directions_run

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านทางเกวียน

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านทางเกวียน ”

ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายไพรัช เจ้ยชุม

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านทางเกวียน

ที่อยู่ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00232-0021 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2022 ถึง 31 สิงหาคม 2023


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านทางเกวียน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านทางเกวียน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านทางเกวียน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-00232-0021 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2022 - 31 สิงหาคม 2023 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 105,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สภาพทั่วไป กลุ่มเกษตรสวนยางแปลงใหญ่ยางพาราสหกรณ์กองทุนสวนยางในเขตปฏิรูปที่ดินบ้ารนทางเกวียน จำกัด เกิดจากนโยบายของการยางแห่งประเทศไทยที่สนับสนุนให้เกษตรกรรวมตัวกันในลักษณะกลุ่มซึ่งที่มาของสมาชิกต้องเป็นสมาชิกของสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการทำกิจกรรมของกลุ่มคือ -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกลดค่าใช้จ่ายในการผลิต -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกพัฒนายกระดับคุณภาพผลผลิต -เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สมาชิกสร้างและพัฒนากลไกการตลาดในการจำหน่ายผลผลิต -เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกบริหารจัดการองค์กรให้มีความเข้มแข็ง สหกรณ์กองทุนสวนยางในเขตปฏิรูปที่ดินบ้านทางเกวียน จำกัด ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2537ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด305คน มีพื้นที่สวนยางพาราของสมาชิกทั้งหมด 1,164 ไร่ พื้นที่ทั้งหมดที่เป็นส่วนยางพาราของสมาชิกตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลโคกม่วง ตำบลตะโหมด ตำบลคลองเฉลิม สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบผสมสันเนินกระจายสลับกันไปการทำการเกษตรส่วนใหญ่พี่งพาธรรมชาติเพราะยางพาราเป็นพืชที่ไม่จำเป็นต้องจัดการมากมายไม่ต้องใช้น้ำในการผลิตมากมาย สวนยางพาราของสมาชิกประมาณ800ไร่เป็นสวนยางพาราที่เปิดกรีดแล้วอายุการกรีดอยู่ที่1-20ปีสวนยางของสมาชิกประมาณ 200 ไร่ เป็นสวนยางพาราที่มีอายุการกรีดเกิน25ปีและเกษตรกรเตรียมที่จะล้มยางเพื่อเริ่มปลูกรอบใหม่ ส่วนที่เหลือเป็นสวนยางพาราที่ยังไม่เปิดกรีดมีอายุที่2-6ปี กิจกรรมที่สกย.ดำเนินการอยู่เป็นกิจกรรมธุรกิจซื้อ/ขาย แปรรูปน้ำยางสดของสมาชิกและกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการทำสวนยางพารา เช่นจำหน่ายปุ๋ยให้กับสมาชิกรวมถึงการปล่อยสินเชื่อให้กับสมาชิกในการลงทุนประกอบอาชีพและใช้จ่ายในครัวเรือน ปัจจุบันสกย.มีทุนดำเนินการที่เกิดจากการลงหุ้นของสมาชิกจำนวน 10,854,500 บาท ใช้ในการลงทุนซื้อขายน้ำยางสดจากสมาชิก จำนวนน้ำยางสดของสมาชิกมีปริมาณต่อวันที่ 6,000กก.คิดเป็นน้ำยางแห้งอยู่ที่1,800กก.คิดเป็นมูลค่า 90,000 บาทต่อวัน ซึ่งในจำนวนทั้งหมดนี้แยกออกเป็นของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่จำนวน 2,000 กก.คิดเป็นน้ำยางแห้ง 600 กก.คิดเป็นมูลค่า30,000บาท ซึ่งกลุ่มแปลงใหญ่มีสมาชิกทั้งหมด30 คนมีโครงสร้างการทำงานในรูปคณะกรรมการกลุ่ม กลุ่มแปลงสวนยางใหญ่มีเนื้อที่สวนยางพาราทั้งหมด407.25 ไร่ ในปีที่ผ่านมากลุ่มสวนยางแปลงใหญ่ได้ทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิกคือกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับสมาชิกในการพัฒนายกระดับอาชีพและผลผลิตน้ำยาง รวมถึงการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกในการสร้างอาชีพแก่สมาชิกของกลุ่ม สภาพปัญหา ช่วงเวลา10ปีที่ผ่านมาเกษตรกรชาวสวนยางพาราต้องเผชิญกับปัญหาราคายางพาราที่ตกต่ำลงมามากเพราะสาเหตุอาจมาจากการที่ภาครัฐสนับสนุนให้มีการปลูกยางพารามากเกินไปและรวมถึงระบบการจัดการคุณภาพยางพาราที่ส่งผลต่อการตลาดด้วย จึงส่งผลกระทบแก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราเป็นวงกว้าง จากการร่วมกันพูดคุยเราค้นพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากปัญหาที่เป็นปรากฏการณ์เพียงอย่างเดียวแท้จริงแล้วปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่เผชิญอยู่ในปัจจุบันพบว่า สาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมและความเชื่อของคน คือ คนนิยมปลูกยางพาราเป็นพืชเชิงเดี่ยวเพราะมีความเชื่อว่าการกรีดยางพาราเพียงอย่างเดียวยังสามารถสร้างรายได้ที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวให้อยู่รอดได้ เพราะคนขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างรูปแบบสวนยางพาราแบบผสมผสาน คนขาดความตระหนักที่จะจัดการต่อการร่วมกันพันธุ์พืชท้องถิ่นให้อยู่คู่กับชุมชน คนไม่เชื่อว่าหากมีการสร้างสวนยางรูปแบบใหม่จะนำไปสู่การสร้างรายได้และลดรายจ่ายครัวเรือนได้ รวมทั้งการที่คนในชุมชนมัวมุ่งอยู่กับการหาเงินจนไม่มีเวลามาเรียนรู้การสร้างสวนยางพาราในรูปแบบใหม่ สาเหตุที่เกิดจากกลไกและระบบที่หนุนเสริมเชิงนโยบายคือ ในชุมชนยังไม่มีแปลงต้นแบบในการสร้างรูปแบบการจัดการสวนยางพาราในรูปแบบพืชร่วมยางให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ ขาดการส่งเสริมและหนุนเสริมจากองค์กรภาครัฐและภาคท้องถิ่น คนในชุมชนมีความรู้แต่ขาดการจัดการให้เกิดการเรียนรู้ของคนในชุมชนชนอีกทั้งในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายในการสวนยางพาราที่ทำลายพันธุกรรมพืชในชุมชนเองก็ขาดการสร้างการเรียนรู้และขาดการจัดการให้ชาวสวนยางพารามุ่งสร้างสวนยางพาราแบบสวนยางพาราเชิงเดี่ยวด้วยกับการพัฒนาที่มาพร้อมการทำลายจากโครงการของหน่วยงานภายนอกและเกิดจากความไม่รู้เท่าทันของประชาชนในการประกอบอาชีพ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้เริ่มสูญหายไปจากอย่างรวดเร็ว และนับวันยิ่งหายไปจากพื้นที่อาจจะด้วยจากสาเหตุที่มาจากประชาชนในพื้นที่ทำการเกษตรปลูกยางพาราในลักษณะเชิงเดี่ยวที่มุ่งเน้นกำไรเป็นตัวเงินมากกว่าการดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายของพืชพันธ์ต่างๆ ด้วยอาจจะเข้าใจว่าการเกษตรปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียวจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่า แต่ในทางกลับกันพบว่าแนวทางการทำการเกษตรแบบผสมผสานปลูกพืชหลายอย่างนั้นทำให้เกิดรายได้จากส่วนต่างๆได้มากกว่าและทำให้ปัจจัยการผลิตจำพวกปุ๋ยนั้นน้อยกว่าและไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช อีกอย่างที่สำคัญคือการใช้ปุ๋ยเคมีโดยขาดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง จะเป็นสาเหตุที่สำคัญในการนำไปสู่ความเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วของดินและแหล่งน้ำ ทั้งเป็นการทำลายความหลากหลายของพืชพันธุ์ต่างๆในพื้นที่สวนยางพาราและในชุมชนด้วย จนนำไปสู่เรื่องปัญหาสุขภาพของคนในพื้นที่ที่ได้รับการบริโภคพืชผักที่มีสารตกค้างปนเปื้อนเหล่านี้ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพราะเมื่อพื้นที่สวนยางพาราถูกสร้างวิธีคิดให้ปลูกยางเพียงอย่างเดียวจึงทำให้พืชอาหารโดยธรรมชาติที่เคยเจริญงอกงามและมีความหลากหลายทางด้านพันธุกรรมหายไปด้วย ผู้คนจึงต้องพึ่งพาพืชอาหารจากแหล่งผลิตอื่นซึ่งไม่สามารถรู้ได้ถึงกระบวนการผลิตและความปลอดภัยในการผลิตของพืชอาหารเหล่านั้นส่งผลให้ไม่สามารถรับรองได้ถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพในการบริโภค ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากราคายางพาราที่ตกต่ำและประชาชนคิดได้เพียงว่ารายได้นั้นมาจากยางพาราเพียงอย่างเดียว เมื่อเกิดปัญหาราคายางพาราตกต่ำ รวมถึงต้นทุนในการผลิตที่สูงมากทั้งต้นทุนที่เกิดจากการซื้อปุ๋ยมาใช้ในสวนยางพารา ต้นทุนในการขนส่งน้ำยางพารา ต้นต้นในการใช้เชื้อเพลิงในการเดินทางไปประกอบอาชีพกรีดยางของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ดังกล่าวนั้น ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรรายย่อยยังคงประสบปัญหาความยากจนรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงค์ชีวิตในปัจจุบันรวมทั้งการที่เกษตรกรต้องเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายประจำในครัวเรือนและหนี้ที่เกิดจากกระบวนการผลิตภาคการเกษตรในการทำสวนยางพาราซึ่งปัจจุบันสมาชิกยังเป็นหนี้กับสกย.จำนวน2500,000บาท จึงเกิดการพูดคุยรวมตัวกันของกลุ่มคนที่อยากเห็นการพัฒนายกระดับการประกอบอาชีพของเกษตรกรและการเรียนรู้ให้รู้เท่าทันและสามารถรักษาทรัพยากรพืชท้องถิ่นเอาไว้พร้อมทั้งเป็นทางออกให้เห็นว่ามีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการปลูกพืชผสมผสานอย่างอื่นในแปลงที่มากกว่ายางพาราเพียงอย่างเดียวด้วย ทางกลุ่มเกษตรกรสวนยางแปลงใหญ่ได้หันมาสนใจผลักดันขับเคลื่อนการสวนเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติโดยการใช้พื้นที่สวนยางพารามาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่าการกรีดเอาน้ำยางเพียงอย่างเดียวจึงคิดสร้างให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชในสวนยางพาราให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้กลุ่มคนที่สนใจนี้เป็นเครื่องมือกลไกในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ผ่านกระบวนการร่วมคิดร่วมปรึกษาหารือและร่วมกันวางแผนการทำงานและสร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ขยายแนวคิดที่เป็นรูปธรรมปฏิบัติการแล้วไปสู่ชุมชนในระยะต่อไป ทั้งส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ที่ทำสวนอยู่แล้วและผู้คนที่อยู่ในชุมชนที่สนใจได้หันมาตระหนักและร่วมกันสร้างเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติให้มากขึ้น และสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในชุมชนโดยใช้การฟื้นฟูและอนุรักษ์ให้กลับมาได้ใช้ประโยชน์ และคาดหวังกันว่าพื้นที่ที่เข้าร่วมการเรียนรู้ในปีนี้จะกลับมามีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรในสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารและสามารถจัดการหมู่บ้านตนเองได้ในระยะยาวต่อไปได้โครงการเกษตรผสมผสานแบบธรรมชาติโดยการใช้พืชร่วมยางพารา จะเป็นกลไกสำคัญในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้เชื่อมโยงการทำงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งภาคประชาชนในพื้นที่ ภาครัฐที่เข้ามาหนุนเสริม และผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการสร้างการเรียนรู้ให้เกิดการทำงานที่ง่ายขึ้น ทั้งยังจะเป็นการสร้างพื้นที่การพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปฏิบัติการจริงในพื้นที่ การสร้างแรงกระตุ้นและเสริมสร้างศักยภาพการทำงานโดยผ่านเครื่องมือกลไกต่างๆเช่น การลงเก็บข้อมูลสำรวจในพื้นที่จริง การออกแบบการทำงานสร้างกลไกกติกาที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง การพัฒนาพื้นที่ปฏิบัติการให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ เป็นต้น และเชื่อว่าในระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการนี้นั้นจะเห็นมิติการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่อย่างแน่นอนอีกทั้งกลุ่มสวนยางแปลงใหญ่บ้านทุ่งแสงทองได้รับงบสนับสนุนจาก กยท. ในการสร้างการเรียนรู้เรื่องการจัดการองค์กรให้แก่สมาชิกจนสมาชิกส่วนหนึ่งเกิดการเรียนรู้และสามารถพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ทักษะอื่นในการประกอบอาชีพสวนยางพาราและความรู้อื่นๆที่จะสามารถยกระดับและสร้างรายได้เสริมและลดรายจ่ายในครัวเรือนให้กับสมาชิกกลุ่มสวนยางแปลงใหญ่ตื่นรู้และมีความคิดที่จะริเริ่มการประกอบอาชีพในการทำสวนยางพาราในรูปแบบใหม่โดยทางกลุ่มมีความคาดหวังว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมและรูปแบบในการประกอบอาชีพการทำสวนยางพาราจะเป็นทางออกทางรอดของสมาชิกในชุมชนที่จะนำพาครอบครัวให้อยู่รอดได้ในภาวะที่เกิดความถดถอยและราคายางพาราที่ตกต่ำลงไปทุกขณะ แต่ภายใต้การหนุนเสริมของภาครัฐยังไม่ให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่สวนยางพาราเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยให้แก่เกษตรกรมากนัก อีกทั้งเกษตรกรเองก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างสวนยางพารามาเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยให้แก่ครัวเรือนและชุมชน ในขณะที่มีเกษตรกรส่วนหนึ่งพยายามที่จะเริ่มเปลี่ยนสวนยางพาราของตัวเองหันมาปลูกยางพาราแบบป่าร่วมยางแต่ก็ยังประสบปัญหาเรื่องความรู้ด้านวิชาการ ความรู้ด้านพันธุกรรมพืชที่จะสามารถนำมาปลูกร่วมกับยางพาราได้ อีกทั้งพันธุ์พืชในชุมชนหลายชนิดก็เริ่มสูญหายไปจากการทำสวนยางแบบเดี่ยวจึงประสบปัญหาการหาพันธุ์พืชมาปลูกได้ รวมทั้งข้อจำกัดในการใช้น้ำในการปลูกด้วยเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ร่วมโครงการเป็นพื้นที่สวนยางพาราที่อยู่บนที่สูงไม่มีแหล่งน้ำและการจัดการน้ำที่นำไปใช้ในการเพาะปลูกด้วย ทางกลุ่มจึงมีความเห็นร่วมกันที่รับสนับสนุนงบประมาณจากสสส.เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกกลุ่มเพื่อให้เกิดการปฏิบัติการเป็นรูปธรรมและประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อสร้างกลไกการจัดการพืชร่วมยางแบบมีส่วนร่วม
  2. 2.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
  3. 3.เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
  4. 4.เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
  5. 5.เพื่อให้คนในชุมชนพัทลุงได้บริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ( กลุ่มเป้าหมายจำนวน10คน)
  2. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  3. ชื่อกิจกรรมที่ 3.ศึกษาดูงาน (กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32คน)
  4. กิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน
  5. ชื่อกิจกรรมที่ 2.เวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลและสถานการณ์( กลุ่มเป้าหมายจำนวน 34คน)
  6. ค่าจัดทำป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่
  7. กิจกรรมที่ 4 เวทีสรุปผลการศึกษาดูงานและวางแผนการปลูกรายแปลง(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32 คน)
  8. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2
  9. กิจกรรมที่ 10 หนุนเสริมการปลูก
  10. กิจกรรม งานสมัชชา"พัทลุงมหานครแห่งความสุข"
  11. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3
  12. กิจกรรมที่ 9 ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 คน)
  13. กิจกรรมที่ 5 ออกแบบการปลูกรายแปลง (กลุ่มเป้าหมาย 32 )
  14. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ( กลุ่มเป้าหมายจำนวน10คน) ครั้งที่ 4
  15. กิจกรรมที่ 11 ส่งเสริมให้สมาชิกทำปุ๋ยใช้เอง(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 32 คน)
  16. กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่ 1
  17. กิจกรรมที่ 6 จัดทำเรือนเพาะชำ(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกร่วมโครงการ 30 คน)
  18. กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่2
  19. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5
  20. กิจกรรมที่ 8 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 32 คน)
  21. กิจกรรมที่ 9.กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) (กลุ่มเป้าหมายจำนวน15คน) ครั้งที่2
  22. กิจกรรมที่ 12 ให้ความรู้การขายยพัยธุ์พืชและการเลี้ยงดูต้นกล้า(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32 คน)
  23. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6
  24. กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่3
  25. กิจกรรมที่ 8.กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 32 คน) ครั้งที่2
  26. กิจกรรมที่ 13 สรุปผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการโชว์ผลงานโครงการ(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน )
  27. เข้าร่วมกิจกรรม พัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่2
  28. รายงานกิจกรรมลงระบบ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 6 พฤษภาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้จ่ายเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท เพื่อเปิดบัญชีธนาคารรับเงินสนับสนุนจาก สสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เปิดบัญชีธนาคารโครงการย่อยเรียบร้อยแล้วและได้เบิกเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชี จำนวน 500 บาทคืน

 

0 0

2. กิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน

วันที่ 9 พฤษภาคม 2022

กิจกรรมที่ทำ

กำหนดการกิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน
ภายใต้หน่วยจัดการที่มีจุดเน้นสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (Node Flagship) จังหวัดพัทลุง วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม 2565  ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลเมืองพัทลุง

08.30 - 09.00 น.        ลงทะเบียน  และคัดกรองผู้เข้าร่วมประชุมตามมาตรการป้องกันไวรัส โควิด19 09.30 - 09.15 น.        เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย/ แนะนำตัวทำความรู้จัก/สันทนาการ (ทีมสันทนาการ) 09.15 - 09.30 น.        ชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสู่
Phattahlung  Green  City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดย นายเสณี  จ่าวิสูตร ผู้ประสานงาน Node Flagship จังหวัดพัทลุง 09.30 - 10.30 น.        แนวทางการบริหารจัดการ การเงิน และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดย นายไพฑูรย์ ทองสม  ผู้จัดการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 10.30 - 10.45 น.        การจัดทำรายงานผ่านระบบ Happy Network
โดย นายอรุณ  ศรีสุวรรณ 10.45 - 12.00 น.        ปฏิบัติการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ Happy Network  และทดลองจัดทำรายงานผ่านระบบ
Happy Network
12.00 - 13.00 น.        พัก รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 - 13.30 น.        ความสำคัญของการออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์
โดย นางสาวเบญจวรรณ  เพ็งหนู ทีมสนับสนุนวิชาการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง 13.30 - 14.30 น.        แบ่งกลุ่มย่อยพื้นที่โครงการย่อย/พี่เลี้ยง ออกแบบการเก็บข้อมูลตัวชี้วัด กลุ่มที่ 1 ประเด็นการจัดการขยะ
กลุ่มที่ 2 ประเด็นการจัดการน้ำเสีย กลุ่มที่ 3 ประเด็นการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง กลุ่มที่ 4 ประเด็นการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา กลุ่มที่ 5 ประเด็นนาปลอดภัย 14.30 - 15.00 น.        การลงนามสัญญาข้อรับทุน
15.00 - 15.30 น.        สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
15.30 น. ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนเข้าร่วมพื้นที่ละ 3 คน
-รับทราบการชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสู่
Phattahlung  Green  City คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี -เรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการ การเงิน และการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องโดย นายไพฑูรย์ ทองสม  ผู้จัดการ Node Flagship จังหวัดพัทลุง -เรียนรู้ปฏิบัติการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ Happy Network  และทดลองจัดทำรายงานผ่านระบบ
Happy Network และกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนของหน่วยจัดการ สสส พัทลุง ของแต่ละประเด็นของผุ้รับทุน ทั้ง 5 ประเด็น -การลงนามสัญญาข้อรับทุน สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ปิดการประชุม 15.30 น.

 

3 0

3. ค่าจัดทำป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่

วันที่ 24 พฤษภาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดทำป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้นำป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้ายปิดประกาศในสถานที่ประชุมและจัดกิจกรรมของโครงการ

 

0 0

4. ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 1 ( กลุ่มเป้าหมายจำนวน10คน)

วันที่ 27 พฤษภาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  • มีคณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมการสวนยางแปลงใหญ่กับสหกรณ์ชาวสวนยางที่สามารถชักชวนเกษตรกรมาร่วมดำเนินการและสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับ กยท.ได้
  • มีสมาชิกกลุ่มที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 รายและมีพื้นที่ร่วมดำเนินการในโครงการไม่น้อยกว่ารายละ 2 ไร่
  • มีกติกาของกลุ่มที่เกิดจากการมีส่วนร่วม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีคณะทำงานเข้าร่วมระหว่างคณะกรรมการสวนยางแปลงใหญ่กับสหกรณ์ชาวสวนยางที่สามารถชักชวนเกษตรกรมาร่วมดำเนินการและสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับ กยท.สาขาบางแก้ว รวม 10 คน มีสมาชิกกลุ่มที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 30 รายและมีพื้นที่ร่วมดำเนินการในโครงการไม่น้อยกว่ารายละ 2 ไร่ ต่อคน มีกติกาของกลุ่มที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ในการดำเนินโครงการร่วมกัน ประชุมร่วมกันไม่น้อยกว่า 6 คร้้ง

 

10 0

5. ชื่อกิจกรรมที่ 2.เวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลและสถานการณ์( กลุ่มเป้าหมายจำนวน 34คน)

วันที่ 9 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เชิญสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ทั้งหมด 34 คนร่วมประชุม 2.ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการร่วมเรียนรู้สร้างป่าร่วมยาง รวมถึงการสร้างเงื่อนไขข้อตกลงร่วมในการดำเนินงานโครงการ 3.เชิญผู้รู้ผู้มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการจัดการสวนยางแบบผสมผสานมาให้ความรู้
4.รับสมัครสมาชิกร่วมโครงการและจัดทำฐานข้อมูล 5.ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมครึ่งวัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เชิญสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ทั้งหมด 34 คนร่วมประชุม 2.ให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการร่วมเรียนรู้สร้างป่าร่วมยาง รวมถึงการสร้างเงื่อนไขข้อตกลงร่วมในการดำเนินงานโครงการ 3.เชิญผู้รู้ผู้มีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการจัดการสวนยางแบบผสมผสานมาให้ความรู้
4.รับสมัครสมาชิกร่วมโครงการและจัดทำฐานข้อมูล 5.ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมครึ่งวัน

 

34 0

6. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 20 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน -ติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา -การกำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานต่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน เข้าร่วมการประชุม -ติดตามการดำเนินงานตามแผนโครงการ การจัดการการรายงานในระบบและเอกสารการเงิน
-ว่างแผ่นการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการ เกิดความล่าช้าเนื่องจากปัญหาเรื่องงานที่มอบหมายไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้ -การปลูกพืชตามแผนงานที่ร่วมกับ กยท ให้สมาชิกดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ปรับสภาพให้เือ้ือต่อการปลูกด้วย

 

10 0

7. ชื่อกิจกรรมที่ 3.ศึกษาดูงาน (กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32คน)

วันที่ 22 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 32 คนร่วมศึกษาดูงานตามแผนกิจกรรมที่วางแผนไว้
1.ประชุมสมาชิกที่ไปศึกษาดูงาน ให้แต่ละคนนำเสนอผลการศึกษาดูงานรวมถึงความรู้ที่ได้ 2. สมาชิกแต่ละรายเขียนแผนการปลูกพืชร่วมยางตามความต้องการและความเหมาะสมของแปลงตนเองเช่นปลูกพืชชนิดไหนให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการในการบริโภคและการสร้างรายได้ของตนเอง 3.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ตามแผนการปลูกรายแปลง 4.ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม1วัน 1. นำสมาชิกที่ร่วมโครงการทั้งหมดศึกษาดูงานจากพื้นที่ประสบความสำเร็จ 2. กำหนดประเด็น ที่ต้องศึกษา และให้การบ้านแก่ผู้ร่วมกิจกรรม 3. ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม1วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานพร้อมด้วยสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 32 คนและทีมพี่เลี้ยง 3 คน ได้เดินทางร่วมศึกษาดูงาน ณ.พื้นที่บ้านขามโดยมีคุณสหจรเป็นผู้ให้ความรู้ด้านการปลูกพืชร่วมยางที่ส่งผลดีต่อรายได้และแหล่งอาหารของชุมชน 1. นำสมาชิกที่ร่วมโครงการทั้งหมดศึกษาดูงานจากพื้นที่ประสบความสำเร็จ 2. กำหนดประเด็น ที่ต้องศึกษา และให้การบ้านแก่ผู้ร่วมกิจกรรม 3. ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม1วัน

 

32 0

8. กิจกรรมที่ 4 เวทีสรุปผลการศึกษาดูงานและวางแผนการปลูกรายแปลง(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32 คน)

วันที่ 28 มิถุนายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานและสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ 32 คนร่วมศึกษาดูงานตามแผนกิจกรรมที่วางแผนไว้
1.ประชุมสมาชิกที่ไปศึกษาดูงาน ให้แต่ละคนนำเสนอผลการศึกษาดูงานรวมถึงความรู้ที่ได้ 2. สมาชิกแต่ละรายเขียนแผนการปลูกพืชร่วมยางตามความต้องการและความเหมาะสมของแปลงตนเองเช่นปลูกพืชชนิดไหนให้เหมาะสมกับพื้นที่และความต้องการในการบริโภคและการสร้างรายได้ของตนเอง 3.วิเคราะห์ความเป็นไปได้ตามแผนการปลูกรายแปลง 4.ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม1วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานพร้อมด้วยสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 32 คนและทีมพี่เลี้ยง 3 คน ได้เดินทางร่วมศึกษาดูงาน ณ.พื้นที่บ้านขามโดยมีคุณสหจรเป็นผู้ให้ความรู้ด้านการปลูกพืชร่วมยางที่ส่งผลดีต่อรายได้และแหล่งอาหารของชุมชน

 

32 0

9. กิจกรรมที่ 10 หนุนเสริมการปลูก

วันที่ 10 สิงหาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.สมาชิกร่วมโครงการปลูกพืชในแปลงพื้นที่ของตนเองตามแผนการปลูกและการออกแบบแปลง 2.ปลูกชนิดพันธ์พืชที่สามารถหาได้ในชุมชนโยไม่ต้องรอกระบวนการเพาะชำก็ลงมือปลูกได้ตามความเหมาะสม
3.แบ่งปันกล้าไม้ที่เพาะเลี้ยงในเรือนเพาะชำตามแผนการปลูก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.สมาชิกร่วมโครงการปลูกพืชในแปลงพื้นที่ของตนเองตามแผนการปลูกและการออกแบบแปลง สมาชิกมีการปลูกพืชหลากหลายชนิดในแปลงของตนเองมีการแบ่งปันกล้าไม้ที่เพาะเลี้ยงในเรือนเพาะชำตามแผนการปลูก

 

32 0

10. กิจกรรม งานสมัชชา"พัทลุงมหานครแห่งความสุข"

วันที่ 12 กันยายน 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เรียนรู้กระบวนการแนวทางสร้างการมีส่วนร่วมในการสร้างพัทลุงให้เป็น มหานครแห่งความสุข
-เรียนรู้8 ประเด็น 1.ประเด็น ออกแบบระบบการศึกษาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียนเพื่อสร้างพลเมืองตื่นรู้ 2.ประเด็น สร้างเศรษฐกิจเกื้อกูล 3.ประเด็น ออกแบบระบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืน 4.ประเด็น จังหวัดอาหารปลอดภัยและรักษาพันธุ์พืช สร้างจุดเด่นด้านสมุนไพรและการดูแลสุขภาพชุมชน 5.ประเด็น การสร้างความมั่นคงของชุมชน(สวัสดิการชุมชนและที่อยูอาศัย 6.ประเด็น ประวัฒศาสตร์ ภูมิปัญญา ประเพณีวัฒนธรรม 7.ประเด็น ออกแบบพื้นที่พิเศษของจังหวัดพัทลุง 8.ประเด็น สร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน โดยมีนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกอง๕ืการบริหารส่วนจังหวัดพัทลุงเป็นประธานและมีหน่วยงานราชการและองค์กรเอกชนพร้อมด้วยประชนชนจากพื้นที่ต่างๆของจังหวัดพัทลุง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ตัวแทนจากพื้นที่ 5 คน มีการร่วมกระบวนการการพัฒนาสร้างการเรียนรู้ร่วมกันจากพื้นที่ต้นแบบ 8 ประเด็นเพื่อการพัฒนาพื้นที่สู่มหานครแห่งความสุข เห็นความเป็นป่าร่วมยางที่สามารถสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยของจังหวัดพัทลุง ที่ส่งเสริมทั้งด้านเศรษฐกิจชุมชนให้ดีขึ้นสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหารจองจังหวัดอีกทาง

 

5 0

11. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 1 ตุลาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน -ติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา -การกำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานต่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ติดตามการดำเนินงานตามแผนโครงการ การจัดการการรายงานในระบบและเอกสารการเงิน -การปลูกพืชตามแผนงานที่ร่วมกับ กยท ให้สมาชิกดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ปรับสภาพให้เือ้ือต่อการปลูกด้วย

 

0 0

12. กิจกรรมที่ 9 ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 คน)

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2022 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 1.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีทีมพี่เลี้ยงโครงการร่วมเรียนรู้ในเวที 2.ใช้กระบวนการเรียนรู้ตามกระบวนการAREภายใช้การใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.จัดกิจกรรมจำวนครั้ง2 ครั้งละ1วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 15 คน ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 1.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีทีมพี่เลี้ยงโครงการร่วมเรียนรู้ในเวที
นายณัฐพงฐ์ คงสง พี่เลี้ยงโครงการเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 พื้นที่ได้พูดคุยถึงกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว ยังขาดความเข้าใจเรื่องของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา เรื่องผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม ขาดความเข้าใจเรื่องการเก็บข้อมูลเพื่อตอบตัวชี้วัดของบันไดผลลัพธ์ พี่เลี้ยงได้คลี่บันไดผลลัพธ์ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นว่าการกำหนดผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการตามแผนนั้น จะได้ผลลัพธ์ที่วางไว้ต่อเมื่อกิจกรรมที่ทำนั้นตอบตัวชี้วัดและตอบด้วยข้อมูลตามแผนกิจกรรมเช่นการเซ็นชื่อเข้าร่วมกิจกรรมการถ่ายภาพ
2.ใช้กระบวนการเรียนรู้ตามกระบวนการ ARE ใช้การใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1การติดตามข้อมูลจากบันไดผลลัพธ์พบว่า -อยู่บันไดข้้นที่ 2 มีความล่าช้านด้านการดำเนินการ -มีการประชุมร่วมกันทุกๆ2เดือน มีคณะทำงานร่วมกัน 15 คน -สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 30 คนและได้ปลูกพืชร่วมยางไปแล้วรายละ 2 ไร่ รวม 60 ไร่
-สมาชิกได้เข้าร่วมโครงการกับการยางแห่งประเทศไทยสาขาบางแก้ว จากการส่งเอกสารร่วมโครงการจำนวน 30 ราย
-ข้อมูลชนิดของพืชที่ปลูก ยังขาดการเก็บข้อมูล 2.2 บันไดข้นที่2 ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่ยังตอบได้ไม่ชัดเนื่องจากกิจกรรมได้ดำเนินการไปไม่มาก แต่ก็มีผลลัพธ์จากกิจกรรมอื่นเช่น -กติกา 2 ข้อ 1.การประชุมร่วมกันทุกๆ2เดือน 2.การไม่ใช้สารเคมีในแปลงปลูก -มีความรู้จากบทเรียนของการปลูก -เกิดแปลงต้นแบบในพื้นที่ แต่ขาดข้อมูลจำนวนรายที่เป็นแปลงต้นแบบ 3.จัดกิจกรรมจำวนครั้ง2 ครั้งละ1วัน ครั้งที่ 1 วันที่ 1พย 65 ณ.สกย บ้านทาง

 

15 0

13. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ( กลุ่มเป้าหมายจำนวน10คน) ครั้งที่ 4

วันที่ 12 ธันวาคม 2022 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน เข้าร่วมการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน เข้าร่วมการประชุม -ติดตามการดำเนินงานตามแผนโครงการ การจัดการการรายงานในระบบและเอกสารการเงิน
-การปลูกพืชตามแผนงานที่ร่วมกับ กยท ให้สมาชิกดำเนินการได้ตามความเหมาะสม ปรับสภาพให้เือ้ือต่อการปลูกด้วย

 

0 0

14. กิจกรรมที่ 11 ส่งเสริมให้สมาชิกทำปุ๋ยใช้เอง(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 32 คน)

วันที่ 16 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดหาวัสดุที่ใช้ในการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้โดยผู้มีประสบการ แบ่งปันปุ๋ย/สารทดแทนที่ได้จากการลงมือทำจริงให้กับสมาชิกไปใช้ในแปลงปลูก ทำกิจกรรมวันที่ 16 ม.ค 66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการสมาชิก 32 คน ร่วมกันทำกิจกรรม มีวิทยากรมาถ่ายถอดประสบการณ์การทำปุ๋ยหมักและลงมือร่วมกันทำปุ๋ยหมักเพื่อนำไปใช้ในแปลงของสมาชิก ลดต้นทุนการผลิตปริมาณการใช้สารเคมีในสวนยางพาราลดลง

 

32 0

15. กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่ 1

วันที่ 30 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการแบ่งความรับผิดชอบดูแลติดตามสมาชิกโดยแบ่งช่วงเวลาในการเยี่ยมเยียนติดตาม นำผลการเยี่ยมเยียนติดตาม รายงานต่อการประชุมคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เยี่ยมเยียนติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของสมาชิกตามหัวข้อที่กำหนดพร้อมให้คำแนะนำ
บันทึกผลการติดตามสมาชิกตามที่ออกแบบและกำหนด

 

5 0

16. กิจกรรมที่ 5 ออกแบบการปลูกรายแปลง (กลุ่มเป้าหมาย 32 )

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เชิญสมาชิกร่วมกิจกรรมในรูปกรณ์ประชุมเชิงกระบวนการ ให้สมาชิกช่วยกันออกแบบแปลงของตนเองตามที่ต้องการเช่นปลูกอย่างไร วางผังการปลูกอย่างไร ตามความเหมาะสมของชนิดพืชและสภาพพื้นที่
ร่วมกันวิเคราะห์และคาดการณ์ความเป็นไปและโอกาสที่จะเอื้อต่อความสำเร็จ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 32 คนร่วมทำกิจกรรม วิทยากรให้ความรุ้การจัดการแปลงปลูก การวางแผนการปลูกเพื่อให้เหมาะสมกับแปลงของสมาชิก

 

32 0

17. กิจกรรมที่ 6 จัดทำเรือนเพาะชำ(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกร่วมโครงการ 30 คน)

วันที่ 7 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดหาและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์แล้วสร้างเรือนเพาะชำขนาด 60 ตารางเมตร จัดสร้างในพื้นที่ของ สกย.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ให้สมาชิกที่ร่วมโครงการช่วยกันหาพืชพันธ์ที่ต้องการปลูกตามแผนการปลูกและช่วยกันเพาะชำกล้าไม้ ให้สมาชิกแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดูแล จัดการเรือนเพาะชำร่วมกัน

 

30 0

18. กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่2

วันที่ 27 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการแบ่งความรับผิดชอบดูแลติดตามสมาชิกโดยแบ่งช่วงเวลาในการเยี่ยมเยียนติดตาม นำผลการเยี่ยมเยียนติดตาม รายงานต่อการประชุมคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เยี่ยมเยียนติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของสมาชิกตามหัวข้อที่กำหนดพร้อมให้คำแนะนำ
บันทึกผลการติดตามสมาชิกตามที่ออกแบบและกำหนด

 

0 0

19. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5

วันที่ 30 พฤษภาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน -ติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา -การกำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานต่อ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ติดตามการดำเนินงานตามแผนโครงการ การปลูกพืชตามแผนงาน วิเคราะห์ปัญหา

 

0 0

20. กิจกรรมที่ 8 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 32 คน)

วันที่ 6 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีทีมพี่เลี้ยงโครงการร่วมเรียนรู้ในเวที ให้สมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองตามกลุ่มและรูปแบบการปลูก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีทีมพี่เลี้ยงโครงการร่วมเรียนรู้ในเวทีพร้อมถ่ายทดความรู้จากวิทยากร แลกเปลียนความรู้ การจัดกิจกรรมมีการล้าช้าจัดกิจกรรมวันที่ 6/06ุุ/66

 

32 0

21. กิจกรรมที่ 9.กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) (กลุ่มเป้าหมายจำนวน15คน) ครั้งที่2

วันที่ 13 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีทีมพี่เลี้ยงโครงการร่วมเรียนรู้ในเวที ใช้กระบวนการเรียนรู้ตามกระบวนการAREภายใช้การใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ ทำกิจกรรมวันที่ 13 มิ.ย 66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

2.ใช้กระบวนการเรียนรู้ตามกระบวนการ ARE ใช้การใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1การติดตามข้อมูลจากบันไดผลลัพธ์พบว่า -อยู่บันไดข้้นที่ 2 มีความล่าช้านด้านการดำเนินการ -มีการประชุมร่วมกันทุกๆ2เดือน มีคณะทำงานร่วมกัน 15 คน -สมาชิกเข้าร่วมโครงการ 30 คนและได้ปลูกพืชร่วมยางไปแล้วรายละ 2 ไร่ รวม 60 ไร่
-สมาชิกได้เข้าร่วมโครงการกับการยางแห่งประเทศไทยสาขาบางแก้ว จากการส่งเอกสารร่วมโครงการจำนวน 30 ราย
-ข้อมูลชนิดของพืชที่ปลูก ยังขาดการเก็บข้อมูล 2.2 บันไดข้นที่2 ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว แต่ยังตอบได้ไม่ชัดเนื่องจากกิจกรรมได้ดำเนินการไปไม่มาก แต่ก็มีผลลัพธ์จากกิจกรรมอื่นเช่น -กติกา 2 ข้อ 1.การประชุมร่วมกันทุกๆ2เดือน 2.การไม่ใช้สารเคมีในแปลงปลูก -มีความรู้จากบทเรียนของการปลูก -เกิดแปลงต้นแบบในพื้นที่ แต่ขาดข้อมูลจำนวนรายที่เป็นแปลงต้นแบบ จัดกิจกรรมล่าช้า 13/06/66

 

0 0

22. กิจกรรมที่ 12 ให้ความรู้การขายยพัยธุ์พืชและการเลี้ยงดูต้นกล้า(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32 คน)

วันที่ 30 มิถุนายน 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เชิญสมาชิกร่วมโครงการรับการอบรมให้ความรู้การขยายพันธ์พืชและการเลี้ยงดูต้นกล้า ถ่ายทอดความรู้โดยผู้มีประสบการด้วยการลงมือทำจริง แบ่งปันพันธ์พืชที่ได้จากการลงมือทำจริง ใช้เวลาในการทำกิจกรรม 1 วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน 32 คนร่วมทำกิจกรรม วิทยากรให้ความรุ้การจัดการการขยายพันธ์ุ ลงมือทำร่วมกัน การจัดกิจกรรมล่าช้า 30/มิ.ย/66

 

32 0

23. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6

วันที่ 20 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 คน -ติดตามการดำเนินงานที่ผ่านมา -การกำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานต่อ ทำกิจกรรมวันที่ 20 ก.ค. 66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ติดตามการดำเนินงานตามแผนโครงการ สรุปผลนัดวันทำกิจกรรมสรุปผลโครงการ

 

0 0

24. กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่3

วันที่ 22 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการแบ่งความรับผิดชอบดูแลติดตามสมาชิกโดยแบ่งช่วงเวลาในการเยี่ยมเยียนติดตาม นำผลการเยี่ยมเยียนติดตาม รายงานต่อการประชุมคณะทำงาน ทำกิจกรรมวันที่  22 ก.ค. 66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เยี่ยมเยียนติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานของสมาชิกตามหัวข้อที่กำหนดพร้อมให้คำแนะนำ บันทึกผลการติดตามสมาชิกตามที่ออกแบบและกำหนด

 

0 0

25. กิจกรรมที่ 8.กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 32 คน) ครั้งที่2

วันที่ 24 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีทีมพี่เลี้ยงโครงการร่วมเรียนรู้ในเวที ให้สมาชิกแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเองตามกลุ่มและรูปแบบการปลูก ทำกิจกรรมวันที่ 24 ก.ค.66

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีทีมพี่เลี้ยงโครงการร่วมเรียนรู้ในเวทีพร้อมถ่ายทดความรู้จากวิทยากร แลกเปลียนความรู้ความคืบหน้าและปัญหาที่เกิดขึ้น หาทางแก้ไข การจัดกิจกรรมมีการล้าช้าจัดกิจกรรมวันที่ 24/07/66

 

0 0

26. กิจกรรมที่ 13 สรุปผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการโชว์ผลงานโครงการ(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน )

วันที่ 30 กรกฎาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดนิทรรศการในรูปแบบต่างๆ เชิญภาคีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกิจกรรม นำเสนอผลลัพธ์โครงการต่อผู้ร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการสมาชิก 32 คน พี่เลี้ยง 3 คน ภาคีเครือข่ายร่วมกันทำกิจกรรม จัดนิทัศกรรนำเสนอผลงานสรุปกิจกรรมการดำเนินโครงการที่ผ่านมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำกิจกรรมวันที่ 30 ก.ค.66

 

40 0

27. เข้าร่วมกิจกรรม พัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่2

วันที่ 15 สิงหาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เข้าร่วมกิจกรรมจัดบูธงาน  พัทลุงมหานครแห่งความสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เดินทางไปร่วมจัดบูธนำผลที่ได้จากการไปจัดจำหน่ายและแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ในงาน
ตัวแทนจากพื้นที่ 5 คน มีการร่วมกระบวนการการพัฒนาสร้างการเรียนรู้ร่วมกันจากพื้นที่ต้นแบบ 8 ประเด็นเพื่อการพัฒนาพื้นที่สู่มหานครแห่งความสุข เห็นความเป็นป่าร่วมยางที่สามารถสร้างแหล่งอาหารที่ปลอดภัยของจังหวัดพัทลุง ที่ส่งเสริมทั้งด้านเศรษฐกิจชุมชนให้ดีขึ้นสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหารจองจังหวัดอีกทาง

 

0 0

28. รายงานกิจกรรมลงระบบ

วันที่ 31 สิงหาคม 2023 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

รวบรวมการกิจกรรมลงระบบออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รวบรวมการกิจกรรมลงระบบออนไลน์ในเว็ปไซต์ คนสร้างสุข รายละเอียดกิจกรรมรูปภาพผลการดำเนินงาน

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อสร้างกลไกการจัดการพืชร่วมยางแบบมีส่วนร่วม
ตัวชี้วัด : 1.มีคณะทำงานร่วมระหว่างคณะกรรมการสวนยางแปลงใหญ่กับสหกรณ์ชาวสวนยางที่สามารถชักชวนเกษตรกรมาร่วมดำเนินการและสามารถเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับ กยท.ได้ 2.มีสมาชิกกลุ่มที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่า30รายและมีพื้นที่ร่วมดำเนินการในโครงการไม่น้อยกว่ารายละ2ไร่ 3.มีกติกาของกลุ่มที่เกิดจากการมีส่วนร่วม
1.00

 

2 2.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
ตัวชี้วัด : 1.เกษตรกรมีความรู้เรื่องการปลูกพืชร่วมยาง 2.มีแผนการปลูกพืชร่วมยางรายแปลงที่เหมาะสมกับอายุยางและสภาพพื้นที่สวนยาง 3.มีการรวมกลุ่มผลิตปุ๋ย/สารทดแทนสารเคมีและนำไปใช้ในแปลง 4.มีแปลงต้นแบบของสมาชิกในพื้นที่โครงการ
0.00

 

3 3.เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1.มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มตามแผนและกติกาไม่น้อยกว่า3ครั้ง 2.มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกไม่น้อยกว่า3ครั้ง 3.มีบทเรียนการปลูกพืชร่วมยางจากพื้นที่ดำเนินการโครงการ
0.00

 

4 4.เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา
ตัวชี้วัด : 1.มีการปลูกพืชอาหารในพื้นที่สวนยางพาราของสมาชิกที่ร่วมโครงการเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า5ชนิด 2.มีพื้นที่ร่วมโครงการที่มีการปลูกพืชอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า60ไร่ 3.มีการลดปริมาณการใช้สารเคมีในสวนยางพาราที่ร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ30
0.00

 

5 5.เพื่อให้คนในชุมชนพัทลุงได้บริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1.มีผลผลิตพืชอาหารปลอดภัยจากสวนยางพารามาจำหน่ายในชุมชน
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อสร้างกลไกการจัดการพืชร่วมยางแบบมีส่วนร่วม (2) 2.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา (3) 3.เพื่อให้มีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง (4) 4.เพื่อเพิ่มพื้นที่ผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยางพารา (5) 5.เพื่อให้คนในชุมชนพัทลุงได้บริโภคอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ( กลุ่มเป้าหมายจำนวน10คน) (2) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (3) ชื่อกิจกรรมที่ 3.ศึกษาดูงาน (กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32คน) (4) กิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน (5) ชื่อกิจกรรมที่ 2.เวทีเปิดโครงการและเรียนรู้ข้อมูลและสถานการณ์( กลุ่มเป้าหมายจำนวน 34คน) (6) ค่าจัดทำป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่ (7) กิจกรรมที่ 4 เวทีสรุปผลการศึกษาดูงานและวางแผนการปลูกรายแปลง(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32 คน) (8) ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (9) กิจกรรมที่ 10 หนุนเสริมการปลูก (10) กิจกรรม งานสมัชชา"พัทลุงมหานครแห่งความสุข" (11) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 (12) กิจกรรมที่ 9 ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 คน) (13) กิจกรรมที่ 5 ออกแบบการปลูกรายแปลง (กลุ่มเป้าหมาย 32 ) (14) กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานโครงการ( กลุ่มเป้าหมายจำนวน10คน) ครั้งที่ 4 (15) กิจกรรมที่ 11 ส่งเสริมให้สมาชิกทำปุ๋ยใช้เอง(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 32 คน) (16) กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่ 1 (17) กิจกรรมที่ 6 จัดทำเรือนเพาะชำ(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกร่วมโครงการ 30 คน) (18) กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่2 (19) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 (20) กิจกรรมที่ 8 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 32 คน) (21) กิจกรรมที่ 9.กิจกรรมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) (กลุ่มเป้าหมายจำนวน15คน)  ครั้งที่2 (22) กิจกรรมที่ 12 ให้ความรู้การขายยพัยธุ์พืชและการเลี้ยงดูต้นกล้า(กลุ่มเป้าหมายคือสมาชิกจำนวน32 คน) (23) ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 (24) กิจกรรมที่ 7 เยี่ยมเยียนติดตามแปลงของสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายคือคณะทำงานโครงการจำนวน 5 คน) ครั้งที่3 (25) กิจกรรมที่ 8.กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิก(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 32 คน) ครั้งที่2 (26) กิจกรรมที่ 13 สรุปผลการดำเนินงานและจัดนิทรรศการโชว์ผลงานโครงการ(กลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คน ) (27) เข้าร่วมกิจกรรม  พัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่2 (28) รายงานกิจกรรมลงระบบ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สร้างพื้นที่สวนยางพาราให้เป็นแหล่งอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านทางเกวียน จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00232-0021

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายไพรัช เจ้ยชุม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด