directions_run

สานพลังชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านอย่างยั่งยืน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สานพลังชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านอย่างยั่งยืน
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ S-026
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 83,200.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มประมงพื้นบ้านปลายทอน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายราเชษฐ โต๊ะสาร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0924297619
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ wichet9960@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายวิเชษฐ แก้วเรือง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ละติจูด-ลองจิจูด 8.971176,99.913314place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 1 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 41,600.00
2 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 33,280.00
3 21 มี.ค. 2567 20 เม.ย. 2567 8,320.00
รวมงบประมาณ 83,200.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนประมงพื้นบ้านปลายทอน มีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับทรัพยากรประมงชายฝั่งทะเลมาโดยตลอด ตั้งแต่สมัยยุคแต่ก่อนที่ผ่านมานับ 100 ปี การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน นิยมตั้งถิ่นฐานแถบริมชายฝั่งทะเลโดยส่วนใหญ่ บ้างก็ตั้งริมชายหาด บ้างก็ตั้งริมลำคลอง เพื่อสะดวกต่อการทำมาหากินในอาชีพประมงพื้นบ้าน การเดินทางไปมาหาสู่กับชุมชนชายฝั่งในพื้นที่ใกล้เคียง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและการค้าขายอาหารทะเล อันเป็นหัวใจหลักของการดำรงชีวิตในสมัยนั้น ทรัพยากรประมงชายฝั่งทะเลจึงเปรียบเสมือนซึ่งทองคำที่มีคุณค่าและราคา ในการหล่อเลี้ยงชาวประมงในชุมชนประมงพื้นบ้านมาโดยตลอด ด้วยเหตุนี้พื้นที่ชายฝั่งทะเล    ที่สำคัญๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงเป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญต่างๆในดินแดนเมืองคอน(นครศรีธรรมราช)    ดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ชุมชนประมงพื้นบ้านปลายทอน หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งใส อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช มีครัวเรือนตั้งอยู่จำนวน 250 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 850 คน นับถือศาลานาอิสลาม 80% นับถือศาสนาพุทธ 20 % ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพได้แก่ อาชีพทำการประมง ค้าขาย เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ทำสวนมะพร้าว เลี้ยงสัตว์และอื่นๆตามลำดับ ในชุมชนบ้านปลายทอนมีเรือประมงพื้นบ้านทั้งหมู่บ้านประมาณ 40 กว่าลำ ซึ่งเป็นเรือหางยาวขนาดกลาง บ้านปลายทอนมีพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ริมสิชลริมชายฝั่งทะเลตะวันออกของอำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ  620 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดนครศรีธรรมราชประมาณ 70 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง คือ ทิศเหนือติดต่อกับ ตำบล  สิชล อำเภอสิชล และอ่าวไทย ทิศใต้ติดต่อกับตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช  ทิศตะวันออกติดต่อกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช บ้านปลายทอน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล เคยเป็นพื้นที่หนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมากมายได้แก่ สัตว์เศรษฐกิจทางทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลานานาชนิด สัตว์ทะเลหายาก เช่น โลมาปากขวด หาดทรายขาว ลักษณะภูมิประเทศโดยรวมเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ลักษณะเช่นนี้ทำให้พบเห็นทรัพยากรทางทะเลที่สำคัญได้แก่ สัตว์น้ำเศรษฐกิจทางทะเล เช่น ปลาทูฝูงใหญ่ ปลาสาก ปลาอินทรีย์ ฯลฯ และสัตว์ทะเลหายาก เช่น โลมาปากขวด เป็นต้น โดยเฉพาะบ้านปลายทอน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
สถานการณ์ปัญหาปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับชาวประมงพื้นบ้านปลายทอน คือ การจับสัตว์น้ำทะเลเศรษฐกิจได้ปริมาณมีจำนวนลดน้อยลง มีสาเหตุมาจากน้ำทะเลมีคุณภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำชายฝั่งเท่าที่ควร การลักลอบทำการประมงผิดกฎหมาย ทำการประมงในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชนและ การขาดจิตสำนึกไม่ยอมรับกฎกติกาของคนบางกลุ่ม ที่อยู่อาศัยของทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งทะเล มีปริมาณน้อยนิด      ไม่เพียงพอต่อการหลบภัยและขยายพันธุ์ การสะสมของน้ำเสียและขยะริมชายฝั่งทะเล และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลาและอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งปัญหาการขาดการถ่ายทอด  ภูมิปัญญาด้านการทำประมงพื้นบ้านอย่างรับผิดชอบและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปสู่คนรุ่นหลัง มีสาเหตุมาจากองค์กรชุมชนยังไม่มีชุดองค์ความรู้และเครื่องมือในการถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และปฏิบัติสืบต่อไป รวมถึงราคาต้นทุนในการประกอบอาชีพทำการประมงที่สูงขึ้น มีสาเหตุมาจากกลไกการตลาดในอุปกรณ์การประมงมีราคา  ที่สูงขึ้นไม่สมดุลกับมูลค่าการจับสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลที่หามาได้ ด้วยปัญหาและสาเหตุดังกล่าวในข้างต้นส่งผลกระทบต่อชุมชน องค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน คือ เศรษฐกิจชุมชนย่ำแย่ ตกต่ำลงเรื่อย ๆ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ไม่มีทุนที่จะประกอบอาชีพทำการประมงต่อไป การมีหนี้สินที่ไม่สามารถชดใช้ได้ ท้ายที่สุดก็ต้องละทิ้งเรือ ละทิ้งอาชีพประมงพื้นบ้านที่มีความถนัดไปสู่อาชีพรับจ้างในภาคอุตสาหกรรมที่ไม่มีความรู้และไม่มีความถนัด เพื่อสร้างความรู้ ความตระหนักและความเอาใจใส่ของชาวประมงพื้นบ้านในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ชายฝั่งทะเลหน้าบ้านของตนเองอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน การทำประมงอย่างรับผิดชอบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พัฒนาให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร มีอาหารทะเล  ที่ปลอดภัย เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค พร้อมทั้งให้เป็นที่รู้จักและเป็นแบบอย่างแก่องค์กรชุมชนอื่นๆ ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างเศรษฐกิจรายได้ที่เกื้อหนุนให้กับสมาชิกในชุมชนประมงพื้นบ้านปลายทอน สอดคล้องกับแนวทางการสร้างเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการกระตุ้น ผลักดันให้ชาวประมงพื้นบ้านเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน รวมถึงการเสริมสร้างสุขภาวะแก่องค์กรประมงพื้นบ้านอย่างสร้างสรรค์

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

โครงการสานพลังชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านอย่างยั่งยืน 1. เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักใส่ใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน       1.1 จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง       1.2 เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการและอื่นๆที่สำคัญ     2. เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ       2.1 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ       2.2 จัดเวทีประชุมทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน
      2.3 จัดเวทีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน(ARE)     3. เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง       3.1 จัดเวทีประชุมสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน       3.2 สร้างบ้านให้ปลา       3.3 ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล       3.4 รณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านปลายทอน     4. เพื่อแสดงถึงนิเวศชายฝั่งมีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ       4.1 เก็บและจัดทำข้อมูลฯฐานทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่หลังการดำเนินโครงการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักใส่ใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน

1.1 ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน อย่างน้อย 50 คน (เปิดโครงการ) 1.2 มีข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการ เช่น - ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ - เครื่องมือประมง - เศรษฐกิจชุมชนประมง - ภูมิปัญญาการทำประมงพื้นบ้าน - การใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรสัตว์น้ำ ชายฝั่งทะเล เป็นต้น

2 2. เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

2.1 มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า 15 คน 2.2 มีแผนงานการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งของชุมชน 2.3 มีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE)อย่างน้อย 2 ครั้ง

3 3. เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง

3.1 มีกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน 3.2 เกิดการสร้างบ้านให้ปลา (ชั้งเชือกและทางมะพร้าว)จำนวน 35 ชุด 3.3 มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล อย่างน้อย 1ครั้ง 3.4 เกิดการรณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านบางปอ อย่างน้อย 1 ครั้ง

4 4. เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่

4.1 แกนนำเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดผลผลิตจากพื้นที่ก่อน/หลังการดำเนินการ
4.2 สัตว์น้ำผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ชนิด

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มประมงพื้นบ้านปลายทอน 35 -
สมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงที่มีความสนใจฯ 25 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67
1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยจากพื้นที่(1 มี.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 4,500.00                    
2 การบริหารจัดการโครงการกับ สสส.(1 ก.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 6,000.00                    
3 ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักใส่ใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน(1 ส.ค. 2566-1 ส.ค. 2566) 14,000.00                    
4 กลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ(1 ก.ย. 2566-1 ก.ย. 2566) 12,300.00                    
5 การปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง(1 ก.ย. 2566-31 ม.ค. 2567) 9,500.00                    
รวม 46,300.00
1 การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยจากพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 4,500.00 0 0.00
1 มี.ค. 67 - 30 เม.ย. 67 เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่หลังการดำเนินโครงการ 50 4,500.00 -
2 การบริหารจัดการโครงการกับ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 6,000.00 2 3,876.00
13 ก.ค. 66 1.ประชมปฐมนิเทศโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล ครั้งที่ 1 2 5,000.00 2,876.00
15 ส.ค. 66 2.การจัดทำป้าย สสส.และโลโก้ปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 1,000.00
3 ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักใส่ใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 14,000.00 2 14,900.00
1 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการ 50 4,500.00 3,000.00
17 ส.ค. 66 จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง 50 9,500.00 11,900.00
4 กลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 130 12,300.00 6 12,400.00
28 ก.ค. 66 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 1 15 375.00 400.00
11 ส.ค. 66 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 2 15 375.00 425.00
5 ก.ย. 66 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 3 15 375.00 425.00
19 ก.ย. 66 จัดเวทีประชุมทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน 50 9,500.00 9,650.00
9 ต.ค. 66 การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 4 15 375.00 450.00
23 ต.ค. 66 จัดเวทีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) ครั้งที่ 1 20 1,300.00 1,050.00
5 การปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 9,500.00 1 10,250.00
25 ก.ย. 66 จัดเวทีประชุมสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน 50 9,500.00 10,250.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักใส่ใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน
  2. เกิดกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
  3. เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง
  4. แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยจากพื้นที่
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 09:35 น.