directions_run

(05)โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.ตำบลเขาค่าย

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (05)โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง.ตำบลเขาค่าย
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดชุมพร
รหัสโครงการ 65-00240-0005
วันที่อนุมัติ 30 เมษายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 30 เมษายน 2566
งบประมาณ 130,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลเขาค่าย
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายน้อย สวิงรัมย์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวแสงนภา หลีรัตนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาค่าย อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด 10.125208,98.895803place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 52,000.00
2 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ต.ค. 2565 28 ก.พ. 2566 71,500.00
3 1 มี.ค. 2566 30 เม.ย. 2566 1 มี.ค. 2566 30 เม.ย. 2566 6,500.00
รวมงบประมาณ 130,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ ๓.๗ เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอดไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้น ปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมัน และหวานสาเหตุ คือ ความเคยชิน ต้องประกอบอาชีพนอกบ้านไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ   จากการตรวจคัดกรองความเสี่ยง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป  ปี 2564 จำนวน 2946 คน พบผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจำนวน 309 คน กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการดูแลหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมอาจพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ในอนาคต อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทำให้เป็นภาระต่อสังคมเศรษฐกิจและครอบครัวได้ การแสดงอาการเนื่องจากความดันโลหิต เบาหวานในกลุ่มเสี่ยง จะค่อยๆสูงขึ้นและร่างกายก็ค่อยๆปรับตัวให้เข้ากับภาวะความดันโลหิต น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใดๆ ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ค่อยทราบหากไม่ได้รับการตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจเลือดยกเว้นในรายที่มีอาการสูงมากอาจมีอาการปวดตึงท้ายทอยหรือปวดศีรษะรุนแรงเนื่องจากคนที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และเบาหวานส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัวดังนั้นโอกาสจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง เบาหวานก็มีมากตามไปด้วย ดังนั้นจึงเปรียบภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานว่าเป็น “ภัยเงียบ” หรือ “ฆาตกรเงียบ” นั่นเอง ด้วยความตระหนักถึงปัญหาและภัยของภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ชมรม อสม.ตำบลเขาค่าย จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตำบลเขาค่าย เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงมีสุขภาพที่ดีมีความรู้ในการดูแลตนเอง ลดการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดในประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อไป ที่ผ่านมาตำบลเขาค่ายได้มีการดำเนินการไปแล้วและได้ผลระดับหนึ่งที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก่อให้เกิดชุมชนปลอดโรคเรื้อรังรายใหม่ ให้มีความครอบคลุมทั้งตำบล และเชื่อมต่อในเรื่องประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อให้เกิดความอยู่ดีกินดี มีความสุข นำไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป ซึ่งผลการดำเนินงานในปีที่ 1 มีดังนี้ผลจากการดำเนินงานพบว่า สามารถดำเนินงานบรรลุตามบันไดผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วยการมีคณะทำงานที่มาจากหลากหลายกลุ่มจำนวน 60คน มีแผนงาน/โครงการที่ผลักดันเข้าแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพ2 แผน/โครงการและเข้ายุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีกติกาชุมชน 4ข้อ ประกอบด้วยสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วน ประกอบด้วยวัดเป็นสถานที่จัดกิจกรรมพึ่งพิงด้านจิตใจ จำนวน 4 แห่ง โรงเรียน.3 เป็นศูนย์เรียนรู้ทั้งหลักสูตรปกติและหลักสูตรพิเศษที่มี12 ชุมชนและบ้านร่วมกันลดอบายมุขในชุมชนร้อยละ70 ผู้สูงอายุเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ชีวิตต่อเด็กเยาวชนจำนวน100 คน คิดเป็นร้อยละ70 ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและจิตที่ดีร้อยละ70 มีการเยี่ยมเสริมพลังด้วยการค้นครัวค้นโรค จับคู่บั้ดดี้ อย่างสม่ำเสมอร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในเรื่องการปลูกหม่นเลี้ยงไหม การแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ทำให้มีอัตราการลดโรคเรื้อรังทั้งชุมชนได้ร้อยละ10 จะเห็นได้ว่าในปีหนึ่งที่ทำการพัฒนาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ครอบคลุมทั้งตำบลจึงต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องโดยใช้รูปแบบที่กำหนดไว้ในบันไดผลลัพธ์กลางเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดที่มีเป้าประสงค์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนคนชุมพร ซึ่งในอนาคตต้องพึ่งตนเองได้ ประกอบกับตำบลเขาค่ายมีจุดแข็งคือประชาชนในชุมชนมาจากหลากหลายถิ่นทุกภาคของประเทศไทยทำให้ทุกคนที่มาอยู่มีความรักใคร่สามัคคีกัน บทบาทโครงสร้างและกลไกการทำงานจึงมีความเข้มแข็ง แต่ยังขาดการหนุนเสริมจากหน่วยงานภายนอกที่เป็นทางด้านวิชาการอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดการพัฒนาโดยการใช้ฐานของชุมชนที่มีความรับผิดชอบ มีความพร้อมในการเรียนรู้ ร่วมคิดร่วมทำ และร่วมรับผลประโยชน์อยู่แล้ว ถ้าได้ข้อชี้แนะและหนุนเสริมเพิ่มขึ้นจากทุกภาคส่วนและทุนชุมชนที่มีอยู่แล้ว นำมาปรับให้เหมาะสมกับบริบทของทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ก็จะทำให้ตำบลเขาค่ายเป็นตำบลสุขภาวะอย่างเต็มรูปแบบที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีการเชื่อมโยงกับพื้นที่อื่นได้อย่างสมบูรณ์ที่สามารถนำจุดเด่นของชุมชนในเรื่องธรรมชาติที่สวยงาม ผู้คนสุขภาพดี สิ่งอำนวยความสะดวกความเป็นชุมชนดี ต่อไปสามารพัฒนาเป็นแหล่งท่องเทียวเชิงอนุรักษ์ที่มีทั้งศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่มีผลผลิตจากพืชเศรษฐกิจ ทั้งทุเรียน มังคุด มะพร้าว และสวนหม่อนไหม ตลอดจนภูมิทัศน์ของป่าเขา น้ำตก และสภาพชุมชนที่สะอาด ปลอดภัย จะเป็นการนำไปสู่ชุมชนเข็งแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ในอนาตดได้อย่างยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 พัฒนาหมู่บ้านต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในพื้นที่ ปัจจัยสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงานลดลง

ผลลัพธ์ที่ 1 มีหมู่บ้านต้นแบบในพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ มีหมู่บ้านต้นแบบ 1 หมู่บ้าน ที่มีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับประชาชนในชุมชน มีคณะกรรมการในการดำเนินงานระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการประเมิน วัดผล และสรุปผลผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ผลลัพธ์ที่ 2 เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ กติกาหรือมาตรการระดับพื้นที่ มีเครือข่ายความร่วมมือเสริมพลังกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ ตัวชี้วัดผลลัพธ์  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในกลุ่มวัยทำงาน ลดลงร้อยละ 50
ผลลัพธ์ที่ 4 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่เรื้อรัง ไม่เกิดโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 10 ของประชากรกลุ่มเสี่ยง
กลุ่มป่วยสามารถควบคุมภาวะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้ร้อยละ 80 ของกลุ่มป่วย

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 210
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชาชนในหมู่บ้านต้นแบบ 150 -
แกนนำ อสม 60 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 65มิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66
1 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงโครงการ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการ(1 พ.ค. 2565-31 มี.ค. 2566) 10,000.00                        
2 ประชุมคณะทำงาน(24 พ.ค. 2565-24 พ.ค. 2565) 14,900.00                        
3 จัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบ(12 ก.ค. 2565-12 ก.ค. 2565) 4,200.00                        
4 กิจกรรมอบรมความรู้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย(25 ส.ค. 2565-26 ส.ค. 2565) 41,400.00                        
5 จัดกิจกรรมในหมู่บ้านต้นแบบ(23 ก.ย. 2565-23 ก.ย. 2565) 18,000.00                        
6 กิจกรรมถอดองค์ความรู้จากการดำเนินงานโครงการ(24 ก.พ. 2566-24 ก.พ. 2566) 6,000.00                        
7 นำเสนอผลการดำเนินงานและเชิดชูเกีรยติ(7 เม.ย. 2566-7 เม.ย. 2566) 36,000.00                        
รวม 130,500.00
1 กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงโครงการ และติดตามความก้าวหน้าของโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 18 10,000.00 4 10,000.00
4 - 5 มิ.ย. 65 กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ 4 3,400.00 3,400.00
30 ก.ค. 65 กิจกรรมอบรมบันทึกข้อมูลระบบออนไลน์ 2 1,200.00 1,200.00
26 ต.ค. 65 สมัชชาสุชภาพ 10 4,200.00 4,200.00
31 ต.ค. 65 โครงการประชุมติตดามประเมินผลลัพธ์โครงการ 2 1,200.00 1,200.00
2 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 280 14,900.00 5 14,900.00
24 พ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 60 4,800.00 4,800.00
22 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 80 2,400.00 2,400.00
22 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 80 2,400.00 2,400.00
22 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 60 4,800.00 4,800.00
22 มี.ค. 66 หักเงินยืมเปิดบัญชีโครงการ 0 500.00 500.00
3 จัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 4,200.00 1 4,200.00
12 ก.ค. 65 จัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบ 20 4,200.00 4,200.00
4 กิจกรรมอบรมความรู้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 41,400.00 1 41,400.00
29 - 30 ก.ย. 65 กิจกรรมอบรมความรู้กลุ่มเสี่่ยงและกลุ่มป่วย 150 41,400.00 41,400.00
5 จัดกิจกรรมในหมู่บ้านต้นแบบ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 180 18,000.00 3 18,000.00
3 ต.ค. 65 กิจกรรมในชุมชน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 60 6,000.00 6,000.00
9 ม.ค. 66 ติดตามแนะนำและบันทึกข้อมูลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงครั้งที1 60 6,000.00 6,000.00
10 มี.ค. 66 ติดตามแนะนำและบันทึกข้อมูลสุชภาพกลุ่มเสี่ยงครั้งที่2 60 6,000.00 6,000.00
6 กิจกรรมถอดองค์ความรู้จากการดำเนินงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 6,000.00 1 6,000.00
27 มี.ค. 66 ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ 60 6,000.00 6,000.00
7 นำเสนอผลการดำเนินงานและเชิดชูเกีรยติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 36,000.00 2 36,000.00
6 เม.ย. 66 เวทีพบปะพูดตุยเรื่องเล่าปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 100 13,000.00 13,000.00
7 เม.ย. 66 นำเสนอผลการดำเนินงานและเชิดชูเกียรติ 100 23,000.00 23,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลลัพธ์ที่ 1 มีหมู่บ้านต้นแบบในพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ หมู่บ้านต้นแบบมีการจัดกิจรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับประชาชนในชุมชน มีคณะกรรมการในการดำเนินงานระดับตำบล ระดับหมู่บ้าน มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการประเมิน วัดผล และสรุปผลผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ผลลัพธ์ที่ 2เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ มีกติกาหรือมาตรการระดับพื้นที่ มีเครือข่ายความร่วมมือเสริมพลังกลุ่มเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ในกลุ่มวัยทำงาน ลดลงร้อยละ 50
ผลลัพธ์ที่ 4 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่เรื้อรัง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ ไม่เกิดโรคเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 10 ของประชากรกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยสามารถควบคุมภาวะโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้ร้อยละ 80 ของกลุ่มป่วย มีผู้นำการเปลี่ยนแปลงร้อยละ 7 ของคนในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตที่ดีร้อยละ 80

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2565 12:09 น.