directions_run

โครงการพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยฟื้นฟูการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโคกไครอย่างยั่งยืน ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยฟื้นฟูการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโคกไครอย่างยั่งยืน ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-21
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ วิสาหกิจท่องเที่ยวชุมชนบ้านโคกไคร
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมพร สาระการ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0878860465
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sompon.kct@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายธีระวัฒน์ หัสนี
พื้นที่ดำเนินการ บ้านโคกไคร ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
2 1 มี.ค. 2566 31 ก.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ส.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยอาจเข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก เปรียบได้กับการทำสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างคนกับไวรัส คู่ต่อสู้ที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และปราศจากรูปแบบการรบตามตำราที่ผ่านมา หากผลกระทบที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงแรก คือ การบริการสุขภาพที่ต้องปรับตัว ไม่เพียงแค่การดูแลรักษาสำหรับโควิด-19 หากระบบสุขภาพทั้งมวลกลับต้องเปลี่ยนแนวทางการบริการ เนื่องจากเกิดข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การอยู่บ้าน การเว้นระยะห่างทางกายภาพ อีกทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานของประชาชนทุกคนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร ตลาด ปิดให้บริการ โรงงานหยุดประกอบกิจการ การขาดแคลนแรงงาน ประชาชนตกงาน มาตรการกักกันโรคส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการขนส่งและกระจายผลิตผล ไปจนถึงผู้บริโภคไม่สามารถเดินทางได้โดยสะดวก ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยและคนตกงาน ขาดรายได้ ชุมชนก็ไม่ได้เตรียมตัว ไม่ปรับตัว จนเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอก 2 ในสภาวการณ์เช่นนี้ พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้ในการปรับตัวและวางแผนต่าง ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะสามารถปรับตัวได้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้เราได้โอกาสในการเตรียมตัวรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ชุมชนบ้านโคกไคร หมู่ที่ 1 ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา โดยชุมชนบ้านโคกไครมีครัวเรือน 230 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,259 คน เพศชาย 664 เพศหญิง 592 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 95 ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม/ประมงพื้นบ้าน ร้อยละ 60 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 30 และอาชีพอื่นๆ ร้อยละ 5 ชุมชนบ้านโคกไคร เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดยก่อนเกิดการระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ทางสมาชิกในชุมชนได้มีการรวมกลุ่มดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้บริการด้านการท่องเที่ยวและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผลผลิตในชุมชน เป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับสมาชิก หลังจากการระบาดของโรคของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ทำให้ชุมชนเกิดความตระหนัก ให้ความสำคัญในการจัดการ การดำรงชีวิตประจำวันและการจัดการด้านเศรษฐกิจชุมชน จึงมีความคิดที่จะจัดการให้ชุมชนและครัวเรือนมีอาชีพเสริมในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ ไม่ต้องพึ่งพาสังคมภายนอก เมื่อชุมชนบ้านโคกไครมีทรัพยากรในการดำรงชีวิตในชุมชนอยู่แล้ว ภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง มีการรวมกลุ่มต่างๆมากมาย เช่น กลุ่มแม่อาสา กลุ่มขนมพื้นบ้าน กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ กลุ่มเยาวชนและกลุ่มสวัสดิการชุมชน มีตลาดนัดในชุมชน มีร้านชำ ร้านอาหาร และมีพื้นที่ในการประกอบอาชีพอย่างเพียงพอแต่ชุมชนยังไม่การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้บริโภคและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนของชุมชนบ้านโคกไคร

เชิงปริมาณ 1. สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ เชิงคุณภาพ 1. สมาชิกสามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่า'ต่อเนื่อง

0.00
2 เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน

เชิงปริมาณ : สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างน้อย 2 ผลิตภัณฑ์ เชิงคุณภาพ : สมาชิกสามารถผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่อง

3 เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน

เชิงปริมาณ : ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 เชิงคุณภาพ : ครัวเรือนเป้าหมายสามารถนำความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน ไปใช้ให้เกิดประโยชน์

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้ได้รับผลกระทบโควิด -19 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 ร่วมกับหน่วยจัดการ สสส.(1 ต.ค. 2565-2 ต.ค. 2565) 10,000.00                        
รวม 10,000.00
1 ร่วมกับหน่วยจัดการ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 37 10,000.00 5 10,000.00
1 - 2 ต.ค. 65 ปฐมนิเทศโครงการ 2 1,560.00 1,560.00
23 ต.ค. 65 ทำป้ายไวนิลโครงการและทำตรายางโครงการ 30 1,016.00 1,016.00
5 - 6 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน พื้นที่ภาคใต้ตอนบน 2 3,330.00 3,330.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 4,094.00 4,094.00
20 - 21 พ.ค. 66 กิจกรรม 4 การจัดอบรมการจัดการระบบข้อมูลและการสื่อสาธารณะ 1 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 270 70,500.00 10 69,800.00
25 ต.ค. 65 ประชุมแกนนำเพื่อเตรียมความพร้อมการดำเนินโครงการ 10 1,400.00 1,400.00
11 ธ.ค. 65 เวทีชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน 30 4,200.00 4,200.00
19 ม.ค. 66 การอบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือนสุขภาพ สังคม 30 9,500.00 9,150.00
6 มี.ค. 66 ถอนเงินเปิดบัญชี 30 500.00 500.00
8 พ.ค. 66 การจัดการเรียนรู้ชุมชน/ศึกษาดูงาน 10 5,700.00 5,350.00
6 มิ.ย. 66 การประชุมเชิงปฏิบัติการและฝึกอบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน 30 24,200.00 24,200.00
7 มิ.ย. 66 การประชุมเพื่อสรุปผลการฝึกอบรมและลงมือปฏิบัติจริง 30 4,200.00 4,200.00
16 มิ.ย. 66 การประชุมเชิงปฏิบัติการและฝึกอบรมถ่ายภาพ เพื่อโฆษณาสินค้า 30 8,000.00 8,000.00
17 มิ.ย. 66 การประชุมเพื่อสรุปผลการฝึกอบรมและลงมือปฏิบัติจริง 30 4,200.00 4,200.00
29 ก.ค. 66 ประชุมถอดบทเรียน 40 8,600.00 8,600.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ของชุมชนบ้านโคกไคร
  2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่เป็นเครือข่ายสมาชิกกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน
  3. เพื่อให้ครัวเรือนเป้าหมายมีความรอบรู้ทางสุขภาพและการเงิน
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2565 07:58 น.