห์
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการได้ทำการสรุปข้อมูลจากแบบสำรวจเพื่อนำเสนอที่ประชุมเบื้องต้น

กิจกรรมหลัก : วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจi

6,500.00 50 ผลผลิต

มีสภาผู้นำ 20 ตัวแทนครัวเรือน 13 คน เยาวชน 2 คน ได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนเองโดยร่วมกันหาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางป้องกันแก้ไขจากการซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เล่าถึงประสบการณ์โดยผู้ที่มีความรู้ของชุมชนเกิดการรับรู้ข้อมูลของชุมชนร่วมกันและพร้อมจะร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีประเด็นจากการสำรวจข้อมูล ในเรื่อง รายได้ของครัวเรือนการจัดทำบัญชีครัวเรือน การลงทุนค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตรของครัวเรือน หนี้สินของครัวเรือนการออมของครัวเรือนการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการเกษตรความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี และภาวะการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีในชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

เกิดการเรียนรู้ของคนในชุมชนโดยมีสภาผู้นำชุมชน ตัวแทนครัวเรือนในชุมชนได้ศึกษาข้อมูลสอบถามพูดคุยตามข้อมูลที่ได้สำรวจจัดเก็บ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนในเรื่อง รายได้ของครัวเรือนการจัดทำบัญชีครัวเรือน การลงทุนค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตรของครัวเรือน หนี้สินของครัวเรือนการออมของครัวเรือนการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการเกษตรความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี และภาวะการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีในชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สภาผู้นำ 20 ตัวแทนครัวเรือน 25 คน เยาวชน 5 คน

6,500.00 6,500.00 50 50 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนเองโดยร่วมกันหาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา แนวทางป้องกันแก้ไขจากการซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เล่าถึงประสบการณ์โดยผู้ที่มีความรู้ของชุมชนเกิดการรับรู้ข้อมูลของชุมชนร่วมกันและพร้อมจะร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีประเด็นจากการสำรวจข้อมูล ในเรื่อง รายได้ของครัวเรือนการจัดทำบัญชีครัวเรือน การลงทุนค่าใช้จ่ายในภาคการเกษตรของครัวเรือน หนี้สินของครัวเรือนการออมของครัวเรือนการใช้ปุ๋ยและสารเคมีในการเกษตรความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมี และภาวะการเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีในชุมชน

กิจกรรมหลัก : เวทีแลกเปลี่ยนและคืนข้อมูลสู่ชุมชนi

12,500.00 80 ผลผลิต

สภาผู้นำชุมชนและตัวแทนครัวเรือน จำนวน 103 คน ร่วมสรุปข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันนำเสนอเพื่อให้ชุมชนทราบและร่วมกันแสดงความคิดเห็น


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

จากการแลกเปลี่ยนรู้ของเวทีในชุมนทำให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงปัญหา และสรุปความเห็นควรแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดย 1.ปรับปรุงแผนพัฒนาหมใู่บ้าน และเสนอปัยหาเข้าสู่แผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรีในเรื่อง โครงการพัฒนาอาชีพเสริมด้านการเกษตร2.จัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชนได้แก่กลุ่ม ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มการตลาดพืชผักปลอดสารพิษ 3.จัดตั้งกลุ่มเยาวชนในการทำกิจกรรมในชุมฃนร่วมกับผู้ปกครองเพื่อเรียนรู้และปลูกฝังให้เยาวชนให้เห็นถึงโทษและพิษภัยของสารเคมีในการทำการเกษตร

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

จำนวน 102 คน ประกอบด้วย เด็กและเยาวชนจำนวน 17 คน สมาชิก อบต.ไทยบุรี จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้านจำนวน 7 คน อสม. จำนวน 14 คน ประชาชนในหมู่บ้าน 62 คน

12,500.00 12,000.00 100 102 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูลสู่ชุมชน สรุปที่ประชุม เห็นด้วยกับปัญหาจากการเก็บรวบรวมข้อมูล และสรุปความเห็นควรแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดย

  1. ปรับปรุงแผนพัฒนาหมู่บ้าน และเสนอปัญหาเข้าสู่แผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรีในเรื่อง โครงการพัฒนาอาชีพเสริมด้านการเกษตร โดยเน้นเกษตรอิทรีย์ไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตและกิจกหรรมให้ความรู้ในการทำการคเกษตรปลอดสารพิษ รวมทั้งแนวทมางในการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณท์ ให้เป็นผลิตภัณท์ของหมู่บ้าน อย่างยั่งยืน
  2. จัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชนได้แก่กลุ่ม ปลูกพืชผักปลอดสารพิษ กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ กลุ่มการตลาดพืชผักปลอดสารพิษ
  3. จัดตั้งกลุ่มเยาวชนในการทำกิจกรรมในชุมฃนร่วมกับผู้ปกครองเพื่อเรียนรู้และปลูกฝังให้เยาวชนให้เห็นถึงโทษและพิษภัยของสารเคมีในการทำการเกษตร

กิจกรรมหลัก : ปฏิบิตัการทำปุ๋ย ทำน้ำหมักชีวภาพi

11,900.00 60 ผลผลิต

มีเด็กเยาชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน เข้าร่วมกิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพและ สารไล่แมลงในการปลูกพืชผัก ปลอดสารพิษ โดยได้ศึกษาเรียนรู่ร่วมกันในการทำน้ำหมักชีวภาพ จำนวน 2 สูตร คือ
1 การทำน้ำหมักน้ำพ่อ ประกอบด้วย วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ฟักทอง กล้วยน้ำหว้าสุก จุลินทรีย์หัวเชื้อ และกากน้ำตาล โดยใช้ในการบำรุงพืชกินผล เช่น มะเขือ แตงกวา พริก บวบ และพืชกินผลทุกชนิด 2 การทำน้ำหมักน้ำแม่ มีส่วนประกอบได้แก่ ผักบุ้ง หน่อกล้วย หน่อไม้ ใช้สำหรับฉีดพ้นพืชกินใบใช้ในการบำรุงต้นและใบ สำหรับพืชกินใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักชี ขึ้นช้าย 3 การทำสารไล่แมลง โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นวัสดุที่เหลือทิ้ง ได้แก่ ลำต้นยาสูบ ก้านใบ หน่อ สามารถกำจัดสัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ ไรขาว โดยฉีดให้ถูกตัวสัตรูพืช ติดต่อกัน 5 ครั้ง โดยไม่เป็นพิษต่อเกษตรกรและผู็บริโภค จากนั้นมีการแบ่งตามละแวกกลุ่มบ้านที่ใกล้เคียงมอบหมายให้ตัวแทนของกลุ่มรวมทั้งหมด 10 กลุ่ม เพื่อช่วยกันทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้สำหรับการปลูกผักของส่วนกลางต่อไป


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

1 เกิดการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ และสารไล่แมลงจำนวน 3 สูตร 2 สมาชิกโครงการได้ร่วมกันทำนเำหมักชีวภาพ สูตรน้ำพ่อ และสูตรน้ำแม่ สำหรับเป็นปุ๋ยทางใบแก่พืชผักที่ปลูกและสารไล่แมลงจากใบยาสูบ 3 สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรอื่นๆ จากเอกสารประกอบตามความเหมาะสมของพืชที่ปลูกในครัวเรือน ได้ด้วยตนเอง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เด็กเยาชน จำนวน 17 คน อบต. จำนวน 2 คน กรรมการหมู่บ้าน 7 คน ประชาขนผู่เข้าร่วมโครงการ 20 คน อาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 14 คน

11,300.00 11,300.00 60 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดการเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพ และสารไล่แมลงจำนวน 3 สูตร
  2. สมาชิกโครงการได้ร่วมกันทำนเำหมักชีวภาพ สูตรน้ำพ่อ และสูตรน้ำแม่ สำหรับเป็นปุ๋ยทางใบแก่พืชผักที่ปลูกและสารไล่แมลงจากใบยาสูบ
  3. สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเรียนรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรอื่นๆ จากเอกสารประกอบตามความเหมาะสมของพืชที่ปลูกในครัวเรือน ได้ด้วยตนเอง

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต

ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานเข้าร่วมพัฒนาโครงการและติดตามจาก พี่เลี้ยงและ สสส.ทุกครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะทำงานทราบและเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สสส สามารถจัดทำรายงานต่างๆได้ และบันทึกรายงานผ่านเวปคนใต้สร้างสุขได้คณะทำงานสามารถเขียนใบสำคัญรับเงินได้ถูกต้องและหักภาษีได้ถูกต้อง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการจำนวน 2 คน

1,160.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ในการจัดทำเอกสารทางการเงิน และการบันทึกข้อมูลมีมีการจัดทำกิจกรรมตามโครงการ และได้กำหนดำปฏิทินปฏิบัติงานของโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับริบทของพื้นที่

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

1,160.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมปฐมนิเทศโครงการและแนะนำการรายงานกิจกรรมในระบบเวปไซค์ ระเบียบการเงิน การบันทึกกิจกรรม นำความรู้ที่ได้มาปฎิบัติจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบันทึกแบบสรุปรายงานการใช้เงินและจัดทำเอกสารทางการเงินได้
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการมีควมรู้คาวมเข้าใจเรียนรู้การหักภาษี ณ ที่จ่าย และสามารถบันทึก พ.ง.ด.3 และ ใบแนบ พ.ง.ด.3 ได้
  3. เข้าใจการบันทึกกิจกรรมในเว็บไซต์

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการเรียนรู้และฝึกทักษะการลงรายงานบันทึกกิจกรรม รูปภาพ และการเขียนผลผลิต ผลลัพท์ของกิจกรรม และเรียนรู้เรื่องการหักภาษีณ ที่จ่่าย

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน 

0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำเอกสารทางการเงินตั้งแต่เริ่มทำกิจกรรมถึงปัจจุบันได้ดำเนินกิจกรรมไปแล้ว 5 กิจกรรม และบันทึกข้อมูลเข้าเว็บไซต์ในการทำกิจกรรมทั้ง 5 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 2 คน

0.00 0.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการตรวจเอกสารทางด้านการเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคํญรับเงิน ใบกำกับภาษี รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้โครงการจัดทำให้ถูกต้องและแนะนำการจัดทำรายงาน ง.1 และการรายงาน ส .1 เพื่อส่งสรุปงวดที่ 1 ของโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

200.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ร่วมประชุมโครงการ สสส.ของจังหวัดนครศรีธรรมราชทุกโครงการเพื่อแนะแนวทางในการเขียนโครงการ และมีตัวแทนกลุ่มอธิบายโครงการ 2 โครงการ 1.โครงการคนเอาถ่าน และฝึกทำเอกสารเกี่ยวกับการสร้างนวัตถกรรม

ตัวแทนผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 คน

0.00 0.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการมีการดำเนินกิจกรรม
1.กิจกรรมตรวจหาสารพิษในเลือด
2.กิจกรรมปลูกผัก
3.กิจกรรมแบ่งกลุ่มปลูกผัก โดยสมาชิก 6 คน จำนวน 10 กลุ่ม คิดเป็นสมาชิก 60 คน แต่ละคนจะไปปลูกข้างบ้าน โดยมีหัวหน้ากลุ่มทำการตรวจ ผักที่ปลูกมีคะน้า ผักบุ้ง ถั่ว มีการส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ ตามชนิดที่ต้องการปลูก ไม่ได้มีการกำหนดว่าแต่ละบ้านจะปลูกกี่ชนิดก็ได้
4.กิจกรรมจัดทำบัญชีครัวเรือน มีการทำแล้ว 1 คน เริ่มทำมาแล้ว 1 เดือน โดยได้แจกจ่ายให้ทีมนำไปทำ แต่ไม่ได้ติดตาม ซึ่งมีอาจารย์มาอบรมให้แล้ว โดย 1 คน ที่ทำนั้นจะทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ยังไม่ได้นำมาสรุป
5.กิจกรรมทำน้ำหมักชีวภาพ ทำผังรวมกันในหมู่บ้าน โดยปกติชาวบ้านจะใช้ปุ๋ยขี้วัว ขี้ไก่ แกลบเผา ในการนำมาทำปุ๋ยใส่ผัก การใส่ปุ๋ยแต่ละชนิดจะอยู่ที่ประเภทของผัก ซึ่งตรงนี้ยังไม่มีการใส่ข้อมูลในเว็บไซต์

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

200.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้ดำเนินโครงการได้บันทึกข้อมูลการทำกิจกรรมโครงการ ผลผลิต ผลลัพธ์ ปัญหาและอุปสรรค์และแนวทางแก้ไข และจัดทำเอกสารทางการเงิน หหลักฐานการจ่ายเงิน ใบสำคัญรับเงินในกิจกรรมที่ได้ดำเนินการมาแล้ว

ผู้รับผิดชอบโครงการ 2 คน

840.00 700.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานพบว่าที่ผ่านมามีการบันทึกในรายละเอียดยังไม่ครอบคลุม ให้บันทึกเพิ่มเติมให้ครอบคลุมเขียนสรุปผลการดำเนินงานให้ได้ตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต

มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้ายติดในสถานที่จัดกิจกรรมของโครงการ


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีการสูบบุหรี่ ในเวลาการจัดกิจกรรมกลุ่มเป้าหมายเกิดจิตสำนึกงดสูบบุหรี่ในวันจัดกิจกรรม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คณะกรรมการโครงการ 5 คน

1,000.00 1,100.00 2 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่จำนวน 2 ป้าย ติดตั้งไว้ ด้านข้างและด้านน้าของศาลาหมูบ้าน ซี่งใช้เป็นสถานที่ในการจัดประชุมจัดกิจกรรมโครงการ

ผู้ดำเนินโครงการ 60 คน

2,000.00 2,000.00 2 60 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและบันทึกในรายละเอียดยังไม่ครอบคลุม เรียบร้อยเพิ่มเติมให้ครอบคลุมครบถ้วนพร้อมทั้งรูปภาพกิจกรรม

  1. จัดทำแบบสรุปรายงานการใช้เงิน รวบรวมใบสำคัญรับเงิน เอกสารผู้รับเงิน ตลอดกิจกรรมของโครงการ
  2. บันทึกกิจกรรมรายละเอียดขั้นตอนที่มีการปฏิบัติจริงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ผลผลิต ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลัพธ์

  1. ได้แบบสรุปรายงานการใช้เงิน พร้อมหลักฐานประกอบครบทุกกิจกรรม
  2. บันทึกรายละเอียดข้อมูลกิจกรรม เข้าwebsite คนใต้สร้างสุข

หมายเหตุ

รอการตรวจสอบจากพี่เลี้ยง เพื่อความถูกต้องสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
น้ำหมักสูตรน้ำพ่อ

การทำน้ำหมักน้ำพ่อ ประกอบด้วย วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ฟักทอง กล้วยน้ำหว้าสุก จุลินทรีย์หัวเชื้อ และกากน้ำตาล โดยมีวิธีทำ ดังนี้ นำฟักทองและกล้วยน้ำหว้าฝานเป็นชิ้นๆ ขนาดเท่าลูกเต๋า จำนวน อย่างละ 3 กิโลกรัม แล้วนำมารวมกัน ใช้กากน้ำตาล จำนวน 1.5 ลิตร คนไปในทิดทางเดียวกัน ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ หมักไว้ประมาณ 15 - 20 วัน บรรจุในถังปิดฝาไว้หลวมๆ คนทุกวัน เมื่อครบกำหนดจึงนำน้ำหัวเชื้อเข้มข้นำ จำนวน 10 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ้น 3 -5 วันต่อครั้ง

ใช้ในการบำรุงพืชกินผล เช่น มะเขือ แตงกวา พริก บวบ และพืชกินผลทุกชนิด

น้ำหมักสูตรน้ำแม่

การทำน้ำหมักน้ำแม่ มีส่วนประกอบได้แก่ ผักบุ้ง หน่อกล้วย หน่อไม้ โดยสัดส่วนอย่างละ 3 กิโลกรัม สับเป็นชิ้นเล็กๆ กากน้ำตาลจำนวน 1.5 ลิตร คนไปในทิดทางเดียวกัน หมักไว้ในถังปิดฝาหลวมๆ และเปิดระบายแก๊สทุกวัน ใช้เวลาในการหมัก 15 - 20 วัน ได้น้ำหัวเชื้อ นำน้ำหัวเชื้อ 3 -5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร

ใช้ฉีดพ้นพืชกินใบใช้ในการบำรุงต้นและใบ สำหรับพืชกินใบ เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักชี ขึ้นช้าย

สารไล่แมลงสูตรท้องถิ่น

การทำสารไล่แมลง โดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นจากการปลูกยาสูบ ทำเป็นยาเส้นจึงใช้วัสดุที่เหลือทิ้ง ได้แก่ ลำต้นยาสูบ ก้านใบ หน่อ นำมาสับละเอียด แช่น้ำเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เป็นหัวเชื้อ นำน้ำหัวเชื้อ 5 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร

ใช้ฉีดพ้นในเวลาเช้า หรือเย็น ติดต่อกัน 3 วันครั้ง สามารถกำจัดสัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ ไรขาว โดยฉีดให้ถูกตัวสัตรูพืช ติดต่อกัน 5 ครั้ง โดยไม่เป็นพิษต่อเกษตรกรและผู็บริโภต

2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางพร้อยศรีจันทร์ ม.6 ต.ไทยบุรี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

แกนนำด้านการปลูกผักปลอดสารเคมี

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีการปรับปรุงแก้ไขบทบาทหน้าที่การช่วยเหลือกันในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

ทีมงานมีความสามารถดำเนินการได้ดี

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

มีดำเนินกิจกรรมสำเร็จตามเป้าหมาย

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

ทีมงานสามารถบริหารจัดการได้การเบิกจ่ายเงินมีเจ้าหน้าที่การเงินเป็นผู้ดูแล แต่ทีมยังไม่เข้าใจการบริหารจัดการโครงการและความสำคัญของการจัดเก็บเอกสารหลักฐานการดำเนินงาน

2.2 การใช้จ่ายเงิน

การใช้จ่ายงบประมาณถูกต้อง

2.3 หลักฐานการเงิน

มีเอกสารหลักฐานการใช้จ่ายเงินครบ แต่เอกสารหลักฐานทางการเงินไม่ถูกต้อง

ผลรวม 0 2 1 0
ผลรวมทั้งหมด 3 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

โครงการสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามกำหนด

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

จากการติดตามการดำเนินงานในงวดที่ 1 ของโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการเองมีความตั้งใจ มุ่งมั่นเพื่อที่จะทำงานให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยพยายามขับเคลื่อนในรูปแบบสภาผู้นำที่มีการประชุมกันเดือนละ 1 ครั้ง ถึงแม้ว่าโดยภาพรวมในครั้งแรกอาจจะยังขาดการทำงานร่วมเป็นทีม การประสานงาน และบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนยังน้อย แต่ตัวผู้นำชุมชนเองให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการโดยมีการปรับรูปแบบการทำงานให้เกิดความเป็นทีมที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นเพื่อให้เป็นแกนในการขับเคลื่อนของโครงการและชุมชน ทั้งนี้ทางทีมงานพร้อมรับในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และจากการติดตามและพิจารณาเห็นว่ามีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมาย โดยการดำเนินงานของโครงการมีการจัดกิจกรรมดังนี้
1.พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ
2.การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม
3.ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
4.จัดเวทีชี้แจงการดำเนินงานโครงการ
5.ออกแบบเครื่องมือและลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชน
6.วิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ
7.เวทีแลกเปลี่ยนและคืนข้อมูลสู่ชุมชน
เกิดผลผลิตและผลลัพธ์ ดังนี้ 1. มีสภาผู้นำสมาชิกจำนวน 20 คนและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานและได้มีการประชุมร่วมกัน 4 ครั้ง 2.การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ผู้รัผิดชอบโครงการได้เข้าร่วมทุกครั้ง 3.ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้ายโดยติดตั้งไว้ที่ด้านข้างและด้านน้าของศาลาหมูบ้าน4.จัดเวทีชี้แจงการดำเนินงานโครงการ มีข้อเสนอแนะโครงการจากการจัดกิจกรรมและผู้เข้าร่วมจำนวน 102 คน5.มีแบบสำรวจข้อมูลในชุมชนและฐานข้อมูลชุมชนโดยทีมเยาวชนในชุมชน6.มีชุดข้อมูลจากวิเคราะห์ร่วมกันของในชุมชน 7.ชุมชนรับรู้ข้อมุลของชุมชนและทราบปัญหาของชุมชนร่วมกัน เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกกลุ่มทุกวัย

สร้างรายงานโดย ศุภกิจ